ส่องปฏิบัติการ IO เพื่อนบ้านฟิลิปปินส์ : สูตรสำเร็จถอดแบบเผด็จการไทย

31 สิงหาคม 2565

ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีความแตกต่าง แต่ก็มีความคล้ายคลึงหลายอย่างกับประเทศไทย โดยเฉพาะในแง่ของวัฒนธรรมการเมือง ที่ผ่านการล้มลุกคลุกคลานในด้านประชาธิปไตยมาหลายทศวรรษ และยังมีอิทธิพลของเผด็จการอำนาจนิยมที่ยังฝังลึกอยู่ในสังคม

ในหน้าข่าวต่างประเทศ การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ผ่านมาล่าสุด มีปรากฏการณ์หนึ่งที่สื่อบ้านเราไม่ได้นำเสนอออกมามากนัก คือปรากฏการณ์การเผยแพร่ของ “ข่าวปลอม” รวมถึงเทรนด์ของโซเชียลมีเดียที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งที่แพร่กระจายไปทั่วทั้งสังคมฟิลิปปินส์ อันมีผลในการด้อยค่านักสิทธิมนุษยชน นักการเมืองฝ่ายค้าน และสื่อมวลชน

นำมาสู่ภารกิจการค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริง โดยคณะทำงานของกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR – ASEAN Parliamentarians for Human Rights) เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในภารกิจครั้งนี้ มีหนึ่งในแกนนำหลักของคณะก้าวหน้า พรรณิการ์ วานิช ร่วมเป็นคณะทำงานกับสมาชิกรัฐสภามาเลเซีย มาเรีย ชิน อับดุลเลาะห์ และ เคลวิน อี้ ลี่ เหวิน เดินสายพบปะพูดคุยกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมถึงสื่อมวลชนท้องถิ่น และนักการเมือง ส.ส. และ ส.ว. หลายคนของฟิลิปปินส์ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย

จากข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาได้ สามารถเรียกได้ว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คล้ายกับกรณี “ไอโอ” ของประเทศไทย และการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอาวุธในทางการเมืองในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในยุโรปด้วย โดยมีลักษณะร่วมคือ

1) มีการตั้ง “troll farm” หรือบริษัทเอกชนที่รับจ้างทำไอโอ เพื่อปั่นข่าวและแพร่กระจายข่าว รวมถึงโจมตีเป้าหมายตามโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยมักทำในลักษณะ “ทัวร์ลง” หรือไปรุมคอมเมนต์ทีละมากๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อปั้นแต่งและชี้นำทิศทางความคิดเห็น

2) เป้าหมายมักเป็นนักการเมืองหญิงที่มีลักษณะหัวก้าวหน้า หรือเป็นตัวแทนของกลุ่มคนชายขอบ เช่นในกรณีฟิลิปปินส์ เป้าหมายหลักของการปล่อยข่าวปลอมคือเลนี โรเบรโด อดีตผู้สมัครประธานาธิบดี และริซา ฮอนติเวโรส วุฒิสมาชิก รวมถึงซารา เอลาโก อดีต ส.ส. หญิงที่อายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์

3) รัฐบาลและกองทัพมีส่วนสำคัญในการเผยแพร่ข่าวปลอม แทนที่จะเป็นผู้ป้องกันการเผยแพร่ข่าวปลอม ในกรณีของฟิลิปปินส์ รัฐบาลตั้งคณะทำงานปราบปรามคอมมิวนิสต์ และใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย ในการป้ายสีนักการเมือง นักข่าว และองค์กรภาคประชาสังคมว่าเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ หรือกระบวนการที่เรียกว่า “red tag” และปิดกั้นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกล่าวหา

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คล้ายคลึงกัน คือการนำไปสู่ความเกลียดชัง โดยเฉพาะต่อกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง ที่กลายเป็นเป้าหมายจากการระดมโจมตีด้วยอคติทางเพศ นำไปสู่การด้อยค่าเพศหญิง คนหลากหลายทางเพศ และกลุ่มคนชายขอบ และการแบ่งแยกฟากฝั่งในสังคมอย่างรุนแรง

รายงานของคณะทำงานยังระบุด้วย ว่าที่ผ่านมาสื่อกระแสหลักในประเทศฟิลิปปินส์ถูกลดทอนคุณค่า และโซเชียลมีเดียได้กลายมาเป็นเครื่องมือการสื่อสารหลัก ในประเทศซึ่ง 68% ของประชากรเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และมีบันทึกผู้ใช้งานมากกว่า 92 ล้านบัญชี โดยมีบันทึกการเข้าใช้งานเฉลี่ยวันละ 255 นาที

ปรากฏการณ์ร่วมอีกประการ คือความเป็น “echo chambers” ของโซเชียลมีเดียในประเทศฟิลิปปินส์ ที่ทำให้ผู้ใช้งานได้รับข่าวสารเพียงด้านเดียวโดยไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากอีกฝั่งตรงกันข้าม เมื่อประกอบเข้ากับกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นไปอย่างล่าช้า ไม่เท่าทันต่อกระบวนการเผยแพร่ข่าวปลอมอย่างเป็นระบบ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าการเลือกตั้งหลายปี และยังมีการจัดตั้งและสอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้กระแสข่าวปลอมก็ได้ฝังรากลึกลงไปทั่วทั้งสังคมในที่สุด

จากถ้อยแถลงของ APHR ระบุว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวก็เหมือนกับโรคระบาด ที่ต้องการทั้งวัคซีนและการรักษาที่ครอบคลุมในวงกว้าง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างไม่มีพรมแดน ทำให้การต่อต้านข่าวปลอมเป็นวาระแห่งชาติของทุกประเทศที่ทั้งรัฐบาล ภาคประชาสังคม และสื่อสารมวลชน จะต้องทำงานร่วมกันไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมๆ กับการให้ความรู้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ความรู้เท่าทันต่อสื่อ และการออกกฎหมาย รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นไปตามมาตรฐานด้วย

จากปฏิบัติการร่วมครั้งนี้ พรรณิการ์ยังได้ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากประสบการณ์ของประเทศไทย โดยระบุว่า ด้วยความที่ปฏิบัติการไอโอเหล่านี้ ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีที่มาจากการสนับสนุนโดยรัฐ หรือกระทั่งมาจากรัฐโดยตรง กลไกทางกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามเพียงลำพังย่อมไม่ใช่คำตอบ

เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่มีการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมขึ้นมา แต่สุดท้ายศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของรัฐบาล ก็ถูกนำไปใช้ในการปิดกั้นเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และหลายครั้งยังถูกใช้ในการสร้างและเผยแพร่ข่าวปลอมในทางที่เป็นคุณกับรัฐบาลเองด้วย

พรรณิการ์เสนอว่าสุดท้ายแล้ว สิ่งที่จะทำให้การต่อต้านข่าวกรองมีประสิทธิมากกว่า คือกระบวนการสร้างแรงกดดันให้กับบริษัทโซเชียลมีเดีย มีความรับผิดชอบต่อสังคม ในการต่อต้านและลดการสร้างความเกลียดชังอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างมาตรการที่เข้มแข็งโดยภาคประชาสังคมและสื่อสารมวลชน ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและต่อสู้กับข่าวปลอม ที่จะเป็นวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมให้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

“รัฐสภาฟิลิปปินส์ควรมีบทบาทมากกว่านี้ในการตรวจสอบกรณีการเผยแพร่ข่าวปลอมโดยรัฐอย่างเป็นระบบและบริษัทไอโอ รวมทั้งทบทวนนโยบายในการควบคุมบริษัทโซเชียลมีเดียให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน แต่ขณะเดียวกันกฎหมายที่จะออกมาควบคุมกระแสข่าวปลอมเหล่านี้ก็ควรมีข้อจำกัดและถูกใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ให้กลายเป็นการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารโดยรัฐ จนกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกด้วย”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า