ในโพสต์นี้ ผมได้แนบไฟล์การสร้างเครื่องเพิ่มความเข้มข้นออกซิเจนในอากาศ -หรือที่เราตั้ง codename ไว้ว่า “โครงการ O2P”- เพื่อให้ประชาชน, นักศึกษาอาจารย์ และนักประดิษฐ์ทั่วไปเข้าถึงได้อย่างเป็นสาธารณะ
ผมขอเท้าความอีกครั้ง โครงการนี้เกิดจากความห่วงใยของพวกเราชาวคณะก้าวหน้า ต่อผู้ติดโควิดที่มีอาการเชื้อลงปอด มีปัญหาการหายใจ แต่ไม่สามารถเข้าถึงโรงพยาบาลได้ บังเอิญผมได้อ่านเจอข้อความในโพสต์เฟซบุ๊กของส.ส. พรรคก้าวไกล พ.ต.ต. ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ ที่เขียนเกี่ยวกับการผลิตเครื่องเพิ่มความเข้มข้นออกซิเจนในอากาศ (สามารถอ่านได้ที่นี่: https://www.facebook.com/2241401106128217/posts/3016440778624242/ ) และได้อ่านผลการศึกษาเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่เปิดเป็นสาธารณะ
เมื่ออ่านจบแล้ว ผมรู้ว่าศักยภาพของทีมงานไทยซัมมิทและวิศวกรชาวไทย สามารถสร้างเครื่องนี้ขึ้นมาได้ จึงได้เรียกประชุมทีมงาน เปิดโครงการ O2P
สองเดือนผ่านไป ด้วยความช่วยเหลือจากผู้คนมากมาย ทั้งจากโลกออนไลน์และจากการทำงานร่วมกันในโลกความจริง วันนี้ เครื่องออกซิเจนที่พวกเราสร้างขึ้นได้ถูกแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์และศูนย์พักคอยหลายแห่งแล้ว
เมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงในอนาคต เครื่องนี้ก็ยังสามารถทำประโยชน์ในการแพทย์ได้ต่อไปอีก ผู้ป่วยอีกหลายโรคยังจำเป็นต้องมีการให้ออกซิเจนที่บ้าน เช่น โรคปอดเรื้อรัง, ถุงลมโป่งพอง, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น เครื่องนี้สามารถช่วยให้ผู้ดูแลและผู้ป่วยไม่ต้องเติมหรือเปลี่ยนถังออกซิเจนบ่อยๆ ซึ่งจะลดภาระและต้นทุนในการดูแลผู้ป่วยได้
ไวรัสโคโรนาทำให้พวกเราเห็นถึงความเปราะบางทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ประเทศไทยไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้เลย อุปกรณ์ทางการแพทย์, ยา, และวัคซีน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ
โครงการนี้ยืนยันความเชื่อของผมว่า คนไทยมีศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมมากมาย พวกเราใช้เวลาเพียงสองเดือน จากที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการผลิตออกซิเจนเข้มข้น ผ่านการศึกษา ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญตลอดทั้ง supply chain ทำการวิจัย ทดลองเงื่อนไขและปัจจัยต่าง ๆ เป็นร้อย ๆ ครั้ง และออกแบบการประกอบและการประกันคุณภาพจากประสบการณ์จริงในโลกอุตสาหกรรม จนสามารถสร้างเครื่องเพิ่มความเข้มข้นออกซิเจนในระดับอุตสาหกรรมได้ ภายในเวลาอันสั้น
เราสามารถนำปัญหาสังคม มาสร้างเป็นความต้องการภายในประเทศ และจากความต้องการภายในประเทศ ผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ สร้างงานที่ผลิตสินค้า และ/หรือบริการ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อให้เกิดจ้างงานที่มีคุณภาพ ประเทศไทยได้มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง แก้ปัญหาได้ทีเดียว 3 ด้าน คือ ปัญหาสังคม, ปัญหาเศรษฐกิจคนว่างงาน และปัญหาการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทย
เราเริ่มต้นโครงการนี้จากการต่อยอดความรู้ที่มีผู้เผยแพร่เป็นสาธารณะ จึงไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เมื่อจบโครงการ เราจึงต้องการคืนความรู้กลับสู่สังคม นำความรู้ที่เราต่อยอดได้ เปิดเป็นสาธารณะต่อไป ผมหวังว่าการเปิดข้อมูล O2P เป็นสาธารณะนี้ จะช่วยให้ผู้สนใจได้นำความรู้ไปต่อยอดต่อไปอีก และนำไปสู่การคิดค้นใหม่ๆได้
เราเริ่มต้นโครงการนี้จากการต่อยอดความรู้ที่มีผู้เผยแพร่เป็นสาธารณะ จึงไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เมื่อจบโครงการ เราจึงต้องการคืนความรู้กลับสู่สังคม นำความรู้ที่เราต่อยอดได้ เปิดเป็นสาธารณะต่อไป ผมหวังว่าการเปิดข้อมูล O2P เป็นสาธารณะนี้ จะช่วยให้ผู้สนใจได้นำความรู้ไปต่อยอดต่อไปอีก และนำไปสู่การคิดค้นใหม่ๆได้
จากข้อมูลชุดนี้ของเรา หากใครลงทุนพัฒนาทดลองอีกนิดหน่อย ก็จะสามารถสร้างเครื่องเพิ่มความเข้มข้นออกซิเจนเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เลย ข้อมูลการนำเข้าเครื่องออกซิเจนบอกเราว่าประเทศไทยนำเข้าเครื่องมือชนิดนี้จากต่างประเทศปีละประมาณ 200 ล้านบาทเลยทีเดียว (อ้างอิงจากพิกัดอัตราศุลกากร HS code 901920, 902000, และ 842139) วันนี้เรารู้แล้วว่าคนไทยมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะผลิตเครื่องนี้ในประเทศ ซึ่งหากมีคนนำไปทำต่อให้สำเร็จ เราก็จะลดการนำเข้า ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ สร้างงานในประเทศด้วยเทคโนโลยีคนไทยได้
ความก้าวหน้าของประเทศและอนาคตของคนรุ่นต่อไปอยู่ที่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครับ
ดาวน์โหลดไฟล์
- ไฟล์รายงานสรุปผลการทดลองและผลิตเครื่อง O2P
- พิมพ์เขียวสามมิติในรูปแบบ AutoCAD
- แบบเครื่อง O2P ชนิดสองมิติ
คำขอบคุณ
พวกเราขอบคุณบุคคลและองค์กรเหล่านี้ที่มีส่วนช่วยผลักดันให้โครงการนี้สำเร็จด้วยดี
1. ผู้จัดการโครงการและที่ปรึกษา
2. ทีมออกแบบพัฒนาวิจัย
3. ทีมงานประกอบและควบคุมคุณภาพ
4. ทีมโครงสร้าง
5. ทีมไฟฟ้า
6. ทีมระบบลม
7. ทีมสารเคมีและประกอบกระบอกบรรจุสาร
8. ทีมสนับสนุน
9. ทีมข้อมูลสาร Zeolite
10. อื่น ๆ
- มูลนิธิกระจกเงา สําหรับการให้ยืมอุปกรณ์
- ข้อมูลทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ
- พันตํารวจตรี ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ คําแนะนําทางข้อมูล
- เจ้าหน้าที่จากคณะก้าวหน้า
11.ผู้สนับสนุนอุปกรณ์การผลิต
- บริษัท ฟาร์อีสต์ เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จํากัด
- บริษัท เซ็นทรัล คาสเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด
- บริษัทโคฮอร์ท เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จํากัด
- บริษัท มิติเท็กซ์ จํากัด
- บริษัท ฟิลเตอร์ แมทช จํากัด
- บริษัท เอส.เอ็ม.ซี. (ประเทศไทย) จํากัด
- บริษัท เอเชีย อีเล็คทริค คอร์ปอเรชั่น จํากัด
- บริษัท ที กรุ๊ป เอ็นจิเนีย แอนด์ แมชชีนทูล จํากัด
- บริษัท แอร์แทค อินดัสเทรียล จํากัด
- ห้างหุ้นส่วนจํากัด ปาริชาติ เอ็นจิเนียริ่ง
- บริษัท อาร์ เอส สปริงอะไหล่ จํากัด
- บริษัท พัมคิน คอร์ปอเรชั่น จํากัด
- บริษัท ที กรุ๊ป เอ็นจิเนีย แอนด์ แมชชีนทูล จํากัด
- บริษัท ออโรเม็กซ์ จํากัด
- บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรีจำกัด
- บริษัท TS Interseats Co,. Ltd
- บริษัท ไทยซัมมิทพลาสเทคจำกัด
- บริษัท ไทยชาธร อุตสาหกรรม จำกัด
- ไทยซัมมิท แหลมฉบัง โอโตพาร์ท จำกัด
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
8 ตุลาคม 2564