“เมื่อสายน้ำกลับมา-ลำเหมืองฟื้นคืนชีวิต” เกาะติดภารกิจ “ทต.เหมืองจี้” – กว่า 5 ปีที่ภาพแบบนี้หายไปจากท้องถิ่น

16 สิงหาคม 2564

ภาพของสายน้ำที่ค่อยๆ ไหลเข้าเรือกสวนไร่นาห่างหายไปจากพื้นที่แห่งนี้ไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว

ทุกฤดูการเพาะปลูกที่ผ่านมา เกษตรกรชาว ต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน อาศัยเพียงน้ำฝนจากฟ้า ขณะที่ระบบชลประทานจากการใช้น้ำแม่น้ำทา เมื่อฝายถูกกระแสน้ำเชี่ยวซัดพังทลายไปเมื่อนานมาแล้ว ก็แทบไม่มีหน่วยงานไหนให้ความสำคัญเหลียวแล ลำเหมืองที่จะนำน้ำเข้าพื้นที่เกษตรจึงเหือดแห้ง

แต่วันนี้ สายน้ำกลับมาแล้ว ลำเหมืองฟื้นคืนความีชีวิตชีวา ขณะที่รอยยิ้มของพี่น้องเกษตรกร ยิ่งเป็นพลังให้ทีมทำงาน “เทศบาลก้าวหน้า” มุ่งมั่นทำงานเพื่อยกระดับชีวิตความอยู่ของคนในท้องถิ่นต่อไป

ปฏิบัติการเร่งด่วนเพื่อเกษตรกร “ทต.เหมืองจี้”
ซ่อมฝายแม่น้ำทา-ฟื้นชีวิตลำเหมืองดอยแต

เทศบาลตำบลเหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน คือหนึ่งในพื้นที่ที่ตัวแทนจากคณะก้าวหน้าได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้มาทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร โดยมี ชนินทร พุฒิเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลเหมืองจี้

พื้นที่แห่งนี้มีแม่น้ำทาไหลผ่าน เปรียบเสมือนเส้นเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงพี่น้องประชาชนในท้องที่ทั้ง 14 หมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร ปลูกสวนลำไย และทำนาปลูกข้าวซึ่งเป็นอาชีพหลัก

ทันทีที่ ชนินทร แถลงนโยบายต่อที่ประชุมสภาเทศบาลฯ เป็นที่เรียบร้อยก็เริ่มทำงานทันที เขากางแผนและออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในพื้นที่ รวมถึงนำเอาเทคโนโลยีในความร่วมมือระหว่างคณะก้าวหน้าและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) อย่าง แอพลิเคชั่นร้องเรียนปัญหาฟองดูว์ (Traffy Foudue) มาใช้ในพื้นที่ เพื่อลดช่องว่างระหว่างพี่น้องประชาชนและหน่วยงานเทศบาล

และอีกเรื่องสำคัญซึ่งติดอยู่ในใจเขามาเนิ่นนานคือ ฝายและลำเหมืองดอยแตที่ถูกทิ้งร้าง ฝายแห่งนี้ หลังจากถูกน้ำวซัดพัง เทศบาลก็ไม่มีงบประมาณซ่อมแซม จนต้องโอนกลับไปให้ทางกรมชลประทานดูแล โดยในปีงบประมาณ 2565 นี้ ในส่วนของกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการ ได้มีการตั้งงบประมาณที่จะดูแลในเรื่องนี้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่โครงการของทั้งสองหน่วยจะเกิด ชนินทรคิดว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะทำการซ่อมฝาย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพีน้องประชาชน ในช่วง 1-2 ปีนี้

ชนินทร บอกว่า ฝายล่มได้ 5-6 ปีแล้ว ไม่มีการมาดำเนินอะไร ก่อนนี้ก็มีความพยายามเอาเครื่องสูบน้ำไปลงสูบน้ำ เพื่อให้พอมีน้ำได้ใช้ แต่ปัญหาคือถ้าน้ำมาแรงๆ น้ำก็ท่วมเครื่องสูบน้ำอีก พอเราเข้ามาทำงาน เราก็เลยเห็นว่า น่าจะเข้ามาแก้ไขตรงนี้ ปรับปรุงฝายเสีย เราก็เห็นแนวปูนเดิม มันก็มีความแข็งแรงอยู่ระดับหนึ่ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุง

“ปัญหาของการไม่มีฝาย พอน้ำมาก็ไหลผ่านไปเลย พี่น้องประชาชนเกษตรกรก็ไม่ได้น้ำเข้าลำเหมืองดอย ต้องปล่อยให้แห้งไป เราจึงมาระดมความคิดกับคณะกรรมการเหมืองฝาย  ซึ่งเราก็เพิ่งมารับตำแหน่งใหม่ ก็ตั้งใจเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน ว่าต้องมาช่วยกันแก้ปัญหาก ซึ่งทุกคนก็เห็นตรงกัน

จากนั้นเราก็นัดกันทำฝาย นัดผู้ใช้น้ำจากลำเหมือง ก็ระดมๆ กันมา วัสดุที่หาได้ส่วนใหญ่ก็คือ กระสอบทราย เราก็ขอรับการสนับสนุนจาก อบจ. ผ่านการผลักดันของ ส.อบจ.ในนามคณะก้าวหน้า ท้้ง 2 คน (สืบสวรรค์  เก่งสาริกรรณ์ กับ ชัยณรงค์  ภู่พิสิฐ)” ชนินทร กล่าว

ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น
เมื่อสายน้ำกลับมา-ลำเหมืองฟื้นคืนชีวิต

“มันก็ถูกทิ้งมาหลายปีแล้วนะ… คือถ้าไม่ทำก็จะไม่มีน้ำใช้”  เสียงสะท้อนจาก แม่หลวงแวววนิดาพร ตาบุญลือ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 หมู่บ้านฝั่งหมิ่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝายน้ำล้น ที่กำลังพูดถึง

“หลังจากนายกฯ เข้ามา เขาก็มาชวนช่วยกันสร้างขึ้นมาใหม่” แม่หลวงแวว พูดถึงนายกเทศมนตรีเหมืองจี้ ชื่อ ชนินทร

แม่หลวงแวว บอกอีกว่า ด้วยความที่ฝายน้ำล้นแห่งนี้ถูกปล่อยไว้ไม่ได้รับการดูแลมาหลายปี จู่ๆ มาวันหนึ่ง นายกฯ คนใหม่เข้ามาและต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากการปรับปรุงฝาย เธอจึงมุ่งมั่นตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาฝายแห่งนี้

“มาช่วยกันออกแรง ขนกระสอบทราย และช่วยดูแลความเรียบร้อยตลอดการซ่อมแซมฝายจนประสบความสำเร็จ”

ภาพประชาชนในท้องถิ่นมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เป็นสิ่งที่เห็นแล้วรู้สึกอบอุ่น ทุกคนมาพร้อมความตั้งใจมุ่งมั่นและพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่ค้างคามานานนี้ให้ลุล่วง และในที่สุด ในฤดูน้ำหลากปีนี้ เมื่อฝนมาเยือน น้ำแม่ทาก็มีน้ำไหลเข้าฝาย เก็บกักน้ำและก็ส่งเข้าลำเหมือนถึงพื้นที่เพาะปลูกของพี่น้องเกษตรกร

นี่คือภารกิจแรกของ ชนินทร และทีมงานคณะก้าวหน้า ที่ได้รับเสียงชื่นชม

แต่สำหรับเรื่องของฝายถัดจากนี้ไป ชนิทร บอกว่า จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสาน และอำนวยความสะดวก ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการ ที่ได้มีการตั้งงบประมาณเรื่องนี้แล้ว

เพื่อให้เป็นฝายที่แข็งแรงและใช้ประโยชน์ถาวรต่อไป

ก้าวแรกในนาม “เทศบาลก้าวหน้า” เพิ่งเริ่มต้น ยังมีอีกหลายภารกิจที่ผู้เสนอตัวมาทำงาน “เต็มที่เพื่อบ้าน” จะต้องเผชิญ

ถามหัวใจของ “ชนินทร พุฒิเศรษฐ์” แม้จะเขาจะบอกว่า ” 3 เดือนที่ผ่านมา เหนื่อยขนาด” แต่เมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ได้ รอยยิ้ม และภาพแห่งความสุขที่เกิดขึ้น

มันทำให้พร้อมที่จะลุยต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า