ผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน! แอพพลิเคชั่น “Locall.BKK” เดลิเวอรี่ช่วยชุมชน – ร้านคุณลุงคุณป้าเล็กๆก็มาด้วย – สั่งอาหารได้หลายแห่งในคลิกเดียว

28 เมษายน 2563

ท่ามกลางวิกฤตด้านสาธารณสุขจากการแพร่ระบาดอของ “โควิด-19” ทำให้เกิดวิดกฤตทางด้านเศรษฐกิจตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจเล็กใหญ่ ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าต่างๆ ในห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงร้านค้าแพงลอยตามตลาดนัด หรือร้านอาหารตามชุมชนต่างๆ ที่จะต้องปิดตัวลงชั่วคราว เนื่องจากมาตรการของภาครัฐ ที่ป้องกันไม่ให้ผู้คนมารวมตัวกันป็นจำนวนมาก

ดังนั้น ธุรกิจประเภทร้านอาหารจึงต้องปรับตัว เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถนั่งกินในร้านได้ ทางออกของธุรกิจประเภทนี้ทางหนึ่้งซึ่งเป็นทางของส่วนใหญ่ก็คือ การขนอาหารแบบ delivery หรือ ให้บริการถึงบ้านนั่นเอง

ในรายการ “ตลาดส้มจี๊ด” ตอน “ตั้งร้านออนไลน์ยังไงไม่แป้กแต่ปัง” มีมุมมองที่น่าสนใจจาก “พลอย” เพียงพลอย จิตรปิยธรรม นักธุรกิจทางด้านโรงแรม เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบ เธอจึงปรับเปลี่ยนโมลเดลธุรกิจจากเดิมที่เปิด Hostel และร้าน Cafe เป็นธุรกิจแนวเดลิเวอรีส่งอาหารเพื่อความอยู่รอด แต่วิธีคิดของเธอไม่ใช่แค่การเอาแค่ตัวเองรอด แต่ต้องการให้ร้านค้าในชุมชนรอดก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วย

เพียงพลอย บอกว่า เธอเองก็เป็นผู้ได้รับผลกระทบ เพราะ Hostel นั้นอยู่ในตำแหน่งของ Old Town หรือที่เป็นเมืองเก่า ซึ่งนักท่องเที่ยวหายไปเยอะพอสมควร ดังนั้น ต้องปรับตัว ไม่ว่าไม่ว่าจะเป็นตัว Hostel เองหรือตัว Cafe ก็ต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน ด้วยการเน้นไปที่การเดลิเวอรีหรือการขนส่ง

นี่เป็นจุดเริ่มต้นในการทำแอพพลิเคชั่น Locall.BKK ซึ่งชื่อแอพฯ นี้ล้อไปกับคำว่า Local ที่แปลว่า ‘ท้องถิ่น’ เป็นแอพฯ Delivery หรือการจัดส่งอาหาร โดยเน้นไปที่ร้านค้าในชุมชน หรือร้านค้าในท้องถิ่น

เพียงพลอย บอกว่า จุดเริ่มมาจากการที่คิดจะส่งอาหารแบบเดลิเวอรีของเราเอง ถ้าเราแบกต้นทุนเดลิเวอรี่ของเราคนเดียวก็เป็นอะไรที่หนักมาก แต่ถ้าเอาร้านค้าในชุมชนมาช่วยกันแบกตรงนี้ ทุกอย่างก็จะเดินไปต่อได้ ด้วยความที่เราอยู่ในใจกลางของ Old town ร้านอาหารของคุณลุง คุณป้าในชุมชน ก็ได้รับลูกค้าชาวต่างชาติที่มาพัก Hostel ของเรา ซึ่งเราก็แนะนำแขกที่มาพักไปทานอาหารที่ร้านค้าชุมชน ซึ่งหาก Hostel ของเราไม่มีลูกค้า แล้วร้านค้า ร้านอาหารในชุมชนจะมีลูกค้าได้อย่างไร

“ในการส่งเดลิเวอรี เรื่องต้นทุนเกี่ยวกับการขนส่งมีมูลค่าสูงมากและแพงมาก ต่อให้มีคนขับหรือทำการจัดส่งเองก็มีต้นทุนที่สูงอยู่ดี จะไปหาช่องทางการขายใหม่ๆ ร้านเราก็ไม่ได้ดังขนาดนั้น ยิ่งไปกว่านั้น ร้านค้าส่วนใหญ่ในชุมชน ก็ไม่เคยได้เข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์มาก่อน ทุกอย่างมันยากไปหมดเลย ดังนั้น เราเลยเห็นว่า ไม่ใช่แค่เราที่เห็นว่ามันยาก คุณลุงคุณป้าพ่อค้าแม่ขายในชุมชนก็ยากเช่นเดียวกับเรา มันเลยทำให้เรารู้สึกว่า ถ้าเราจะแก้ปัญหานี้ เราจะไม่แก้ปัญหาของเราคนเดียว แต่เราจะแก้ปัญหาของคนในย่านของเราไปพร้อมกัน

“ร้านค้าในชุมชนต่างๆ ส่วนมากเข้าไม่ถึงการบริการในการค้าขายออนไลน์ แต่ความเป็นจริงก็ไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างที่คิด เพราะเราเป็นมือใหม่ในด้านของเดลิเวอรี ทุกอย่างมันก็ยากไปหมด ปัญหาใหญ่สำหรับธุรกิจประเภทนี้ก็คือ ต้นทุนการจัดส่ง ยิ่งเป็นคุณลุง คุณป้า พ่อค้าแม่ขายในชุมชนยิ่งหนักเข้าไปใหญ่”

แอพพลิเคชั่น Locall.BKK จึวถูกออกแบบมาเพื่อแก้โจทย์ปัญหาเหล่านี้ โดยมี ข้อดีอีกข้อหนึ่งของแอพฯ นั่นก็คือ สามารถสั่งอาหารจากหลายๆ ร้าน และส่งได้ในคราวเดียว

“เราอยากกินร้านหนึ่ง พ่อแม่อยากกินอีกร้านหนึ่ง เราต้องยอมคุณพ่อคุณแม่เสมอไปหรือเราต้องยอมสั่ง 2 ครั้งเสมอไปหรือเปล่า อันนี้เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเจอ ซึ่งแอพ Locall.BKK ก็พยายามจะพัฒนาในจุดนี้ ที่สามารถสั่งอาหารหลายร้านในการสั่งครั้งเดียวได้ จึงเกิดเป็นสโลแกนที่ว่า ส่งทั้งย่านถึงบ้านคุณ”

แอปพลิเคชั่นนี้เป็นการรวมหลายๆ ร้าน ทั้งร้านเล็ก ร้านใหญ่ ร้านที่มีชื่อเสียง รวมเข้าไว้ด้วยกัน และสามารถส่งได้พร้อมกันทีเดียว ทำให้บางครั้งลูกค้าที่เข้ามาในแพลตฟอร์มนี้ อาจจะเข้ามาเพราะร้านใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียง แต่สุดท้ายลูกค้าเหล่านั้นก็อาจจะอยากชิมร้านเล็กๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่สามารถที่จะทำให้ร้านเล็กๆ เหล่านั้นเติบโตได้ ส่วนในแง่ของการเดลิเวอรี ก็ตอโจทย์ลูกค้าที่มีความชื่นชอบอาหารร้านต่างกัน สั่งรัานใหญ่ด้วย ร้านเล็กด้วย ได้ช่วยเหลือร้านค้าในชุมชนไปพร้อมกัน

เพียงพลอย บอกว่า อยากให้ทุกคนมองกว้าง ไม่ใช่แค่มองตัวเราเองอย่างเดียว หากมองแค่ตัวเองเราจะเห็นมุมมองที่แคบลง แล้วจะหาทางออกยากขึ้น แต่ถ้ามองในมุมกว้างขึ้น ว่าเราสามารถช่วยอะไรคนอื่นได้หรือไม่ หรือ เราช่วยอะไรกันได้ไหม ถ้าเราคิดในวงกว้างขึ้นแล้วอาจจะได้คำตอบของการแก้ปัญหาได้กว้างมากขึ้น

ธุรกิจขนาดใหญ่สายป่านยาว อาจรอดพ้นจากวิกฤตเช่นนี้ แต่ธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง อาจต้องปรับตัว ดิ้นรน และเอาตัวรอดไปตามๆกัน หากเรามองอีกมุมหนึ่งในกรณีการปรับโมเดลธุรกิจของเพียงพลอย หากเธอคิดแต่จะเอาตัวรอด เมื่อการแพร่ระบาดของโรคผ่านพ้นไป Hostel และ Cafe แห่งนี้อาจจะกลับมาเปิดได้ แต่อาจจะกลับมาเปิดท่ามกลางชุมชนที่ร้างไร้ร้านอาหารอร่อยๆ ร้างด้วยร้านอาหารเก่าแก่ ทำให้จะไม่มี Story อะไรที่จะแนะนำแขกที่มาพัก

แต่ถ้าหากมองในมุมแบบเธอ คือ มองให้กว้างให้มากกว่าเดิม หากร้านทุกร้านในชุมชนรอดพ้นจากวิกฤตนี้ ไม่ใช่เพียง Hostel ที่จะมี Story แนะนำแขกที่มาพัก แต่ทุกๆ ครอบครัว ในทุกร้านในชุมชน ก็จะรอดพ้นวิกฤตนี้ไปพร้อมกัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า