ปัญหาการเป็นรัฐรวมศูนย์เกี่ยวข้องกับปัญหาการศึกษา

17 สิงหาคม 2565

เราถูกทำให้เชื่อด้วยภาพจำที่ว่า การศึกษาที่อยู่ภายใต้สังกัดท้องถิ่น เป็นการศึกษาที่พัฒนาลำบาก บุคลากรไม่พอ

แต่แท้จริงแล้วประเทศไทยมีท้องถิ่นที่พร้อม และมีศักยภาพที่จะเข้ามาช่วยดำเนินการจัดการศึกษา ปัจจุบันเรามีโรงเรียนต้นแบบอย่างโรงเรียน อบจ.เชียงราย มีโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ที่มุ่งสร้างโรงเรียนมีคุณภาพใกล้บ้าน หรือมีค่ายเยาวชนออร์เคสตราของเทศบาลนครยะลา ที่จัดมาแล้วกว่า 15 ปี สานฝันด้านดนตรีให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงยังมีหลายๆ จังหวัดอยู่ในสังกัดเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ขององค์การยูเนสโก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มีความร่วมมือและสามารถทำงานพัฒนาในระดับนานาชาติได้ด้วย

แสดงให้เห็นว่าท้องถิ่นเรามีศักยภาพที่จะทำได้ แต่อาจจะยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ อาจเกิดจากปัญหาคือเมื่อท้องถิ่นมีความตั้งใจที่อยากจะช่วยพัฒนาการศึกษา อยากทำอะไรใหม่ๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่ได้ทุจริต แต่ทำไปแล้วอาจถูกเรียกคืนเงิน ผิดระเบียบ ผู้ตรวจสอบไม่เข้าใจ หรือแม้กระทั่งอาจไม่กล้าทำเพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาจากหน่วยตรวจสอบ เพราะกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ชัดว่าทำได้หรือทำไม่ได้ ซึ่งก็เป็นปัญหาระดับโครงสร้างจากรัฐรวมศูนย์ของประเทศไทย

อีกทั้งประเทศไทยก็ไม่ได้มีการกระจายอำนาจออกไปอย่างเต็มที่ ไม่ได้กระจายงาน กระจายเงิน กระจายคน คือ ไม่ได้ให้ท้องถิ่นพิสูจน์ฝีมือ ไม่ได้ให้โอกาสตั้งแต่ต้น สิ่งที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมคือ เรายังไม่มีการถ่ายโอนออกไปได้มากอย่างที่ควรจะเป็น


ยกตัวอย่าง ตัวเลขหนึ่งคือการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปให้ท้องถิ่น โดยตัวเลขที่เราพบเป็นตัวเลขล่าสุดที่มีเพียงเท่านี้คือระหว่างปี 2549-2556 คิดเป็นแค่ 1.54% เท่านั้นเอง แสดงให้เห็นว่ามีกลไกการถ่ายโอนการศึกษาไปให้ท้องถิ่นจัดการได้ แต่ไม่มีความพยายามในการถ่ายโอนออกไป ทำได้น้อยมากและช้ามาก จะเห็นว่าใช้เวลาถึง 7 ปี แต่ทำได้ไม่ถึง 2% ด้วยซ้ำ เมื่อลงไปดูในรายละเอียดก็เป็นไปได้น้อยมากๆ ถ่ายโอนให้ อบจ.ไป 321 โรงเรียน เทศบาลนคร 9 โรงเรียน เทศบาลเมือง 18 โรงเรียน เทศบาลตำบล 77 โรงเรียน อบต. 58 โรงเรียน เมืองพัทยา ไม่ได้ถ่ายโอนไปซักโรงเรียน กรุงเทพมหานครถ่ายโอนไป 1 โรงเรียน รวมถ่ายโอนไปทั้งหมด 484 โรงเรียน จากโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวนสามหมื่นกว่าโรงเรียน

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ที่ถ่ายโอนไปได้ไม่ถึงไหน อาจจะเกิดจากข้ออ้างต่างๆ นานา ทัศคติที่ไม่ดีต่อท้องถิ่น หรือแม้กระทั่งปัญหาสุดคลาสสิกของรัฐราชการรวมศูนย์แบบไทยๆ คือเรามีหน่วยงานราชการเยอะมาก แต่พอทำงานที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานก็มักจะขาดเจ้าภาพหลัก หรือบางทีก็พบเจอกับปัญหา การประสานงานที่ล้มเหลวระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน รวมไปถึงขาดการติดตามความคืบหน้าและประเมินผล

ที่เราพูดเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพื่อจะบอกว่าการแก้ปัญหาการศึกษา มีหลายขาและหลายเรื่องที่ต้องแก้ แต่ขาหนึ่งที่สำคัญเพื่อไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์ของการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคง (รวมไปถึงการมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ดีมีคุณภาพ ก็เป็นสิ่งจำเป็นด้วยเช่นเดียวกัน) จำเป็นต้องเกิดการกระจายอำนาจทางการศึกษาจริงๆ โดยต้องตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่เก็บอำนาจ ไม่เก็บทรัพยากรไว้ที่ส่วนกลาง รวมศูนย์การตัดสินใจไว้ที่คนที่กระทรวงส่วนกลาง จนไม่มีใครทำงานให้มีประสิทธิภาพได้จริง

หรือแม้แต่ซุปเปอร์บอร์ดที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นโครงสร้างใหม่ที่กำลังอาจจะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ร่างกฎหมายที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ในชั้นกรรมาธิการ

ยังไม่หมดเท่านั้น เนื้อหาในร่างกฎหมายฉบับนี้ ที่บอกว่าจะเข้ามาปฏิรูปการศึกษา หมายความว่าจะเข้ามาแก้ปัญหา ทำให้ดีขึ้น แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้น ยกตำอย่างเช่น ในมาตรา 8 ที่บอกว่ารัฐคาดหวังให้เด็กในแต่ละช่วงวัยต้องมีสมรรถนะอะไรบ้าง ซึ่งโดยหลักการก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่รายละเอียดบางส่วนถูกมองว่าหนักและละเอียดจนเกินไป สำหรับเด็กบางช่วงอายุ อีกทั้งเป็นการกำหนดแบบเหมารวมว่านักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้ในอัตราความเร็วที่เท่ากัน โดยไม่ได้คำนึงถึงสมรรถนะที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคน รวมไปถึงการพยายามยัดเยียดอุดมการณ์รัฐ เช่น ความเป็นไทย ความภูมิใจและตระหนักถึงความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งมาตรา 8 นี้่ถือว่าเป็นมาตราวางหลักการที่ส่งผลต่อมาตราอื่นๆ ในร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นจำนวนมาก


ติดตามฟังที่ครูจุ๊ย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า พูดที่รายการ อำนาจประชาชน 65 “กระจายการศึกษาลดเหลื่อมล้ำ” เต็มๆ ได้ที่:

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า