“ก้าวหน้า-ก้าวไกล” แท็กทีมเยือนภูเก็ต ชู “ปลดล็อกท้องถิ่น” ช่วยลดโกง-แก้ปัญหาปากท้อง

14 มิถุนายน 2565


เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า และ พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย พรรคก้าวไกล ร่วมเดินทางไปรณรงค์แคมเปญ “ขอคนละชื่อปลดล็อกท้องถิ่น” ที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อเชิญชวนประชาชนให้ร่วมลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบัน มีประชาชนทั่วประเทศลงชื่อแล้วมากกว่า 50,000 คน ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 แล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ทางความคิดเพื่อให้สังคมตกผลึกร่วมกันถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจและมีข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่รายชื่อสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น เป็นภารกิจที่คณะก้าวหน้าจะทำอย่างต่อเนื่อง ก่อนปิดรับรายชื่อในวันที่ 30 มิถุนายน


โดยบนเวที “ปลดล็อกท้องถิ่น กับการแก้ปัญหาปากท้องประชาชน” ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต พริษฐ์ได้พูดถึงหัวข้อ “ปลดล็อกท้องถิ่น ปลดล็อกเศรษฐกิจ ปิดช่องคอร์รับชัน โอบรับความหลากหลาย” ความตอนหนึ่งว่า ภูเก็ตเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ตื่นตัวเรื่องการเพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นมานานแล้ว หากย้อนไปตอนการเลือกตั้ง 2562 แทบทุกพรรคการเมืองพูดถึงเรื่องนี้ในเวทีหาเสียง แต่หลังจากนั้น การขับเคลื่อนกลับล่าช้า ถูกแช่แข็ง และหลายเรื่องถดถอยลงไป จึงเป็นเหตุผลที่คณะก้าวหน้าต้องรณรงค์เรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ตลอดการรณรงค์ที่ผ่านมา มักมี 4 คำถามที่สะท้อนถึงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงกันเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ซึ่งควรนำมาอธิบายให้เข้าใจตรงกัน คือ

1. ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ว่า การเพิ่มโครงการ เพิ่มงบ เพิ่มคน ลงไปในแต่ละจังหวัด คือการกระจายอำนาจ เพราะที่จริงแล้ว หัวใจของการกระจายอำนาจ คือการทำให้คนในจังหวัดหรือในพื้นที่ มี “อำนาจ” เพิ่มขึ้นในการตัดสินใจ ว่าโครงการที่จะทำในพื้นที่ควรจะเป็นโครงการอะไร ว่างบประมาณในพื้นที่ควรนำไปใช้อย่างไร หรือว่าผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดควรเป็นใคร

2. ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ว่า การกระจายอำนาจทำให้การพัฒนาประเทศไม่มีทิศทาง หรือเป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น เพราะต้องย้ำว่าการกระจายอำนาจคือการออกแบบกลไกที่ทำให้ราชการส่วนกลาง และ ส่วนท้องถิ่น ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีขึ้นทั้งคู่ เพิ่มประสิทธิภาพของการพัฒนาทุกระดับแบบ WIN-WIN

3. ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ว่า การกระจายอำนาจ จะเพิ่มการทุจริต ทั้งนี้ เคยมีนักวิชาการคิดสูตรการโกงไว้ว่า การทุจริต (C: Corruption) = ดุลพินิจ (D: Discretion) + การผูกขาด (M: Monopoly) – กลไกการรับผิดชอบ (A: Accountability) ตัวอย่างเช่น การอนุมัติโครงการในพื้นที่ทั่วประเทศ ทุกวันนี้หลายโครงการถูกรวมศูนย์การตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลาง เลยทำให้เกิดคำถามว่าใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินว่า โครงการไหนดีหรือไม่ดี หรือควรได้รับการอนุมัติก่อน-หลัง การรวมศูนย์อำนาจจึงอาจเพิ่มความเสี่ยงเรื่องการทุจริต แต่การกระจายอำนาจก็ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะทำให้การทุจริตหายไป การแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการเพิ่มความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

และ 4. ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ว่า การกระจายอำนาจ นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน ซึ่งต้องย้ำว่า การกระจายอำนาจกับการแบ่งแยกดินแดนเป็นคนละเรื่อง การเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกระจายอำนาจ ไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบรัฐ ประเทศไทยยังคงเป็นรัฐเดี่ยวและปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเช่นเดิม เหมือนกับญี่ปุ่นหรือสหราชอาณาจักรซึ่งล้วนมีการกระจายอำนาจอย่างกว้างขวาง ในทางตรงข้าม สำหรับบางกรณี การกระจายอำนาจอาจช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการแบ่งแยกดินแดน เพราะเป็นการเปิดประตูไปสู่การโอบรับความแตกต่างหลากหลายและความต้องการที่จะกำหนดอนาคตตนเองของคนในพื้นที่


ด้าน พรรณิการ์ กล่าวในหัวข้อ “การกระจายอำนาจ ความหวัง และการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาให้กับประชาชน” ว่า การเรียกร้องเรื่องกระจายอำนาจ เรื่องการเป็นจังหวัดจัดการตนเอง ไม่ว่าจะของ จ.ภูเก็ต หรือ จ.เชียงใหม่ ที่ผ่านมาไม่สำเร็จ อาจเป็นไปได้ว่า เพราะเป็นการเรียกร้องทีละจังหวัด ทำให้ผู้มีอำนาจสามารถปฏิเสธความต้องการนี้ได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการปฏิเสธความต้องการของคนทั่วประเทศ

“ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความกระตือรือร้นในการเป็นจังหวัดจัดการตนเอง ส่วนหนึ่งเพราะเป็นจังหวัดที่หาเงินได้มาก จีพีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อปีของจังหวัดในปี 2562 คือราว 2.5 แสนล้านบาท แต่เมื่อส่งเข้าส่วนกลางแล้วถูกจัดสรรมาเป็นรายได้กลับเป็นปริมาณที่น้อยมาก งบประมาณ อบจ. ต่อปี 1 พันล้านบาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.4 ของรายได้ที่เกิดในภูเก็ต นี่คือสิ่งที่ชาวภูเก็ตรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม เพราะขณะที่พวกเขาเต็มใจต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่พอลองมาดูคุณภาพชีวิตของตัวเองที่ได้รับกลับคืนมาพบว่ายังคงย่ำแย่ น้ำประปาดีแต่ในโรงแรม ขณะที่ในบ้านเรือนประชาชนบางแห่งยังไม่มีคุณภาพ นี่คือเหตุผลที่ทำให้เกิดการเรียกร้องเรื่องการจัดการตนเอง เพื่อจะได้มีงบประมาณมาใช้พัฒนาถนนหนทาง โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก พัฒนาสิ่งที่เป็นความเป็นความตายของประชาชนชาวภูเก็ต” พรรณิการ์ กล่าว

ดังนั้น ถ้าวันนี้เรานำร่องไปทีละจังหวัด เหมือนที่ กทม. หรือ เมืองพัทยา ได้เลือกผู้บริหารเมืองก่อนพื้นที่อื่น สุดท้ายทุกอย่างก็อาจวนกลับไปที่เดิม คือร่องที่เหลือจะไม่ได้ขึ้นมาเลย ระบบราชการจะสับสนไปหมด รูปแบบที่เรานำเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็คือ ทำพร้อมกันหมดทุกจังหวัด รณรงค์ทีเดียวทั้งประเทศ ส่งแรงกดดันจากประชาชน 70 ล้านคน เข้าสภาเพื่อพิสูจน์ว่าบรรดา ส.ส. และ ส.ว. จะปฏิเสธความต้องการของประชาชนหรือไม่ ถ้าทำสำเร็จ ประเทศไทยจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า