หน้าที่ของ “กระทรวงศึกษาธิการ” คือไล่ “เซนเซอร์” หนังสือ… เหรอ ?

28 กันยายน 2564

ปัญหาอีกเรื่องของการศึกษาไทย คือ อำนาจหน้าที่ล้นฟ้าและความรับผิดรับชอบ (accountability) มีต่ำเตี้ยเรี่ยดิน เรียกว่าแทบจะหาไม่เจอ ยกตัวอย่างกรณีหนังสือเรียน และหนังสือที่ใช้ในห้องเรียนจะชัดเจนมาก

หนังสือเรียนตามรายการหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหนังสือเรียนที่เบิกเงินอุดหนุนได้นั้น ต้องขอให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบและนำเข้ารายการหนังสือก่อนใช้เงินของรัฐซื้อได้ ส่วนนี้งานของกระทรวงฯ คือการดูแลตรวจสอบคุณภาพ

แต่ #สภาพพพ ที่เห็น หนังสือสังคม ประวัติศาสตร์ มีทั้งข้อมูลที่ผิดจากข้อเท็จจริง การให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว การสร้างอคติต่อคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ส่วนนี้ไม่เห็นมีการจัดการใด ๆ กับสำนักพิมพ์ นี่ยังไม่นับรวมคุณภาพหนังสือที่ต่ำกว่ามาตรฐานมากมาย เช่น การขาดเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของโลก และความเชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ กับประเทศไทย

ลองเข้าไปอ่านข่าวนี้ เพื่อชมตัวอย่างหนังสือเรียนไทยที่ส่งต่อแนวคิดซึ่งนอกจากจะไม่เป็นสากลแล้วยังสร้างความแตกแยกในสังคม

เรื่องนี้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการชี้แจงหน่อยว่า หากประชาชนพบเนื้อหาในหนังสือเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียน แต่ไม่ได้คุณภาพจะให้ไปร้องเรียนที่ใคร และใครเป็นผู้รับผิดชอบ ขอความชัดเจนด้วย

ส่วนหนังสืออื่น ๆ ของเอกชนที่ผลิตกันขึ้นมา เป็นไปตามหลักการพื้นฐานตามสิทธิพลเมืองคือประชาชนผลิตและใช้ก็เป็นสิทธิของเขาในการเลือกอ่าน เลือกใช้ กรอบการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการจะมีอำนาจเข้ามาตรวจสอบเมื่อหนังสือถูกใช้ในโรงเรียน และแน่นอนว่าโรงเรียนที่ใช้ก็อาจต้องรับผลที่ตามมา เช่น ต้องยอมรับการตรวจสอบต่าง ๆ และการเพิกถอนใบอนุญาต หากพบว่ามีการใช้แบบเรียนที่ผิดกฎหมายเป็นหนังสือต้องห้าม ซึ่งต้องมีการออกคำสั่งอย่างเป็นทางการ เช่น คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 43 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519 ข้อ 2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าเอกสารสิ่งพิมพ์ รวม 100 ฉบับ ตามรายชื่อข้างต้นซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ครอบครอง

ทั้งนี้ รายการหนังสือต้องห้ามนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ไม่จบสิ้นด้วยซ้ำ

หากพิจารณาแล้ว กรณีเหล่านี้ถ้าใช้หลักการเฉพาะบทบาทและหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการโดยไม่มีกรอบอื่นประกอบ ไม่ว่าจะเป็นกรอบระเบียบวิธีการใช้อำนาจของตนเอง หรือหลักสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐาน จึงเข้าใจผิดได้ว่าตนมีอำนาจจึงล้นฟ้า สามารถสั่งให้ตรวจสอบหนังสืออะไร อย่างไรก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะภาครัฐที่พึ่งพาการตีความกฎหมายที่มีลักษณะกว้างขวาง ตามการตีความของผู้ใช้ รัฐจึงใช้อำนาจนี้เป็นเครื่องมือที่จะใช้แปะป้ายชี้นิ้วว่า อะไร หรือใคร เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือ หนังสือแบบไหนที่ผิด (ตามการตีความของตน) โดยปราศจากการความรับผิดรับชอบ ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเติบโตทางความคิดของประชาชนเช่น เพราะถือว่าเป็นการปิดกั้นทางความคิดประเภทหนึ่ง

และนี่คือตัวอย่างการแปะป้ายตีตราจากโฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตามข่าวบอกว่า

“ทีมเฉพาะกิจจะประสานงานกับฝ่ายความมั่นคงต่อไปว่าเนื้อหาที่ปรากฏในนิทานดังกล่าว มีเจตนาปลุกระดม ล้างสมอง หรือปลุกปั่นเด็กๆ หรือไม่ และมีใครเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งหากพบว่าผิดจริงถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก และจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป”

ที่มา : https://mgronline.com/uptodate/detail/9640000095776

การให้ข่าวให้ข้อมูลเช่นนี้เองทั้งที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนก็ชวนให้คนอ่านเข้าใจว่าหนังสือเหล่านี้มีเจตนาดังที่กล่าวไว้

คำถามต่อมาคือ หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีได้เนื้อหาเช่นนั้นจริง กระทรวงศึกษาธิการจะออกมารับผิดชอบอย่างไรต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นไปแล้วต่อหนังสือ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเหล่านี้

เขียนมาถึงตรงนี้ไม่แน่ใจว่า “การล้างสมอง” แบบที่รัฐกังวล ใครเป็นผู้มีอำนาจทำมากกว่ากันแน่ ประชาชน หรือ รัฐ ?

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า