หยุดปล่อยปลามาปล่อยปลากระป๋อง ! ส.อบจ.คณะก้าวหน้า ผนึกกำลัง ส.อบจ.อิสระ ลดงบฯ ปี 65 อบจ.อุดรธานี – ปกป้องผลประโยชน์ประชาชนได้กว่า 57 ล้าน

17 กันยายน 2564

เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในฐานะของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายต่างๆ และอีกด้านหนึ่งก็คอยตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารซึ่งก็คือรัฐบาลนั่นเอง

คราวนี้ลองมาพิจารณาในส่วนของ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ไม่ว่าจะเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล รวมถึง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ก็จะมีลักษณะที่คล้ายกัน คือ มี “นายก” ที่เป็นฝ่ายบริหารซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และ “สมาชิกสภา” ซึ่งก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน ทำหน้าที่ออกข้อบัญญัติต่างๆ ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร และพิจารณาอนุมัติงบประมาณโครงการต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารเสนอมา

ในการเลือกตั้งนายก อบจ.เมื่อปลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าผู้สมัครในนามคณะก้าวหน้าจะไม่มีตัวแทนได้รับเลือกไปดำรงตำแหน่งผู้บริหาร แต่ทว่าในส่วนของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) นั้น มีผู้ได้รับเลือกเข้าไปทำหน้าที่ถึง 57 คน จาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ

ศิวิมล คำมุงคุณ ส.อบจ.อุดรธานี (อ.บ้านดุง เขต 2) และ สรัลภพ โพธิ์ทิพย์ ส.อบจ.อุดรธานี ( อ.สร้างคอม เขต 1) คืออีก 2 คน ในนามคณะก้าวหน้าที่ทำงานอย่างขยันขันแข็ง เพื่อร่วมตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร และปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

ล่าสุด ในการพิจารณา ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ที่ฝ่ายบริหารคือ อบจ.อุดรธานี เสนอต่อสภาฯ ส.อบจ.ในนามคณะก้าวหน้าทั้งสองคน ได้ผนึกกำลังกับ ส.อบจ.อิสระอีก 2 คน คือ ชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง ส.อบจ.อุดรธานี (อ.เมือง เขต 1) และยศวัฒน์ กีรติรัฐวัฒน์ ส.อบจ.อุดรธานี (อ.เมือง เขต 2) ร่วมกันแปรญัตติของตัดลบงบประมาณ สำหรับโครงการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยควรทำในเรื่องเร่งด่วนกว่า นั่นก็คือการดูแลประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิด

ส.อบจ.อุดรธานี ทั้ง 4 คน สามารถแปรญัตติตัดงบฯ ประจำปี พ.ศ.2565 รวมกันได้ถึง 57 ล้านบาท !

ศิวิมล เปิดเผยว่า การรวมตัวกันของ ส.อบจ. ทั้ง 4 คนนั้น เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นปัญหาของการนำงบประมาณมาใช้อย่างไม่เกิดประโยชน์ และสวนทางกับบริบทเศรษฐกิจสังคมยุคโควิด ด้วยจำนวนงบประมาณที่มากเกินความจำเป็น ไม่ได้สัดส่วนกับผลลัพธ์ ทำให้เธอและเพื่อน ส.อบจ. ในนามคณะก้าวหน้า และ ส.อบจ.อิสระ ร่วมกันยื่นแปรญัตติเพื่อตัดลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นออกไป

“สำหรับตนเองเห็นว่ามีอยู่ 3 เรื่อง เรื่องแรก ห้องสมุดประจำตำบล ขนาด 4 x 8 เมตร งบฯ 30 ล้าน 10 แห่ง ลักษณะการก่อสร้างแบบน็อคดาวน์ ถ้ารวมคิดค่าก่อสร้างก็ไม่น่าจะเกิน 7-8 แสน นอกนั้นก็เป็นหนังสือ จึงมองว่าไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มันมีเป็นห้องสมุดที่มีแค่หนังสืออย่างเดียว มันไม่มีสื่อออนไลน์ หรืออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ยิ่งที่ทุกวันนี้เราเรียนออนไลน์แล้วด้วย ห้องสมุดก็ยิ่งควรจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับบริบทและยุคสมัย ที่ขอตัดงบไป เพื่ออยากให้นำมาปรับปรุงห้องสมุดที่มีเป็นห้องสมุดที่พร้อมกับการเรียนออนไลน์ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยรองรับ”

ส.อบจ.หญิงเก่ง ในนามคณะก้าวหน้า กล่าวต่อว่า โครงการต่อมาคือเงินอุดหนุนเรื่องควายไทย เป็นโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี วงเงินอยู่ที่ 10 ล้านบาท ซึ่งในหนังสือของบประมาณ มาเป็นเพียงกระดาษ 4-5 แผ่น ในรายละเอียดมีบอกแค่การอบรม การพัฒนาผสมพันธุ์ ฯลฯ รายละเอียดมันยังไม่ชัดเจน ซึ่งตนคิดว่าจะใช้งบประมาณจำนวนมากไปอุดหนุนขนาดนั้น ไม่ทราบว่าโครงการจะสัมฤทธิ์ผลหรือมีการวัดประเมินผลอย่างไร เลยขอตัดงบในส่วนนี้ไป 50 เปอร์เซ็นต์

“ส่วนอีกเรื่องคือ การขอตัดลดงบประมาณปูยางพาราให้สนามกีฬา ต้องขออธิบายก่อนว่า เขาทำลานคอนกรีตไว้แล้ว แล้วเขาก็จะเอายางพาราไปปูทับลานคอนกรีต ซึ่งในสนามกีฬาก็จะมีสนามบาสเกตบอล สนามตะกร้อ ฯลฯ เขาก็จะเอายาพาราไปปูทับ พอปูยางพาราเสร็จ ก็จะเอาไฟส่องสว่างไปติด มันเป็นงบประมาณซ้ำซ้อนที่ต้องทำ 3 ปี โดยปีแรกต้องเทลานคอนกรีตก่อน ปีที่สองเทยางพารา ส่วนปีที่สาม ต้องมาติดตั้งไฟส่องสว่าง งบฯ ที่เขาตั้งไว้คือ 42.5 ล้านบาท แต่ถ้ามาดูในรายละเอียดมันไม่ต้องขนาดนั้น มองว่ามันเกินความจำเป็น เพราะบางชุมชนเขาก็ไม่ได้มีเด็ก เยาวชนที่จะต้องใช้งาน” ศศิวิมล กล่าว

ขณะที่ ส.อบจ. ในนามคณะก้าวหน้า อีกคนหนึ่งอย่าง สรัลภพ ได้ขอแปรญัตติโครงการจัดหาเสาไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ บริเวณสนามกีฬาในเขตพื้นที่ จ.อุดรธานี จาก 32 ล้านบาท เหลือ 25.9 ล้านบาท โดยบัณฑิตปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพลังงาน จากรั้ว ม.ขอนแก่น อย่างเขามองว่า “กรณีไฟฟ้าก็ใช้ผิดประเภท เพราะไฟส่องสว่างนั้นต้องนำไปใช้งานกับถนน ส่วนไฟที่จะต้องนำมาติดเพื่อใช้งานสนามกีฬาจะต้องมีอีกลักษณะหนึ่ง และกรณีไฟที่จะนำมาใช้ในสนามกีฬาตามโครงการนี้ก็มีราคาสูงกว่าปกติ”

ยังมีอีกหลายโครงการ ที่ ส.อบจ.ทั้ง 4 คน ผนึกกำลังกันตัดงบประมาณในส่วนที่เห็นว่าไม่เหมาะสม และยังไม่ใช่ในโอกาสนี้ อาทิ โครงการฝึกซ้อมนักกีฬาเพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ, โครงการการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ, โครงการกีฬาแห่งชาติ, โครงการกีฬาคนพิการแห่งชาติ รวมถึงโครงการอย่างการปล่อยพันธุ์ปลา ถ้าลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ของ อบจ.อุดรธานี ( https://web.udonpao.go.th) ก็จะพบว่าทำไมมีมากมายเหลือเกิน

นี่เองที่ทำให้ ส.อบจ.อิสระคนหนึ่งถึงกับอภิปรายในสภาว่า “…ขอลดงบฯ ปล่อยลูกปลาลง เอามาปล่อยปลากระป๋องแทน”

สรัลภพ เปิดเผยว่า กรณีขอลดงบเพื่อไปซื้อถุงยังชีพให้ชาวบ้าน เพื่อนทางทีม ส.อบจ.มองเห็นว่า ปัญหาโควิดตอนนี้ทำให้พี่น้องประชาชนลำบาก แทนที่จะนำเอาเงินงบประมาณไปลงกับโครงการที่ไม่ได้สัดส่วน หรือนำไปปล่อยพันธุ์ปลา ก็ให้นำไปทำถุงยังชีพ แจกปลากระป๋องให้กับพี่น้องที่เดือดร้อนจะดีเสียกว่า

สลัลภพ ทิ้งท้ายอย่างน่าคิดอีกว่า “มันมักจะชอบมีงบประมาณสำหรับปล่อยปลา ซื้อพันธุ์ปลาไปปล่อยตามแหล่งน้ำ ซึ่งก็เป็นอีกวิธีที่ยากจะตรวจสอบ ในกลุ่มพวกเราก็เลยพากันบอกว่า หยุดปล่อยปลา มาปล่อยปลากระป๋องให้พี่น้องประชาชนเสียดีกว่า”

นี่เป็นอีกหนึ่งบทบาทของ 2 ส.อบจ. ในนามคณะก้าวหน้า และ 2 ส.อบจ. อิสระ ของ จ.อุดรธานี ที่ร่วมกับแปรญัตติตัดงบประมาณ ดูแลปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน

เพราะทุกบาททุกสตางค์มาจากเงินภาษีของพี่น้องประชาชน วันนี้ แม้เราคณะก้าวหน้าจะยังไม่ได้เป็นฝ่ายบริหารจะยืนยันหลักของการเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ในการทำงาน หากแต่ในฐานะของฝ่ายตรวจสอบและออกข้อบัญญัติต่างๆ อย่างตำแหน่ง ส.อบจ. ก็พร้อมทำหน้าที่นี้

เพื่อไม่ให้ประชาชนผิดหวังที่ไว้วางใจเลือกเราเข้าสภา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า