ทำไมแคมเปญปลดล็อกท้องถิ่น ต้องเสนอแบ่งรายได้ระหว่างท้องถิ่นและส่วนกลางเป็น 50 : 50 ?

30 พฤษภาคม 2565


การทำงานทำภารกิจอะไรซักอย่างให้บรรลุผลและมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่สำคัญเรื่องหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือเรื่องเงินงบประมาณ หากมีพอให้บริหารใช้จ่ายก็เป็นอีกเรื่องนึงที่สำคัญต่อผลสำเร็จและประสิทธิภาพ การจัดทำบริการสาธารณะก็เช่นเดียวกันที่เรื่องงบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ บางหน่วยงานดูแลไม่กี่เรื่อง ไม่กี่คน แต่งบเยอะ แต่ในทางตรงกันข้ามหน่วยงานอย่างท้องถิ่นหลายๆ ที่และในภาพรวมงานเยอะ งบน้อย ซึ่งก็เป็นปัญหาต่อการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่ และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องนี้ก็ได้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาพื้นที่ได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งการออกแบบโครงสร้างในการได้มาซึ่งรายได้ก็ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและความเป็นอิสระด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อมาดูโครงสร้างรายได้ของท้องถิ่น พบว่าปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของท้องถิ่นจากทั้งก้อนมีดังนี้

  1. งบก้อนที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองมีประมาณ 10%
  2. งบก้อนที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้มีประมาณ 50%
  3. งบก้อนที่เป็นเงิดอุดหนุนจัดผ่านงบประมาณแผ่นดินมีประมาณ 40%


ดังนั้น เมื่อดูจากโครงสร้างรายได้ของท้องถิ่น จะเห็นได้ว่าจากโครงสร้างตรงนี้ ได้ถูกออกแบบให้รายได้ของท้องถิ่นต้องพึ่งพิงรัฐบาลกลางเยอะมาก รัฐไม่ได้ให้ท้องถิ่นจัดหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น หรือให้ท้องถิ่นมีอิสระเพิ่มมากขึ้น ยังต้องให้ท้องถิ่นพึ่งพิงงบประมาณจากรัฐอยู่ คำถามคือแล้วอย่างนี้ท้องถิ่นจะเป็นอิสระได้อย่างไร? ซึ่งความเป็นอิสระคือหัวใจสำคัญของการกระจายอำนาจ รวมไปถึงความอิสระเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากแต่ละพื้นที่ แต่ละท้องถิ่น มีบริบทและความต้องการที่แตกต่างหลากหลาย พื้นที่จึงมีความจำเป็นต้องมีความเป็นอิสระ เพื่อให้สามารถออกแบบนโยบาย การจัดการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

จากโครงสร้างรายได้ของท้องถิ่น อาจารย์วีระศักดิ์ เครือเทพ นักวิชาการด้านการคลังท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ และคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เคยสรุปเอาไว้ว่า ท้องถิ่นเงินน้อย ท้องถิ่นมีความเหลื่อมล้ำ และ ท้องถิ่นมีการถูกล้วงลูก ล้วงกระเป๋า

ประการแรก ท้องถิ่นเงินน้อย คือ ถ้ามองเป็นตัวเงินอาจจะไม่น้อยคือ 7 แสนกว่าล้าน แต่เมื่อเทียบกับปริมาณงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ เรียกได้ว่าอันนี้น้อยแน่ๆ ยกตัวอย่างเช่น กรณีนักเรียนได้รับอาหารกลางวัน รัฐบาลจัดสรรให้รายหัวได้ประมาณ 21 บาท ต่อคนต่อมื้อ ส่งผลให้ท้องถิ่นก็ต้องหาทางจัดสรรให้ได้ ไปดิ้นรนหาวิธีจัดการเพื่อให้ทุกคนได้รับอาหารกลางวันได้อย่างเพียงพอ หรืออย่างกรณีภาพใบใหญ่สุดคือเรื่องถนน เคยตกลงกันว่าถ่ายโอนไปเท่าไหร่แล้วก็ต้องมีงบประมาณในการซ่อมบำรุงรักษาไปด้วย ซึ่งสุดท้ายไม่มี เงินไปกองอยู่ที่กรมทางหลวงชนบทระดับ 5-6 หมื่นล้านบาท ดังนั้นถ้าพูดอีกแบบหนึ่งคือเมื่องานความรับผิดชอบโอนไปแล้วแต่เงินไม่มาถือเป็นการถูกหลอกถูกหักหลังกันหรือไม่? อีกทั้งเคยมีการวิจัยกัน ประเมินกันที่ทำให้เห็นว่างานไปเยอะแต่เงินน้อย คือมีการตีมูลค่าของงานแต่ละงานที่ให้ท้องถิ่นทำ พบว่า ตัวเลข 7 แสนล้านนั้นไม่พอ ซึ่งตัวเลขขั้นต่ำคือ 1 ล้านล้าน หมายความว่าตัวเลข 35 % ที่แบ่งรายได้ให้ท้องถิ่น หากให้เต็มอัตรานั้นก็ยังไม่พออยู่ดี ซึ่งตัวเลขที่จะพอคือต้องเพิ่มเป็นอย่างน้อยประมาณ 45% ถึงจะพอ อันนี้มีการวิเคราะห์ประเมินกันเมื่อตอนปี 58-59 ซึ่งผ่านไปแล้ว 5-6 ปี และในปัจจุบันค่าครองชีพก็สูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อก็สูงขึ้นแล้วด้วย

ประการที่สอง ท้องถิ่นมีความเหลื่อมล้ำ คือ ดูได้จากท้องถิ่นใหญ่หรือท้องถิ่นเล็ก รายได้ต่อประชากรแตกต่างกันเยอะมากหลายเท่าตัว ถ้าจัดสรรได้ดีกว่านี้ จะไม่เกิดเหตุการณ์ว่า บางท้องถิ่นมีเงินเหลือแล้วไม่รู้จะเอาไปทำอะไร หรือบางท้องถิ่นที่ขาดแคลนงบประมาณแม้ว่าจะค้นดูเงินสะสมแล้วก็ยังไม่มี เหตุการณ์เหล่านี้จะไม่เกิด ดังนั้นความเหลื่อมล้ำจึงเป็นปัญหาใหญ่ระหว่างท้องถิ่นด้วยกัน ระหว่างท้องถิ่นประเภทเดียวกัน ระหว่างท้องถิ่นข้ามจังหวัด และระหว่างท้องถิ่นข้ามภูมิภาค เรื่องนี้หากออกแบบระบบ ออกแบบเงินอุดหนุนให้ดีจะช่วยบรรเทาปัญหาและแก้ปัญหาได้

ประการที่สาม ท้องถิ่นมีการถูกล้วงลูก ล้วงกระเป๋า จะเห็นได้จากกรณีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่รัฐล้วงเงินจากกระเป๋าของท้องถิ่นในรูปแบบของการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 90 ซึ่งที่ผ่านมาก็ยังไม่ชัดเจนด้วยว่ารัฐบาลจะชดเชยให้กับท้องถิ่นหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ ท้องถิ่นก็รออยู่ว่ารัฐจะทำอย่างไร จะมีการชดเชยรายได้ให้หรือไม่ และชดเชยให้เพียงพอหรือไม่ เพราะ สถานการณ์โควิดทำให้ท้องถิ่นใช้เงินงบประมาณไปค่อนข้างมากในการดูแลประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ท้องถิ่นไม่ได้มีบทบาทในการตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลง รัฐเป็นคนบอกว่าจะเอาแบบไหนอย่างไร และล่าสุดรัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พึ่งออกมาให้ข่าวว่าจะมีการลดภาษีที่ดินในสถานการณ์ที่ภาคธุรกิจ ได้รับผลกระทบจากโควิดและสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจได้ แต่คำถามสำคัญคือรายได้ตรงนี้เป็นของท้องถิ่นในการนำไปพัฒนาพื้นที่ การที่รัฐบาลสั่งให้ลด แล้วรัฐบาลมีการตั้งงบประมาณมาชดเชยการสูญเสียรายได้นี้หรือไม่อย่างไร เพราะนั่นหมายความถึงการพัฒนาในพื้นที่ การนำงบประมาณไปใช้จ่ายในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนหายไปด้วย

ดังนั้น การกำหนดรายได้ให้ท้องถิ่นและส่วนกลางระหว่าง 50 ต่อ 50 ไปเลยในรัฐธรรมนูญอาจจะเป็นทางออก เพราะเมื่อภารกิจการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่ไปอยู่ที่ท้องถิ่นหมดแล้ว ส่วนกลางส่วนภูมิภาคก็ไม่เหลือภารกิจในระดับพื้นที่ให้ทำ ย่อมจำเป็นต้องโอนงาน โอนคน โอนทรัพยากรไปให้ท้องถิ่นด้วย ไม่ใช่ว่างานมาแต่เงินไม่มาเหมือนเช่นที่เป็นอยู่ ไม่นับว่า เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณงานด้วยแล้ว เพื่อให้การจัดบริการสาธารณะมีประสิทธิภาพและสอดรับกับหน้าที่ความรับผิดชอบ จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะไม่แบ่งสัดส่วนรายได้ให้ท้องถิ่น 50:50 เมื่อปลดล็อกท้องถิ่นสำเร็จ รวมถึงหนึ่งในข้อเสนอของแคมเปญปลดล็อกท้องถิ่นยังได้เสนอให้ท้องถิ่นสามารถมีช่องทางในการหารายได้ช่องทางใหม่ๆ รวมไปถึงรัฐบาลต้องมีหน้าที่ในการจัดสรรเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละที่ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างกันด้วยเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า