สานต่อภารกิจ-อุดมการณ์ จาก ร.ศ. 130 ถึง คณะราษฎร 2475 ถึง คณะราษฎร 2563

28 มิถุนายน 2565


จาก “คณะ ร.ศ. 130” ถึง “คณะราษฎร 2475” ถึง “คณะราษฎร 2563” ภารกิจ – อุดมการณ์ที่ได้รับการ “สานต่อ”

“ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” นอกจากจะเป็นเนื้อร้องบางตอนของเพลง “ความฝันอันสูงสุด” แล้ว ยังเป็นชื่อหนังสือ ชุดกษัตริย์ศึกษาของ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน โดยมีผู้เขียนคือ ณัฐพล ใจจริง ที่ศึกษาเรื่องราวความเคลื่อนไหวของขบวนการต่อต้านการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

และล่าสุด วลีนี้ก็ถูกใช้เป็น “หัวข้อ” ในการสนทนา ที่มูลนิธิคณะก้าวหน้า และ Doc club & pub ร่วมกันจัดขึ้น โดยมี ณัฐพล ใจจริง และ เพนกวิน – พริษฐ์ ชิวารักษ์ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน

เริ่มต้น ณัฐพล เอ่ยแซวหัวข้อการพูดคุยว่า มีลักษณะย้อนแย้งมาก เพราะที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนนั้น ไม่จำเป็นต้องฝันใฝ่อีกแล้วแล้ว และควรต้องเป็นจริงแล้ว แต่ก็คงเพราะผู้จัดงานคิดว่าในสภาวะการณ์แบบนี้ ตอนนี้ เรายังไม่ไปถึงอุดมคตินั้น จึงเกิดเป็นหัวข้อนี้ขึ้นมา

จากนั้น ณัฐพล นำภาพหนึ่งมาพูดเพื่อเปิดการสนทนา นั่นคือภาพเด็กผู้หญิง 2 คน ยืนเท้าสะเอว เชิดหน้า มองตรงไปข้างหน้า พร้อมกับอธิบายว่า ภาพของเด็กแบบนี้ก่อนการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ไม่มีแน่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าถามถึงคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะบอกว่าเยาวชนปัจจุบันนี้ไม่ได้ถูกโดดเดี่ยว ไม่ได้เป็นคนรุ่นใหม่ที่ก้าวร้าว เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีมาแล้วที่คิดแบบเดียวกัน นั่นก็คือ “คณะ ร.ศ.130”

เมื่อ 120 ปีที่แล้ว มีทหารหนุ่มที่เพิ่งจบโรงเรียนนายร้อยมาใหม่หมาด อายุเฉลี่ยอยู่ที่ต้นๆ 20 ปี ได้รวมตัวกันก่อนตั้ง “คณะ ร.ศ. 130” เพื่อทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยต้นรัชกาลที่ 6

“กล่าวได้มั้ยว่านี่คือเยาวชน 3 กีบ ยุคแรกๆ เป็นนักเรียนนายร้อย และหลายคนเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ด้วย ความคิดแบบนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเกิดในกองทัพ เพราะพวกเขาได้เรียนหนังสือ ได้เห็นการปฏิวัติจีน และมีความคิดที่จะปฏิวัติสยามเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ไม่สำเร็จ ด้วยคิดไม่รอบคอบ”

ไม่รอบคอบ – นั่นหมายถึงการประชุมเตรียมก่อการที่เปิดให้ใครก็ได้เข้ามา เห็นหน้าค่าตากันหมด จนเมื่อมีคนนำเรื่องไปฟ้องเจ้านาย จึงถูกจับได้หมด ติดคุกกันกว่า 10 ปี ขณะที่บางคนก็ตายในคุกด้วย อย่าง ร.ต.วาส วาสนา ที่บอกกับเพื่อนก่อนตายว่า “ฝากลูก และฝากชัยโยถ้ามีโอกาสได้เห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง”

ณัฐพล กล่าว

นี่คือความคิด อุดมการณ์ที่เกิดขึ้นและที่สำคัญถูกส่งต่อมาถึง “คณะราษฎร” ที่สานภารกิจต่อได้สำเร็จในอีก 20 ปีต่อมา

และยืนยันด้วยหลังจากที่ ปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 สำเร็จ ได้มีการเชิญแกนนำคณะ ร.ศ.130 ที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษก่อนหน้านั้นหมดแล้ว ให้มาพบเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกับแกนนำคณะราษฎร และพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา กล่าวกับคณะ ร.ศ.130 ตอนหนึ่งว่า “ถ้าผมไม่ได้ไปเรียนที่เยอรมัน ก็เห็นจะเข้าอยู่ในคณะของคุณอีกคนเป็นแน่” ด้าน ปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎรสายพลเรือน ก็กล่าวในเหตุการณ์เดียวกันว่า “ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็ไม่มีคณะพวกผม”

ต่อกรณีนี้ เพนกวิน ในฐานะ 1 ในแกนนำคณะราษฎร 2563 ที่ปัจจุบันจะไปไหนมาไหนก็ต้องมีกำไลข้อเท้าติดตามควบคุมตัวไปด้วย เสริมว่า นี่คือหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมการชุมนุมของประชาชนในปัจจุบันถึงใช้ชื่อว่า “คณะราษฎร”

“ถ้าเรามองประวัติศาสตร์เป็นสายธาร คนรุ่นใหม่ในยุคนั้นและยุคนี้ก็ยังอยู่ในแม่น้ำสายเดียวกัน แต่ระหว่างทาง อาจคดเคี้ยววกวนไปบ้าง ซึ่งก็เป็นปกติการต่อสู้ทางการเมือง ถามว่า เราฝันใฝ่สังคมแบบไหน ประเทศแบบไหน ก็คงเป็นอุมคติแบบเดียวกันกับ คณะ ร.ศ.130 และแบบคณะราษฎร 2475”

เหตุผลของการใช้ชื่อ “คณะราษฎร 2563” เพราะ 1.เป็นพัฒนาการต่อเนื่องกันมา และ 2.เป็นการต่อสู้ของราษฎร ซึ่งเพนกวินเข้าใจดีว่า การสร้างประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เวลาเพียง 1-2 วัน แต่อย่างไรก็ตาม คณะราษฎร 2475 ได้ปลูกเมล็ดพันธุ์แล้ว เพียงแต่ยังไม่ตั้งมั่น รากแก้วยังไม่โต คนุร่นหลังต้องมาช่วยกันสานต่อ

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาศัยเหตุและปัจจัย ไม่ใช่คิดจะเปลี่ยนแล้วทำได้เลย ต้องปลูกฝังความคิดเป็นก้าวแรก

เพนกวิน ย้ำด้วยว่า ต้องทำให้การกระจายความคิดไปให้มากที่สุด เราต้องคุยกับคนที่คิดเหมือนและคนที่คิดไม่เหมือนกับเรา คุยกับคนที่ชอบและไม่ชอบเรา ต้องคุยกับคนอายุมากๆ ให้รู้เรื่อง และเป้าสำคัญที่ต้องทำคือ การสร้างเอกภาพหรือในที่นี่คือภารดรภาพ หรือความเห็นอกเห็นใจเข้าใจกัน บนฐานของความหลากหลายซึ่งในที่นี้คือเสรีภาพ และความเท่าเทียมซึ่งในที่นี้คือความเสมอภาค

“ความคิดความฝันของคนรุ่นใหม่ยุคนี้กับยุคโน้นไม่ต่างกันมาก ชื่อการเคลื่อนไหว การปลุกประวัติศาสตร์มาใช้ ก็เป็นตัวชี้วัดว่า อุดมการณ์ของคณะราษฎรยังอยู่ในใจคนรุ่นเรา แต่ความโชคดี เรามีมวลชนเสรีขึ้น วันนี้ ด้วยเทคโนโลยี คนแค่เพียงคนเดียวมีศักยภาพที่จะทำอะไรได้มากขึ้น เรียนรู้ด้วยตัวเองมากขึ้น มีอิสระทางความคิด และอิสระทางเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน”

พริษฐ์ กล่าว

ปิดท้ายด้วยคำถามที่ว่า แล้วอีก 10 ปีข้างหน้า “ประชาธิปไตย” ในประเทศจะเป็นอย่างไร?

ณัฐพล ตอบด้วยการโชว์รูปปกหนังสือ 2 เล่ม หนึ่งคือ สี่แผ่นดิน ผลงานของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ขณะที่อีกหนึ่ง คือ แลไปข้างหน้า ผลงานของ ศรีบูรพา

จากนั้นก็อธิบายว่า นิยายสี่แผ่นดินที่นำมาทำเป็นละครวนแล้ววนอีกไม่รู้กี่รอบ คือความพยายามทำให้บ้านเมืองกลับไปสู่ในระบอบเก่า ขณะที่ แลไปข้างหน้า ของศรีบูรพา หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ซึ่งร่วมสมัยคณะราษฎร 2475 นั้น บอกว่า คนส่วนใหญ่ไม่อยากอยู่ในอดีตหรอก เขาอยากรู้อนาคตว่าจะดีกับเขาอย่างไร การที่หวังว่าคนส่วนใหญ่จะกลับไปอยู่ระบอบเดิมคือความเพ้อฝัน

เพนกวิน ชวนคิดด้วยการไปดูประวัติศาสตร์ความเปลี่ยนแปลงของโลก วิกฤตใหญ่ๆ ที่จะนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดจาก 1.โรคระบาด 2.ส่งคราม 3.สภาวะเศรษฐกิจ และ 4.ภัยธรรมชาติ

“พอทั้ง 4 ปัจจัยมาย่ำโลก จะทำให้เกิดความระส่ำระส่าย คนจะแสวงหาสิ่งใหม่ การตื่นรู้ก็จะมาจากสิ่งนี้ด้วย และวันนี้ คิดว่าเราคงเห็นกันด้วยตาตัวเองแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง วิกฤตเหล่านี้จะนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลง แต่แน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลงไม่ได้มาเอง เพราะอีกฝ่ายก็รู้และพยายามทำทุกวิถีทางเช่นกัน ที่จะเปลี่ยนเป็นทางเขา ให้เป็นขวามากขึ้น เปลี่ยนให้ล้าหลังยิ่งขึ้น”

จึงเป็นหน้าที่เราที่จะต้องช่วยกันที่เปลี่ยนเพื่อไปสู่ความก้าวหน้า เพื่อสร้างประชาธิปไตย

เพนกวิน ทิ้งท้ายอย่างน่าคิดว่า

“เวลาอยู่ข้างเรา แต่เราต้องลงมือทำด้วย ทำอย่างไรก็ได้ให้ฝ่ายสามกีบเกิดขึ้นเต็มไปหมด แล้วความเปลี่ยนแปลงจะไม่ไปอยู่ในมือฝ่ายขวา และอีก 10 ปี เราจะกลับมาฉลองวันชาติด้วยกัน ในวันนั้นที่ไม่มีใครต้องโดน คดี 112 และไม่มี 112 ให้ต้องพูดถึงกันอีกแล้ว”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า