เกาะติดขอบเวที “Common School On Tour” ครั้งแรก “ไปเหนือ” ชูประเด็น “ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ ทวงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น”

20 กรกฎาคม 2563

เมื่อสถานการณ์โควิด – 19 เริ่มคลี่คลาย ซีรีย์บรรยายสาธารณะในช่องทางออนไลน์อย่าง You Tube และ  Podcast เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ได้เวลาออกเดินทางตามเสียงเรียกร้องของคนในพื้นที่ กับการบรรยายแบบเห็นหน้าค่าตากัน 

ดังนั้น 11 และ 13  กรกฎาคม ที่ผ่านมา “คณะก้าวหน้า” จึงยกพล “ไปเหนือ” เพื่อจัดกิจกรรม “Common School On Tour” บรรยายสาธารณะครั้งแรกหลังโควิด-19 ที่ Dream Space Gallery จังหวัดเชียงใหม่ และ ที่โรงแรมภูฟ้าวารี จังหวัดเชียงราย ชูประเด็นยุติรัฐราชการรวมศูนย์ ทวงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น 

ที่เชียงใหม่ กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า บรรยายในหัวข้อ “เชียงใหม่ต้องไปข้างหน้า เมื่องานและการศึกษาคือเรื่องเดียวกัน” โดยเริ่มต้นก็ยกประเด็นเรื่องใหญ่ของคนทำงานอย่างเรื่องเงินเดือน 

กุลธิดา กล่าวว่า เงินเดือนของคนเชียงใหม่เริ่มต้นที่ 9,000 บาท เมื่อเข้าสู่เส้นทางอาชีพของตัวเองเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามลำดับและรายได้ลดลงในช่วงอายุ 40-50 ปี ในขณะที่คนเชียงใหม่ที่มีช่วงอายุ 31-40 ปีนั้นเงินเดือนห่างกันหลักร้อยเท่านั้น นี่จึงสะท้อนเส้นทางอาชีพในเชียงใหม่ที่ไม่ได้พาพวกเราไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ และอาจมีลักษณะงานที่มีการจ้างเป็นครั้งๆ (Gig Economy) บริษัทหรือองค์กรในเชียงใหม่เติบโตอย่างจำกัด ไม่สามารถยกระดับเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองได้

A person holding a signDescription automatically generated

“โจทย์ใหญ่ที่สำคัญของเชียงใหม่คือ เราจะทำอย่างไรเพื่อยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น ไม่ว่าการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น หรือระดับ ชาติชาวเชียงใหม่ควรจะเรียกร้องให้คนที่จะเป็นผู้แทนของตนเสนอนโยบายเพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเชียงใหม่” 

กุลธิดา ยังเสนอวิสัยทัศน์ใหม่ พื่อคนเชียงใหม่คือ การสร้างเศรษฐกิจสำหรับคนสูงวัย ส่งเสริมธุรกิจบริการสำหรับคนสูงวัยครบวงจร พร้อมๆ กับส่งเสริมศักยภาพคนสูงวัย ในขณะเดียวก็เพิ่มศักยภาพใหม่การแข่งขันใหม่ไปพร้อม ๆ กับการสร้างงานที่มีความก้าวหน้าให้กับคนรุ่นใหม่ สร้างให้เชียงใหม่เป็น “สวรรค์ของการเกษียณ” เป็นศูนย์การบริหารเวชศาสตร์ผู้สูงวัยและศูนย์กลางการแพทย์ของภาคเหนือต่อยอดจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 

กุลธิดา ย้ำว่า แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากเรายังไม่วางแผนแก้ปัญหาฝุ่นควัน และพัฒนาระบบขนส่งที่เข้าถึงง่าย 

A picture containing building, orange, person, computerDescription automatically generated

กุลธิดา ทิ้งท้ายการบรรยายว่า เราต้องการนักเรียนที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อพร้อมรับมือกับอนาคตที่คาดการไม่ได้ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยเพราะ การศึกษาไทยไม่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ตัวชี้วัดเดิม เนื้อหาเดิม และที่สำคัญรัฐราชการรวมศูนย์เป็นอุปสรรคในการพัฒนาการศึกษาไทย 

“นโยบายท้องถิ่นคือ คำตอบสำหรับการพัฒนาการศึกษาในเชียงใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนางานที่มีคุณภาพ โอนการบริหารโรงเรียนให้ท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นจัดการบริหารได้มีประสิทธิภาพมากกว่าส่วนกลาง และต้องปรับหลักสูตรเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกอนาคต มีนโยบายที่ชัดเจน เพื่อที่จะพัฒนาและยกระดับศักยภาพนักเรียนไปพร้อม ๆกับการสร้างเศรษฐกิจในอนาคตของเชียงใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น การพัฒนาการศึกษาและงานต้องพัฒนาควบคู่ไปพร้อมกันมองแยกจากกันไม่ได้ เพราะการศึกษาและงานคือเรื่องเดียวกัน” กุลธิดา กล่าว

A person holding a signDescription automatically generated

ที่เชียงใหม่เช่นเดียวกันกัน ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า บรรยายในหัวข้อ “ความชอบธรรม อำนาจและการต่อต้านขัดขืน” โดยชี้ให้เห็นว่า อำนาจที่ทำให้คนยอมทำตามนั้นมีอยู่ 2 ส่วนหลักคือ 1.อำนาจที่เกิดจากการบังคับ (Coercion) 2.อำนาจที่เกิดจากความยินยอม (Consent) หากผู้ปกครองใช้อำนาจบังคับกดขี่อย่างเดียว คนทำตามเพราะคนกลัว นานวันเข้าคนก็จะไม่ทำตามอีกต่อไป ในขณะที่ผู้ปกครองที่ใช้อำนาจยินยอมนั้นสามารถปกครองคนให้เชื่อและยอมทำตามได้มากกว่า ฉะนั้น ความชอบธรรมของอำนาจไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังบังคับแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจร่วมกันของผู้คน 

ปิยบุตร ชวนคิดต่อว่า ที่ผ่านมาประชาชนยินยอมพร้อมใจกันมอบอำนาจของเขาให้ผู้ปกครองเข้าไปใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะและหวังว่าผู้ปกครองจะปกป้องคุ้มครองเรา แต่ผู้ปกครองกลับใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง กดขี่ปราบปรามเรา นานวันเข้าประชาชนเริ่มไม่พอใจเกิดการต่อต้าน เกิดการประท้วงขึ้นทั่วประเทศเพื่อขับไล่ผู้ปกครองออกไป 

“หากท่านเป็นผู้ปกครองท่านจะทำอย่างไร ?” ปิยบุตร ชวนตั้งคำถามและมีทางเลือกให้ตอบคือ ทางเลือกที่หนึ่งคือ กดขี่ปราบปรามผู้ชุมนุมเหมือนเดิมเกิดเมื่อปราบเมื่อนั้น นานวันเข้าประชาชนทนไม่ไหวลุกฮือขึ้นมาเกิดเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ล้มผู้ปกครอง หรือ ทางเลือกที่สองคือ ผู้ปกครองเห็นแล้วว่าหากเป็นเช่นนี้ต่อไปไม่เป็นผลดีแน่ ผู้ปกครองยอมสละบางสิ่งบางอย่างของตนไปให้กับประชาชนที่ออกมาเรียกร้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเดินหน้าต่อไปได้ หรือที่เรียกว่าการปฏิรูป (Reform) 

A picture containing orange, person, young, holdingDescription automatically generated

ในห้วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทยที่อำนาจนำในสังคมเริ่มสั่นคลอน ขณะเดียวกันอำนาจนำใหม่กำลังเข้าขึ้นมาแทน นี่จึงเป็นห้วงเวลาของการต่อสู้ทางการเมือง เราในฐานะเจ้าของอำนาจควรตั้งคำถามกับสถาบันการเมืองที่ถืออำนาจทุกสถาบันในสังคมว่า มีไว้ทำไม ? สถาบันการเมืองใดที่ไม่สามารถตอบคำถามและปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้สิ่งนั้นก็จะหายไป สถาบันการเมืองใดที่สามารถตอบคำถามและปรับตัวได้ก็จะดำรงอยู่ต่อไป และหากผู้ปกครองมีวิสัยทัศน์เราร่วมกันเปลี่ยนประเทศไทยให้ดีขึ้นและหวังว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้นจะไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้ออีก 

“ประเทศไทยคือ แผ่นดินเกิดของพวกเรา และเราเป็นเจ้าของประเทศนี้ร่วมกัน ฉะนั้น ประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปเป็นอย่างไรจึงเป็นภารกิจของพวกเราทุกคนที่ต้องช่วยกันเปลี่ยนสังคมไทยให้ดีกว่าเดิม” ปิยบุตร กล่าว 

จากเชียงใหม่ เดินทางไปสู่เชียงรายจังหวัดเหนือสุดแดนสยาม ตลอดช่วงบ่ายของวันที่ 13 กรกฎาคม โรงแรมภูฟ้าวารี ซึ่งเป็นสถานที่จัดกิจกรรมคับคั่งไปด้วยนผู้คนหลายเพศหลายวัย และเวที Common School On Tour ก็อัดแน่นด้วยหัวข้อบรรยายที่น่าสนใจถึง 3 หัวข้อ 

เริ่มต้นด้วยเจ้าของพื้นที่ นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส. เชียงราย เขต 1 พรรคก้าวไกล บรรยายในหัวข้อ “การกระจายอำนาจกับโอกาสของเชียงราย” โดยเริ่มต้นด้วยการเล่าประสบการณ์การทำงานติดตามการสร้างถนนที่เชียงราย 1 สาย ซึ่งใช้เวลาในการติดตามทั้งหมด 1 ปี ติดต่อราชการหลายกระทรวง หลายหน่วยงานไม่มีความคืบหน้า นี่จึงสะท้อนปัญหารัฐราชการรวมศูนย์ที่ใหญ่เกินไปและไม่ตอบโจทย์ท้องถิ่น ทำงานซ้ำซ้อนข้ามไปข้ามมาระหว่างหน่วยงาน กรม และกระทรวง ทำให้คนเชียงรายสูญเสียโอกาสในการพัฒนาจังหวัด 

“จะดีกว่าไหมถ้าเราคืนอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการบริหารโดยคนในพื้นที่เอง ให้ อบจ.เชียงรายจัดการบริหารจังหวัดโดยคนเชียงราย เพื่อคนเชียงราย จะตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่มากกว่า และลดความซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ จากส่วนกลาง” นพ.เอกภพ กล่าว 

A person standing in front of a crowdDescription automatically generated

ส.ส.เขต 1 จ.เชียงราย กล่าวต่ออีกว่า เชียงรายมีทรัพยากรที่สวยงาม มีการค้าชายแดนที่คับคั่ง มีโรงพยาบาลใหญ่หลายแห่ง มีโอกาสพัฒนาศักยภาพไปได้ไกลกว่านี้ เราสามารถออกแบบอนาคตของเชียงรายให้ดีกว่านี้ได้ แต่ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ ทวงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น 

จากนั้น ในช่วงที่สอง มีการบรรายในหัวข้อ “การเมืองการปกครองเชียงราย ยุครัตนโกสินทร์” โดย อ.อภิชิต ศิริชัย นักวิชาการอิสระด้านเชียงรายศึกษา โดยระบุว่าในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการไม่มีพื้นที่ให้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เนื่องจากอาจมีความละเอียดอ่อนในทางการปกครอง 

ในการบรรยายครั้งนี้ อ.อภิชิต ต้องการเผยแพร่ประวัติศาสตร์เชียงรายในฐานะประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้ได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

A person sitting at a desk in front of a computer screenDescription automatically generated

อภิชิต ยังกล่าวอีกว่า ในช่วงการปฏิรูปการปกครองสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแแปลงรูปแบบการปกครองรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กรุงเทพฯ ทำให้เชียงรายตกอยู่ภายใต้การปกครองของนครเชียงใหม่ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพในเวลาต่อมา มีการส่งข้าหลวงมาบริหารและกำกับราชการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลสยาม 

“ที่ผ่านมารัฐบาลกรุงเทพฯ ส่งคนขึ้นมาปกครองเชียงรายในนามข้าหลวงฯซึ่งเป็นตัวแทนจากกรุงเทพฯ เพื่อมาปกครองเชียงรายเป็นหูเป็นตาให้กับส่วนกลางมากกว่าพัฒนาเชียงรายให้เจริญ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงอำนาจของสยามคือ ศาลากลางเชียงรายหลังแรกในปี พ.ศ. 2443 เพราะแสดงให้เห็นถึงการที่เชียงรายตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างสมบูรณ์ด้วยระบบราชการสมัยใหม่” อภิชิต กล่าว 

A picture containing person, person, front, holdingDescription automatically generated

นักวิชาการอิสระด้านเชียงรายศึกษา กล่าวท้ายกว่า นับตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์คนเชียงรายถูกปกครองโดยคนอื่นมาตลอด แม้กระทั่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงรายที่ผ่านมาก็ไม่มีใครเป็นคนเชียงราย นี่จึงสะท้อนปัญหาและวิธีคิดของรัฐราชการรวมศูนย์ที่ไม่เปิดโอกาสให้มีคนในพื้นที่เข้ามาบริหารจัดการเพื่อพัฒนาจังหวัดเชียงราย แต่กลับส่งคนจากส่วนกลางที่ไม่มีความเข้าใจในพื้นที่และความต้องการของคนเชียงราย ไม่สามารถดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาเชียงรายเพื่อคนเชียงรายได้เพราะรับคำสั่งจากส่วนกลาง 

และปิดท้าย Common School On Tour  ในทริป “ไปเหนือ” ด้วยการบรรยายของปิยบุตร ในหัวข้อ “ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ ทวงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น”  ทั้งนี้ เลขาธิการคณะก้าวหน้า ประกาศชัดว่า เราต้องยุติรัฐราชการรวมศูนย์ เพราะแต่เดิมอำนาจของเชียงรายมีอยู่แล้วแต่ถูกรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เราจึงต้องทวงคืนกลับมาที่เชียงรายให้คนเชียงรายตัดสินใจเองว่าต้องการให้ใครมาบริหารจังหวัด ใช้งบอย่างไร เก็บภาษีอย่างไร พัฒนาเชียงรายอย่างใร

ปิยบุตร เสนอว่า อำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะ (Public Service) ควรเป็นของท้องถิ่นในการจัดการ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น นี่จึงไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดนเพราะ ไม่ใช่การประกาศให้ท้องถิ่นเป็นรัฐอิสระ ไม่ได้มีอำนาจในทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการที่บังคับใช้ทั้งประเทศ เพียงแต่ให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ตนเสนอให้มีการแบ่งรายได้ใหม่เป็นครึ่งต่อครึ่ง เพราะงานบริการสาธารณะกลับไปอยู่ที่ท้องถิ่นทั้งหมดแล้ว และแบ่งให้มีการเก็บภาษีที่ใหญ่ขึ้นเพื่อนำเงินมาพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่เก็บภาษีท้องถิ่นแล้วนำไปพัฒนาที่อื่น พร้อม ๆ กับการสร้างระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งเช่น Open Government เปิดเอกสารราชการให้สาธารณะตรวจสอบ และตั้งสภาพลเมืองท้องถิ่นขึ้นมาเพื่อช่วยกันตรวจสอบ

A picture containing person, orange, person, teethDescription automatically generated

“การยุติรัฐราชการรวมศูนย์ ทวงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นเป็นการปลดปล่อยศักยภาพของท้องถิ่นที่ถูกกดทับภายใต้การรวมศูนย์ออกมาทั่วประเทศ เมื่อท้องถิ่นปลดปล่อยศักยภาพออกมา ประเทศไทยก็จะยกระดับทั้งประเทศนี่จึงเป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีอนาคต” ปิยบุตร กล่าว 

ปิดฉาก  Common School On Tour ในครั้งแรกอย่างน่าประทับใจ ส่วนครั้งต่อไป ทีมงาน “คณะก้าวหน้า” จะเดินทางไปที่ไหน โปรดติดตามข่าวมูลข่าวาร และกิจกรรมต่าง ๆ ของ Common School และคณะก้าวหน้าได้ทางเพจเฟซบุ๊ค คณะก้าวหน้า The Progressive Movement และชาแนลยูทูป คณะก้าวหน้า The Progressive Movement และติดตาม Podcast ได้ทาง The Progressive Podcast

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า