ก้าวหน้าxก้าวไกล หารือความร่วมมือพรรค SPD

23 พฤษภาคม 2565


เมื่อวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2565 พรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า และ มูลนิธิก้าวหน้า ได้ต้อนรับตัวแทนจาก พรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเดนมาร์ก (SPD) และเครือข่ายประชาธิปไตยสังคมนิยมในเอเชีย (SocDem Asia) เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองทางการเมือง พร้อมหารือความร่วมมือทางการเมืองในระดับนานาชาติ

การเดินทางมาเยือนของ มาเรียนเนอ วิกเตอร์ ฮันเซน ที่ปรึกษางานระหว่างประเทศและผู้จัดการโครงการ, เยนส์ เกออร์ก แบกเกอ ประธานกรรมการงานระหว่างประเทศ, และแมดส์ ซนเดอร์การ์ด ธอมเซน กรรมการบริหารแห่งชาติเดนมาร์ก ซึ่งเป็นตัวแทนของพรรค SPD และ SocDem Asia ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการกระชับความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองเก่าแก่ของเดนมาร์กกับพรรคการเมืองที่เชื่อมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตยในเอเชีย เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์สังคมการเมืองในเอเชีย และแลกเปลี่ยนยุทธศาสตร์การเมือง

ระหว่างการพูดคุย ตัวแทนพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า และมูลนิธิก้าวหน้า ได้เล่าถึงความพยายามในการเปลี่ยนแปลงการเมืองประเทศไทยให้มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นสามารถกำหนดทิศทางอนาคตของตนเอง และทลายทุนผูกขาด

รังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกลได้อธิบายสถานการณ์การเมืองของไทย โดยเฉพาะช่วงหลังการมีรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่วางกติกาสืบทอดอำนาจให้กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมเล่าถึงการทำงานของพรรคก้าวไกล ในฐานะพรรคการเมืองใหม่และพรรคฝ่ายค้าน โดยเล่าถึงการใช้กลไกรัฐสภาและคณะกรรมาธิการของพรรคก้าวไกล ในการช่วยแก้ไขปัญหาของประชาชน

นอกจากนี้ รังสิมันต์ กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นตั้งแต่การมีพรรคอนาคตใหม่มาจนถึงพรรคก้าวไกล ก็คือ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเมือง และวัฒนธรรมการอภิปรายในสภา เนื่องจาก ส.ส. พยายามทำการบ้านอย่างหนักในการหาข้อมูลอย่างละเอียด และมานำเสนอด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น การเปิดเผยไฟล์ข้อมูลให้ประชาชนสามารถเข้าไปดูทางออนไลน์ หรือการขึ้นคิวอาร์โค้ดให้คนดูมีส่วนร่วมในการการอภิปรายเรื่องไอโอทหาร เป็นต้น ซึ่งทำให้ประชาชนหันมาสนใจและเชื่อมั่นในกลไกรัฐสภาได้มากขึ้น

ด้าน ไกลก้อง ไวทยการ ผู้อำนายการนโยบายท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า ได้เล่าต่อว่า การเมืองระดับท้องถิ่นก็เป็นเรื่องสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย คณะก้าวหน้าจึงพยายามส่งผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง อบต. อบจ. ผู้ว่าราชการเมืองพัทยา และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ไกลก้อง อธิบายถึงโครงการต่างๆ ที่คณะก้าวหน้าได้ช่วยพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ที่คณะก้าวหน้าได้รับความวางไว้ใจจากประชาชนให้เข้าไปทำงาน เช่น โครงการน้ำประปาดื่มได้ ในเทศบาลตำบลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด พัฒนา การพัฒนาโครงการการท่องเที่ยวปงผาง ในพื้นที่ตำบลท่ากาดเหนือ จังหวัดลำพูน การพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับชุมชน ที่จะช่วยเรื่องการจัดการขยะ หรือรับเรื่องร้องเรียน เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นการพิสูจน์ตัวเองว่าสถาบันการเมืองอายุน้อยก็มีประสบการณ์ด้านบริหารเช่นกัน

ส่วน กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิก้าวหน้า เล่าว่า นอกเหนือจากงานการเมืองในสภา และการทำงานท้องถิ่นแล้ว การสร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวจำเป็นต้องทำงานด้านความคิดด้วย มูลนิธิก้าวหน้าจึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ปักธงประชาธิปไตยผ่านการกระจายความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน จึงมี Common School โครงการการอบรม การเข้าแคมป์ การทำหนังสือ ให้ความรู้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคม เป็นต้น

ทั้งนี้ แมดส์ ได้แสดงความยินดีกับพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้าและมูลนิธิก้าวหน้า ที่สถาบันการเมืองใหม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการเมืองไทยได้ขนาดนี้ และหวังว่าในอนาคตจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสังคมไทย พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองจากพรรคเก่าแก่ของเดนมาร์กและกระบวนการทำงานทั้งกับประชาชนและภายในพรรคการเมือง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า