ชำนาญ จันทร์เรือง – คณะก้าวหน้า https://progressivemovement.in.th Tue, 25 May 2021 04:33:41 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.8.9 https://progressivemovement.in.th/wp-content/uploads/2020/04/cropped-โลโก้คณะก้าวหน้า-png-01-2-32x32.png ชำนาญ จันทร์เรือง – คณะก้าวหน้า https://progressivemovement.in.th 32 32 รัฐมนตรีมอบนโยบายให้แก่ข้าราชการท้องถิ่นได้หรือไม่ ? https://progressivemovement.in.th/article/4397/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2590%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25b5%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%2599%25e0%25b9%2582%25e0%25b8%25a2%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a2%25e0%25b9%2583%25e0%25b8%25ab%25e0%25b9%2589%25e0%25b9%2581%25e0%25b8%2581 https://progressivemovement.in.th/article/4397/#comments Tue, 25 May 2021 04:33:40 +0000 https://progressivemovement.in.th/?p=4397 ผู้อ่านที่เห็นหัวข้อบทความชิ้นนี้แล้วอาจอุทานว่า “ […]

The post รัฐมนตรีมอบนโยบายให้แก่ข้าราชการท้องถิ่นได้หรือไม่ ? appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
ผู้อ่านที่เห็นหัวข้อบทความชิ้นนี้แล้วอาจอุทานว่า “อุวะ มอบได้สิ ทำไมจะมอบไม่ได้ ก็เป็นรัฐมนตรีนี่”

ผมขอบอกว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนะครับ เพราะที่ถูกต้องคือไม่ใช่รัฐมนตรีทุกคนจะสามารถมอบนโยบายให้แก่ข้าราชการท้องถิ่นหรือแม้แต่องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ได้ และรัฐมนตรีที่มอบนโยบายได้ก็ไม่ใช่มอบได้ทุกเรื่องแต่ต้องเป็นเฉพาะเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น และอำนาจที่ว่านั้นคืออำนาจในการกำกับดูแล ไม่ใช่อำนาจในการบังคับบัญชา

การควบคุมบังคับบัญชา (Controle Hie’rarchiue)

เป็นการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาที่มีเหนือผู้ใต้บังคับบัญชา(เจ้านายกับลูกน้อง)เพื่อควบควบคุมและตรวจสอบทั้งความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมหรือดุลพินิจของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยผู้บังคับบัญชามีอำนาจยกเลิกเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงการกระทำนั้นได้ ซึ่งในกรณีของการบริหาราชการแผ่นดินก็คือความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง(กระทรวง,ทบวง,กรม)กับราชการส่วนภูมิภาค(จังหวัด,อำเภอ)หรือภายในราชการส่วนกลางสังกัดเดียวกันหรือภายในราชการส่วนภูมิภาคด้วยกันเอง

การกำกับดูแล (Tutelle Administrative)

เป็นการใช้อำนาจของราชการส่วนกลางกับราชการส่วนภูมิภาคเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของราชการส่วนท้องถิ่น (อบจ., เทศบาล, อบต., กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา)ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีอำนาจไม่อนุมัติให้การกระทำนั้นมีผลบังคับหรืออาจยกเลิกเพิกถอนการกระทำนั้นแล้วแต่กรณี แต่ไม่มีอำนาจตรวจสอบความเหมาะสมหรือการใช้ดุลยพินิจหรือสั่งการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้ได้

ความแตกต่างระหว่างการควบคุมบังคับบัญชากับการกำกับดูแล

การควบคุมบังคับบัญชานั้นอำนาจของผู้บังคับบัญชาในการควบคุมการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นอำนาจทั่วไปที่เกิดจากการจัดระเบียบภายในหน่วยงานหรือส่วนราชการซึ่งเป็นไปตามหลักการบังคับบัญชา จึงไม่ต้องมีกฎหมายมาบัญญัติให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะในรายละเอียดอีก ผู้บังคับบัญชามีอำนาจควบคุมการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทั้งในเรื่องความชอบด้วยกฎหมาย(le’galite’)และควบคุมได้ความเหมาะสม(opportunite’)ซึ่งเป็นดุลพินิจ

ส่วนการกำกับดูแลนั้น อำนาจของผู้กำกับดูแลจะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะอย่างชัดเจน และผู้กำกับดูแลจะใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัตินั้นไม่ได้ ผู้มีอำนาจกำกับดูแลจะควบคุมได้เฉพาะเรื่องของความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปควบคุมในเรื่องความเหมาะสมหรือดุลยพินิจของการกระทำนั้น เพราะตามหลักการของการกระจายอำนาจ (de’centralisation) การเข้าไปควบคุมความเหมาะสมหรือการควบคุมดุลยพินิจคือการทำลายความเป็นอิสระของ อปท.นั่นเอง

กอปรกับหลักความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง(กระทรวง,ทบวง,กรม)และราชการส่วนภูมิภาค (จังหวัด,อำเภอ) กับราชการส่วนท้องถิ่น (อบจ., เทศบาล, อบต., กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา) ที่จะต้องมีความสัมพันธ์ในลักษณะของ “การกำกับดูแล” ไม่ใช่ในลักษณะ “การควบคุมบังคับบัญชา” หรือปฏิบัติต่อ อปท.เสมือนหนึ่งเป็นสาขาหรือส่วนหนึ่งของราชการส่วนภูมิภาคซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 250 วรรคท้ายที่บัญญัติว่า “…ต้องให้องค์กรปกครองมีอิสระในการบริหาร การจัดทำบริการสาธารณะ การส่งเสริมและสนับสนุนการการจัดการศึกษา การเงินและการคลัง และการกำกับดูแล อปท.ซึ่งต้องทำเพียงเท่าที่จำเป็น…”

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

1) การกำกับดูแลโดยกฎหมาย
วิธีนี้รัฐจะออกกฎหมายควบคุม อปท.ในรูปของการกำหนดหน้าที่ของ อปท.ว่าจะทำอะไรได้บ้าง อปท.จะดำเนินกิจการใดก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายของรัฐ เช่น การออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติ ฯลฯ ต้องเป็นไปตามกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้

2) การกำกับดูแลโดยการตรวจสอบ
วิธีนี้เจ้าหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาคในฐานะที่เป็นตัวแทนของส่วนกลาง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เป็นผู้ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามกฎหมายของ อปท. ผู้บริหารท้องถิ่น ตลอดจนสภาท้องถิ่น

3) การกำกับดูแลโดยรัฐบาลมีอำนาจยุบสภาท้องถิ่น หรือให้ผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง
วิธีนี้ถ้าสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกระทำการอันเป็นผลเสียหายต่อประชาชนหรือส่วนรวม หรือขัดต่อกฎหมาย รัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาท้องถิ่น หรือให้ผู้บริหารท้องถิ่นพ้นตำแหน่ง ซึ่งในหลายประเทศที่การปกครองท้องถิ่นเข้มแข็ง รัฐบาลจะไม่มีอำนาจที่ว่านี้ เพราะถือว่าประชาชนเลือกเขาเข้ามาเช่นกัน แต่จะใช้วิธีการฟ้องศาลแทน

4) การกำกับดูแลโดยวิธีให้เงินอุดหนุน
วิธีนี้โดยหลักแล้วหาก อปท.ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล หรือรัฐบาลได้ให้เงินอุดหนุนแก่ อปท.ใดแล้ว รัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะควบคุม หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินนั้นได้

5) การกำกับดูแลโดยระเบียบการคลัง
วิธีนี้จะเป็นในรูปของการกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับรายได้ ทรัพย์สิน งบประมาณ การเบิกจ่าย การตรวจสอบบัญชี ซึ่ง อปท.จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่กำหนด เช่น การจัดทำงบประมาณของ อปท.ต้องทำตามแบบและวิธีการที่กำหนด เป็นต้น

ที่ผ่านมาหลายๆ คน หรือแม้แต่คนของ อปท.เองก็ตามมักจะเข้าใจว่า อปท.นั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งผมขอยืนยันว่าโดยหลักการปกครองท้องถิ่นและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อปท.ไม่ได้สังกัดกระทรวงมหาดไทยและไม่ได้สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ(แล้วแต่กรณี) เท่านั้น

กระทรวงมหาดไทยหรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็น (สถ.) เพียง staff ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดก็เป็น staff ของผู้ว่าราชการจังหวัด มิใช่เป็นผู้บังคับบัญชาหรือต้นสังกัดของ อปท. เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นนิติบุคคล เป็นราชการส่วนท้องถิ่น มิใช่ราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่สังกัดกระทรวงทบวงกรมต่างๆ และที่สำคัญที่สุดผู้บังคับบัญชาสูงสุดขององค์กรปกครองท้องถิ่นใดก็คือผู้บริหารสูงสุดใน อปท.นั้นๆ ซึ่งก็คือ นายกฯทั้งหลาย และผู้ว่า กทม.แล้วแต่กรณี ฉะนั้น รัฐมนตรีทั้งหลาย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ฯลฯ จึงไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการท้องถิ่นแต่อย่างใด

แล้วรัฐมนตรีมอบนโยบายให้แก่ข้าราชการท้องถิ่นหรือ อปท.ได้หรือไม่ ?

คำตอบก็คือได้ เฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้กำกับดูแลตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นๆ และนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าของฝ่ายบริหารตามหลักของการจำแนกการใช้อำนาจอธิปไตย แต่จะมอบนโยบายได้เฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น

ส่วนรัฐมนตรีอื่น เช่น รมช.เกษตรฯไปมอบนโยบายแก่ข้าราชการท้องถิ่นในภาคเหนือจังหวัดหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ไม่สามารถทำได้ และอาจเข้าข่ายการประพฤติมิชอบ เพราะเป็นการทำการนอกเหนืออำนาจหน้าที่และขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 250 วรรคท้ายอีกด้วยนะครับ

The post รัฐมนตรีมอบนโยบายให้แก่ข้าราชการท้องถิ่นได้หรือไม่ ? appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
https://progressivemovement.in.th/article/4397/feed/ 3
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “นายกเทศมนตรี” และ “สมาชิกสภาเทศบาล” https://progressivemovement.in.th/article/3512/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2597%25e0%25b9%2581%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%25b0%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25b3%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2588%25e0%25b8%25ab%25e0%25b8%2599%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%2582%25e0%25b8%25ad https://progressivemovement.in.th/article/3512/#comments Mon, 01 Mar 2021 09:46:45 +0000 https://progressivemovement.in.th/?p=3512 พลันที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 12 มกราคม […]

The post บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “นายกเทศมนตรี” และ “สมาชิกสภาเทศบาล” appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
พลันที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 ที่ผ่านมาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาและผู้บริหารเทศบาลซึ่งเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย โดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้วันที่ 28 มีนาคม 2564เป็นวันเลือกตั้ง ก็ได้มีความเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคัก

แต่ด้วยเหตุที่โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของเทศบาลได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปค่อนข้างมาก ผมจึงจะนำมาเสนอเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจ

ปัจจุบันโครงสร้างของเทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรีนั้น มีโครงสร้างหลักที่คล้ายกับเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี แต่ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารของเทศบาลกับฝ่ายสภาเทศบาลเปลี่ยนแปลงไป

กล่าวคือ เทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรีนั้น นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงทั้งคู่ และในขณะเดียวกัน นายกเทศมนตรีสามารถมี “ผู้ช่วย” ได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ผู้ช่วยของนายกเทศมนตรีในรูปแบบนี้จะไม่ถูกเรียกว่า “เทศมนตรี” เนื่องจากตำแหน่งผู้ช่วยของนายกเทศมนตรีในระบบนี้จะถูกเรียกว่า “รองนายกเทศมนตรี” “เลขานุการนายกเทศมนตรี” และ “ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี”

สำหรับจำนวนของผู้ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 ตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรีโดยตรงนั้น จะมีได้เท่าใดก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเทศบาล และสิ่งนี้ทำให้เกิดข้อแตกต่างจากเดิมซึ่งสมาชิกสภาฯ (ส.ท.) นั้นจะเป็นผู้เลือกคณะเทศมนตรีมาปฏิบัติหน้าที่ในสามตำแหน่งดังกล่าวนั่นเอง

หน้าที่ของนายกเทศมนตรี

มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 ได้กำหนดไว้ ดังนี้

(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และเทศบัญญัติ

(2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล

(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี

(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

(5) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ

(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

ลักษณะการใช้อำนาจของนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงนี้แตกต่างจากการใช้อำนาจของนายกเทศมนตรีในรูปแบบที่ใช้ร่วมกันของคณะเทศมนตรีในสมัยก่อน กล่าวคือ นายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมีลักษณะการใช้อำนาจที่เด็ดขาดกว่า และเป็นผู้ใช้อำนาจแต่เพียงคนเดียว ไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจร่วมกับรองนายกเทศมนตรี

หน้าที่ของสภาเทศบาล

หน้าที่ของสภาเทศบาลที่สำคัญ ได้แก่

(1) หน้าที่ในการออกเทศบัญญัติ

(2) หน้าที่ในการสะท้อนความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาล

(3) หน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุลฝ่ายบริหาร

หน้าที่ประการแรก คือ หน้าที่ในการพิจารณา กลั่นกรอง และอนุมัติเทศบัญญัติต่างๆ ว่าควรบังคับใช้ในเขตเทศบาลหรือไม่ อย่างไร หน้าที่ในประการนี้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 ที่กำหนดว่า “เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อบทกฎหมาย…”

หน้าที่ประการที่สอง คือ หน้าที่ในการสะท้อนความต้องการของประชาชนในพื้นที่ อันเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของผู้แทนประชาชน เช่น รับฟังปัญหา ความต้องการ ความเดือดร้อน ตลอดจนข้อเรียกร้องหรือร้องเรียนต่างๆ ของประชาชนในเทศบาล แล้วนำข้อเรียกร้องหรือร้องเรียนเหล่านั้น เสนอต่อฝ่ายบริหาร หากบางเรื่องอยู่เกินขอบเขตอำนาจที่เทศบาลจะดำเนินการได้ สมาชิกสภาเทศบาลก็จะทำหน้าที่ในการประสานไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

การดำเนินการเพื่อให้ฝ่ายบริหารกระทำตามข้อเรียกร้องของตนนั้น อาจกระทำได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น การทำหนังสือยื่นแสดงปัญหาของประชาชนในเทศบาลผ่านไปยังนายกเทศมนตรี หรือกระทำในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การเป็นผู้นำเพื่อหารือและเสนอข้อร้องเรียนต่อผู้บริหารโดยตรงโดยมีประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในวาระโอกาสต่างๆ เช่น ในระหว่างการพบปะระหว่างผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และประชาชนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในทุกๆ ปี เป็นต้น

และหน้าที่ในประการสุดท้าย คือ หน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งสภาเทศบาลมีวิธีการในการตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างน้อย 3 วิธีได้แก่

(1) การตั้งกระทู้ถามฝ่ายบริหาร เพื่อให้ฝ่ายบริหารตอบกระทู้ที่ตนเห็นว่าเป็นปัญหาและให้ฝ่ายบริหารชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแนวทางเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546

(2) การตรวจสอบการทำงานโดยคณะกรรมการสามัญและวิสามัญของสภาเทศบาล คณะกรรมการสามัญและวิสามัญของสภาเทศบาล มีหน้าที่หลักในการกระทำกิจการใดๆ ตามที่สภามอบหมายให้ดำเนินการ เช่น สืบสวน สอบสวนข้อเท็จจริง ศึกษาถึงความเป็นไปได้ หรือลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่เทศบาล เป็นต้น และเมื่อได้ดำเนินการไปเช่นไร กรรมการดังกล่าวต้องรายงานผลการดำเนินงานนั้นให้สภาเทศบาลรับทราบด้วย

(3) การเสนอเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติในเขตเทศบาล ซึ่งกฎหมายได้เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิเข้ามาช่วยฝ่ายบริหารตัดสินใจในประเด็นที่สำคัญต่อเทศบาลได้ง่ายขึ้น ซึ่งการให้ความเห็นของประชาชนนี้จะสามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเสนอจากสมาชิกสภาเทศบาลเสียก่อน

ความสัมพันธ์ระหว่างนายกเทศมนตรีกับสภาเทศบาล

(1) นายกเทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรีจะต้องไม่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล

(2) รองนายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรี

(3) สภาเทศบาลไม่ได้ทำหน้าที่ในการเลือกฝ่ายบริหาร เพราะประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง

(4) การดำรงอยู่ของนายกเทศมนตรี ไม่ขึ้นอยู่กับสภาเทศบาล

(5) ในกรณีการรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาลนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องตั้งคณะกรรมการ จำนวน 15 คน เพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้ง โดยแก้ไข ปรับปรุง และยืนยันสาระสำคัญในร่างเทศบัญญัตินั้น เมื่อสภาเทศบาลได้รับร่างเทศบัญญัติฉบับที่ได้รับการแก้ไข ปรับปรุงตามกระบวนดังกล่าวจากฝ่ายของนายกเทศมนตรีแล้ว ให้สภาเทศบาลพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากสภาเทศบาลพิจารณาไม่แล้วเสร็จ หรือไม่เห็นชอบกับร่างเทศบัญญัติดังกล่าว ให้ร่างเทศบัญญัตินั้นตกไป แล้วให้ใช้เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปีที่แล้วไปพลางก่อน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งยุบสภาเทศบาล

นอกจากนี้กฎหมายยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยุบสภาเทศบาลได้ รวมถึงให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้อีกด้วย

จากที่กล่าวมาคร่าวๆ ข้างต้น คงจะพอที่จะมองเห็นภาพของบทบาทอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ของแต่ละฝ่ายที่มีต่อกัน ไม่มากก็น้อยนะครับ

The post บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “นายกเทศมนตรี” และ “สมาชิกสภาเทศบาล” appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
https://progressivemovement.in.th/article/3512/feed/ 1
คณะราษฎรกับการปกครองส่วนท้องถิ่น https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/832/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%2593%25e0%25b8%25b0%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a9%25e0%25b8%258e%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%259b%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%25aa%25e0%25b9%2588 https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/832/#comments Wed, 24 Jun 2020 04:59:16 +0000 https://progressivemovement.in.th/?p=832 ผมยืนยันทุกครั้งที่มีโอกาสเสนอความเห็น ไม่ว่าจะเป็นในเว […]

The post คณะราษฎรกับการปกครองส่วนท้องถิ่น appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
ผมยืนยันทุกครั้งที่มีโอกาสเสนอความเห็น ไม่ว่าจะเป็นในเวทีสัมมนาหรือการเรียนการสอน ตลอดจนการเขียนบทความทางวิชาการว่า “การปกครองท้องถิ่น” ในประเทศไทยที่แท้จริงเริ่มต้นในปี 2476 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 แม้ว่าจะได้มีพัฒนาการมาก่อนหน้านั้นบ้างแล้ว แต่ก็มิใช่การปกครองท้องถิ่นแต่อย่างใด

เหตุที่ยืนยันอย่างนั้น เนื่องเพราะการปกครองท้องถิ่น เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการกระจายอำนาจ ซึ่งมี “ลักษณะสำคัญ” คือ มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น “นิติบุคคล” แยกอิสระออกจากการบริหารราชการส่วนกลาง ทำให้มีสิทธิและอำนาจในการทำนิติกรรมและสัญญาต่างๆ ตลอดจนเป็นเจ้าของหรือถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณและรายได้เป็นของท้องถิ่นเอง มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง

ย้อนไปก่อนนั้น ในปี 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงมีพระราชดำริให้มีการทดลองจัดตั้งระบบสุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพ ต่อมาในปี 2448 ได้มีการขยายกิจการต่อไป โดยพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็น “สุขาภิบาลท่าฉลอม” จึงถือได้ว่าสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกในหัวเมืองของประเทศไทย โดยเจ้าหน้าที่ของสุขาภิบาลในขณะนั้น ได้แก่ บุคคลซึ่งทางราชการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้แก่ ผู้ว่าราชการเมือง นายอำเภอ กรรมการอำเภอ และกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้บริหารงานรับผิดชอบ เรียกว่า กรรมการสุขาภิบาล

ต่อมาได้ทรงขยายกิจการสุขาภิบาลไปยังหัวเมืองต่าง ๆ และในการนี้ก็ได้ตรา “พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลท้องถิ่น” ขึ้น กิจการสุขาภิบาลทำท่าจะแพร่หลาย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน กิจการสุขาภิบาลจึงสะดุดลงไป

อย่างไรก็ตาม สุขาภิบาลในครั้งนั้นยังมิใช่การปกครองท้องถิ่นแต่อย่างใด เพราะมิได้เข้าลักษณะสำคัญที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เป็นเพียงการให้พื้นที่มีโอกาสในการจัดการบริการสาธารณะ โดยเป็นการบริหารจากส่วนกลางหรือข้าราชการประจำที่ถูกส่งมาจากส่วนกลาง ไม่ใช่การกระจายอำนาจที่แท้จริง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า รัชกาลที่ 7 ได้ทรงปรึกษากับ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ว่าอยากจะให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาการจัดตั้ง “เทศบาล (municipality)” ขึ้นในประเทศไทย และในที่สุดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย นายอาร์ ดี เครก (Richard D. Craig) เป็นประธานกรรมการ และมี อำมาตย์เอกพระกฤษณาพรพันธ์, พระยาจินดารักษ์, บุญเชย ปิตรชาติ เป็นกรรมการ โดย คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าควรเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล” ขึ้น แต่ยังไม่ได้ทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ก็เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ นั่นคืการ “อภิวัฒน์สยาม” หรือ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี 2475

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง “คณะราษฎร” ได้เริ่มจัดวางรูปแบบและระเบียบการบริหารราชการของประเทศ ด้วยการประกาศใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 ซึ่งนำรูปแบบมาจากฝรั่งเศส โดยจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

นี่ถือเป็นการรองรับสถานะทางกฎหมายของราชการส่วนท้องถิ่นเป็นครั้งแรกในการบริหารราชการแผ่นดิน

ในส่วนของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น คณะราษฎรก็ได้มีการออกกฎหมายขึ้นไปในคราวเดียวกันคือ “พ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476” จึงส่งผลให้มีองค์กรปกครองท้องถิ่นตามหลักการปกครองท้องถิ่นที่ครบถ้วนเป็นครั้งแรก โดยประกอบไปด้วยฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาเทศบาลที่สามารถออกเทศบัญญัติได้ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีงบประมาณ มีทรัพย์สิน ฯลฯ

ในชั้นแรกมุ่งหวังที่จะให้มีการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเดียวและหวังจะให้มีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในทุกพื้นที่และทุก4,800 ตำบลในขณะนั้น โดยผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็คือ ปรีดี พนมยงค์ แกนนำคนสำคัญฝ่ายพลเรือนของคณะราษฎรนั่นเอง แม้ว่าในระยะเริ่มต้นจะสามารถจัดตั้งได้เพียง 35 แห่ง และก่อนสิ้นสุดของยุคคณะราษฎร ( ปี 2490) สามารถจัดจัดตั้งได้เพียง 117 แห่งในปี 2488ก็ตาม เนื่องเพราะสถานการณทางการเมืองในขณะนั้นมีความพลิกผันเกือบตลอดเวลาและประกอบกับการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็ถือว่าได้วางรากฐานของการปกครองท้องถิ่นขึ้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งก็เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ที่ต่อมาแม้จะเกิดการรัฐประหารปี 2490 ที่ทำให้มองว่าสิ้นสุดยุคคณะราษฎร แต่ในยุคที่ชีวิตจอมพล ป. พลิกผันกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก็ได้มีการฟื้นฟูระบบสุขาภิบาลโดยมีการตรา พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 เพื่อเร่งพัฒนาท้องถิ่นและเตรียมการยกระดับเป็นเทศบาลในอนาคต หากแต่การจัดตั้งสุขาภิบาลยังยึดรูปแบบและโครงสร้างสุขาภิบาลเดิมในสมัย รัชกาลที่ 5 ที่มีการแต่งตั้งข้าราชการประจำไปควบคุมสุขาภิบาล(local Government by Government Officials) และมีการตรา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 เนื่องจากองค์กรปกครองท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่จะอยู่แต่ในเขตเมืองเท่านั้น จึงตั้งเป็น อบจ.ที่มีสถานะเป็น นิติบุคคลแยกออกจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

นอกจากนั้นยังมีการออก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ.2499 เพื่อจัดจั้ง อบต.ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและสามารถดำเนินงานได้อย่างอิสระ โดย อบต.มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยสภาตำบลทำหน้าที่ออกข้อบัญญัติและทำหน้าที่ฝ่ายบริหารในรูปแบบคณะกรรมการตำบลที่มีกำนันเป็นประธานโดยตำแหน่ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนต้องมีการออก พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เสียใหม่ ซึ่งทั้งโครงสร้างของสุขาภิบาล, อบจ.และ อบต.ต่างถูกปรับโครงสร้างใหม่ตามผลของรัฐธรรมนูญฯปี 2540 ที่ให้ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งและแยกฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาฯ ออกจากกัน

แทนที่จะมาจากการแต่งตั้งเช่นในอดีต โดยมีการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลเสียทั้งหมดและออก พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 เสียใหม่เช่นกัน โดยกำหนดให้มี “นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด” เป็นการเฉพาะแทนการทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร อบจ. ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นข้าราชการส่วนภูมิภาคเช่นในอดีต

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า “คณะราษฎร” เป็นผู้ที่ทำให้การปกครองท้องถิ่นของไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและสมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักการของการปกครองท้องถิ่น สมควรที่เราจะได้ระลึกถึงคุณูปการนี้

The post คณะราษฎรกับการปกครองส่วนท้องถิ่น appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/832/feed/ 1
กระทรวงท้องถิ่นไม่ใช่คำตอบ https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/788/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25b0%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25a7%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%2597%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%2596%25e0%25b8%25b4%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%2599%25e0%25b9%2584%25e0%25b8%25a1%25e0%25b9%2588%25e0%25b9%2583%25e0%25b8%258a%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%2584 https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/788/#respond Mon, 08 Jun 2020 10:46:23 +0000 https://progressivemovement.in.th/?p=788 ปัญหาที่อึดอัดคับข้องใจของคนท้องถิ่นที่สั่งสมมานาน&nbsp […]

The post กระทรวงท้องถิ่นไม่ใช่คำตอบ appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
ปัญหาที่อึดอัดคับข้องใจของคนท้องถิ่นที่สั่งสมมานาน และเริ่มทวีขึ้นจนแทบระเบิดออกมา ในช่วงที่อยู่ภายใต้การยึดอำนาจของ คสช. นั่นเพราะมีการออกคำสั่งต่างๆ ที่เพิ่มอำนาจให้แก่กระทรวงมหาดไทย จนเป็นการทำหน้าที่เกินบทบาทของ “การกำกับดูแล(Tutelle Administrative)” แทบจะเป็น “การควบคุมบังคับบัญชา (Controle Hie’rarchiue)” ไปเกือบสมบูรณ์แบบแล้ว 

จึงมีความพยายามดิ้นรนของ “ท้องถิ่น” ที่จะ  “หลุดจากแอก” ที่หนักอึ้งนี้ไปให้ได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการพยายามที่จะจัดตั้ง “กระทรวงท้องถิ่น” หรือ “กระทรวงการปกครองท้องถิ่น” หรือในรูปแบบอื่น เช่น สภาท้องถิ่นแห่งชาติ, คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นแห่งชาติ ฯลฯ แยกออกมาจากกระทรวงมหาดไทย  

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้มีประเด็นข้อถกเถียงทางวิชาการอย่างมากว่า มีความเหมาะสมหรือถูกต้องตามหลักการการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นหรือไม่ อย่างไร ถ้ามีกระทรวงท้องถิ่น ควรให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ทำอะไร ถ้าไม่มีกระทรวงท้องถิ่น รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีกลไกอะไรสำหรับทำหน้าที่บริหารจัดการระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

อย่าลืมว่าในโลกนี้มีหลายประเทศมีการจัดตั้ง “กระทรวงท้องถิ่น” ซึ่งอาจจะใช้ชื่ออื่นแต่ทว่าก็มีหน้าที่เช่นเดียวกับกระทรวงท้องถิ่น ขณะเดียวกันก็มีหลายประเทศที่ไม่มีการจัดตั้ง “กระทรวงท้องถิ่น”  ทั้งๆ ที่ทุกประเทศในโลกนี้ต่างก็มีการปกครองท้องถิ่นด้วยกันแทบทั้งสิ้น   

สามารถแบ่งกลุ่มได้ 2 ประเภท ดังนี้  

1. ประเทศที่มีระบบการปกครองแบบกระจายอำนาจเต็มที่ 

ประเทศเหล่านี้พัฒนามาจากการรวมตัวของเมืองต่างๆ ซึ่งแต่ละเมืองเคยมีอิสระในการปกครองมาก่อน แต่ยอมสละอำนาจบางส่วนของตนก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลระดับชาติหรือส่วนกลางกับท้องถิ่น มีลักษณะของการแบ่งงานกันทำ โดยรัฐบาลระดับชาติจะทำหน้าที่หรือจัดทำบริการสาธารณะเพียงไม่กี่ประเภท โดยจะเป็นเฉพาะเรื่องในระดับชาติเท่านั้น ส่วนบริการที่เหลือที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนเกือบทั้งหมดเป็นหน้าที่ของท้องถิ่น  

ประเทศเหล่านี้มักจะไม่มีกระทรวงท้องถิ่น แต่หากจะมีก็จะทำหน้าที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญๆ ที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ โครงสร้างประเทศ ความรับผิดชอบและการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่น รวมถึงการนำทางในด้านความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น เป็นต้น (core policy issues relating to the constitution,structure,accountability and funding /leads the relationship between central and local government) ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น ,เกาหลีใต้,มาเลเซีย,ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร,นิวซีแลนด์,นอร์เวย์,สวีเดน เป็นต้น 

2.ประเทศที่มีระบบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ 

ประเทศในกลุ่มนี้แม้ว่าอาจจะมีการกระจายอำนาจบ้าง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่นจะอยู่ในลักษณะเป็นแนวดิ่ง ประเทศกลุ่มนี้มักจะมี “กระทรวงท้องถิ่น” หรือภายใต้ชื่อที่แตกต่างกันไป โดยอำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำกฎหมาย กฎ ระเบียบ มาตรฐานการบริการสาธารณะ / จัดสรรเงินอุดหนุนและเข้าไปทำหน้าที่จัดบริการสาธารณะแทน อปท.ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอ /ร่วมลงทุนหรือจัดทำข้อตกลงกับ อปท.ในการลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคตามนโยบายของรัฐ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ไทย, ตูนีเซีย, อูกานดา, แซมเบีย, ฟีจิ,ร วันดา, เลโซโธ, จาไมกา, กานา, อาฟริกาใต้, ซิมบับเว,แซมเบีย, บอสวานา, มอริเธียส,โคโซโว, มาซิโดเนียเหนือ,ศรีลังกา, ตรินิแดดและโตบาโก,   กิยานา ฯลฯ 

เหตุผลของฝ่ายที่อยากให้มีกระทรวงท้องถิ่นแยกจากระทรวงมหาดไทย 

ฝ่ายที่สนับสนุนให้เหตุผลว่าเพื่อรวบรวมเอาหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นต่างๆ ที่อยู่กระจัดกระจายตามส่วนราชการต่าง ๆ เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) จากกระทรวงมหาดไทย /สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) จากสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย/ สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน และเพื่อเป็นการแยกอำนาจจากกระทรวงมหาดไทยให้ชัดเจน โดยให้กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงภายในต่าง ๆ เช่น การรักษาความมั่นคงภายใน การปราบปรามยาเสพติด หรืองานรัฐพิธี ฯลฯ ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น  

ส่วนกระทรวงปกครองท้องถิ่น ให้มีหน้าที่ในการพัฒนา โดยมอบให้ อปท. พัฒนาท้องถิ่นของตนให้ดียิ่งขึ้น เพราะคนท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาของท้องถิ่นและแก้ปัญหาได้ตรงจุดกว่าส่วนกลางที่อยู่ไกลกว่า ฯลฯ 

เหตุผลของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกระทรวงท้องถิ่น 

การตั้งกระทรวงปกครองท้องถิ่น คือการนำท้องถิ่นเข้าไปสู่การบริหารราชการส่วนกลาง ที่มี รมต. ปลัดกระทรวง อธิบดี เพิ่มขึ้น มีผู้บังคับบัญชา ที่อาจมิใช่มีเพียงผู้กำกับดูแลที่มากขึ้น เส้นสายการบังคับบัญชาก็จะยาวขึ้น และการที่หวังว่าจะได้คนท้องถิ่นเข้าไปเป็นบุคลากรในส่วนกลางนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะจะต้องมีการโอนย้ายและเปลี่ยนประเภทของข้าราชการจากข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นไปเป็นข้าราชการหรือพนักงานสังกัดกระทรวงหรือกรมอื่น มิใช่เป็นข้าราชการหรือพนักงานของส่วนท้องถิ่นอีกต่อไป   

สรุป 

หลายๆ คนหรือแม้แต่คนของ อปท.เองก็ตามมักจะเข้าใจว่า อปท.นั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งผมขอยืนยันว่าโดยหลักการปกครองท้องถิ่นและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อปท.ไม่ได้สังกัดกระทรวงมหาดไทยแต่อย่างใด เพียงแต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ(แล้วแต่กรณี) เท่านั้น  

กระทรวงมหาดไทยหรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นเพียง staff ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดก็เป็น staff ของผู้ว่าราชการจังหวัด มิใช่เป็นผู้บังคับบัญชาหรือต้นสังกัดของ อปท.แต่อย่างใด  

ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือกระทรวงมหาดไทยและจังหวัดอำเภอ ปัจจุบัน เล่นบทบาทเกินกว่าการเป็นผู้กำกับดูแล แต่ไปทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชา จึงทำให้เกิดการอึดอัดขัดข้องจนต้องมีการเรียกร้องให้ตั้งกระทรวงใหม่ ซึ่งผมเห็นว่ามิใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง 

เพราะการแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็คือ ท้องถิ่นต้องกล้าโต้แย้ง ต่อสู้ หรือคัดค้านระเบียบ หนังสือสั่งการ ประกาศหรือคำสั่งที่ไม่ถูกต้องทั้งจากกกระทรวงมหาดไทยและจากกระทรวงอื่นๆ ด้วย แม้จะต้องไปฟ้องศาลปกครองก็ต้องทำ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป 

คำตอบสุดท้ายของผมก็คือ แทนที่จะตั้งกระทรวงใหม่ เราต้องรณรงค์ไปให้ถึงการเกิดขึ้นของจังหวัดจัดการตนเองที่เป็นการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคและเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงจากประชาชน ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจอย่างเต็มรูปแบบ  

แต่ในระหว่างทางที่ยังไปไม่ถึง การมี สภาท้องถิ่นแห่งแห่งชาติ ”อาจจะพอเป็นคำตอบได้บ้าง ซึ่งอาจจะดีขึ้นในแง่ของการบริหารบ้างหรือการใช้อำนาจบางประการ แต่สุดท้ายส่วนกลางหรือภูมิภาคก็ยังบีบรัดท้องถิ่นผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภออยู่ดี 

The post กระทรวงท้องถิ่นไม่ใช่คำตอบ appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/788/feed/ 0
มองญี่ปุ่น มองไทย (2020) “ท้องถิ่นที่เข้มแข็ง” สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศ https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/642/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%258d%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%259b%25e0%25b8%25b8%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%2599-%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587%25e0%25b9%2584%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25a2-2020-%25e0%25b8%2597%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587 https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/642/#respond Thu, 07 May 2020 12:02:26 +0000 https://progressivemovement.in.th/?p=642 ในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนในการยกร่าง พ.ร.บ.ระเบี […]

The post มองญี่ปุ่น มองไทย (2020) “ท้องถิ่นที่เข้มแข็ง” สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศ appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
ในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนในการยกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯและร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการจังหวัดจัดการตนเองฯ ผมมักจะยกตัวอย่างการปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นมาอธิบายประกอบอยู่เสมอ เพราะนอกจากความทรหดอดทน ความมีระเบียบวินัยแล้ว อย่างอื่นญี่ปุ่นแทบจะไม่มีอะไรเหนือกว่าไทยเลย เปิดประเทศก็หลังไทย รถไฟก็เข้ามาพร้อมๆ กัน มิหนำซ้ำยังตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม ซึ่งในเหตุการณ์นั้นก็โดนระเบิดปรมาณูถล่มที่ฮิโรชิมาและนางาซากิเสียหายอย่างยับเยิน แต่ทว่าปัจจุบันนี้กลับมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าไทยหลายเท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชีย มีรูปแบบของรัฐเป็นรัฐเดี่ยว และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีองค์พระจักรพรรดิหรือกษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย 

แต่ในการโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การบริหารราชการส่วนกลาง และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างจากไทยที่มีการบริหารราชการส่วนภูมิภาครวมอยู่ด้วย

การบริหารราชการส่วนกลาง

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ รัฐสภาเป็นระบบ 2 สภา ประกอบด้วยวุฒิสภา (House of Councilor) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) 

สภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 480 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบเขตละ 1 คน จำนวน 300 คน อีก 180 คน มาจากการเลือกตั้งในระบบสัดส่วน มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

ฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า ซึ่งมาจากหัวหน้าพรรคเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารประเทศร่วมกับคณะรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวงทั้งหมด 11 กระทรวง

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี  1947 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยคณะผู้ยึดครองของสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาจัดระเบียบทางการเมือง การบริหาร และระบบเศรษฐกิจ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ บัญญัติให้การปกครองท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบการปกครองของรัฐ และยังมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นเป็นการเฉพาะอีกด้วย นั่นคือ กฎหมายปกครองตนเองของท้องถิ่น (Local Autonomy Law) ซึ่งประกาศใช้ในปีเดียวกับรัฐธรรมนูญ

กฎหมายปกครองตนเองส่วนท้องถิ่นจัดระดับชั้นการปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นออกเป็น 2 ชั้น (Two-Teir System) คือ ระดับบน (Upper Tier) ได้แก่ จังหวัด (Prefecture) และ ระดับล่าง(Lower Tier) ได้แก่ เทศบาล (Municipal) จึงมีผลทำให้จังหวัดมีพื้นที่ในการดำเนินงานครอบคลุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลทั้งหมด ปัจจุบันมี 47 จังหวัด (รวมทั้งมหานครโตเกียวที่มีขอบเขตและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานที่มากกว่าจังหวัดปกติ) และ มีเทศบาล จำนวน 1,718 แห่ง

หลักการระบบการปกครองท้องถิ่นแบบ 2 ชั้นนี้ ระดับล่าง (Lower Tier หรือ Basic Tier) หรือเทศบาล เป็นพื้นที่แคบ (narrow area) แต่มีความสำคัญสูงสุด เพราะมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด 

ดังนั้น ในการจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชน ถือว่ากิจกรรมใดที่เทศบาลทำได้ ให้พิจารณากิจกรรมนั้นเป็นของเทศบาลก่อน ซึ่งหลักการนี้เรียกว่า “หลักเทศบาลสำคัญที่สุด(Municipality First Principle)” ทำให้ กิจกรรมบริการประชาชนส่วนใหญ่เทศบาลมักจะเป็นผู้รับผิดชอบ ยกเว้นกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเทศบาลจริงๆ หรือกิจกรรมที่จังหวัดสามารถทำได้ดีกว่าเท่านั้น จังหวัดจึงจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ส่วนระดับบนหรือระดับจังหวัด ถือว่าเป็นท้องถิ่นที่มีพื้นที่กว้าง (Wide Area Local Government) เป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อ (1) เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงท้องถิ่นระดับเทศบาลในพื้นที่จังหวัดเดียวกันเข้าด้วยกัน เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจเชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่ตั้งขึ้นเพื่อทำงานแข่งกับเทศบาล (2) เพื่อรับผิดชอบกิจกรรมที่มีขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันหลายเทศบาล และมีความสลับซับซ้อนจนท้องถิ่นระดับเทศบาลปฏิบัติไม่ได้ หรือปฏิบัติได้แต่ไม่ได้ผลดีเท่า (3) เป็นหมุดเชื่อมโยง (Linking Pin) ระหว่างท้องถิ่นกับระดับชาติ ทำให้ระบบบริหารราชการแผ่นดินสามารถบูรณาการกันทั้งประเทศ (4) เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการทำงานของท้องถิ่นระดับล่าง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ทั่วถึง เป็นธรรมและเพียงพอแก่ความจำเป็นในการดำรงชีวิต

อย่างไรก็ตาม จังหวัดและเทศบาลมีสถานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เท่าเทียมกัน เพียงแต่แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกัน ไม่ได้หมายความว่าเทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ภายใต้สังกัดจังหวัด ดังนั้น จังหวัดจึงมีอำนาจเพียงให้คำแนะนำและแนวทางแก่เทศบาลเท่านั้น ไม่สามารถใช้อำนาจสั่งการเทศบาลได้ 

อำนาจหน้าที่ของจังหวัด มีในเรื่องที่เกี่ยวกับ กิจการตำรวจซึ่งบริหารงานโดยคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ / การควบคุมดูแลโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การวางผังเมือง ถนนทางหลวง แม่น้ำ เคหะชุมชน ฯลฯ ซึ่งผังเมืองในหลายจังหวัดของเราหลายครั้งที่หมดอายุไปตั้งหลายปีแล้วประกาศใช้ใหม่ไม่ได้เพราะติดอยู่ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองที่นั่งเขียนอยู่ที่กรุงเทพ / บริหารจัดการโรงเรียนมัธยมปลาย การจัดสรรเงินเดือนและสวัสดิการของครู / สวัสดิการสังคม ได้แก่ สวัสดิการเด็ก สวัสดิการผู้สูงอายุ / การสาธารณสุขและอนามัย / การพาณิชย์และการอุตสาหกรรม เช่น การสร้างศูนย์อุตสาหกรรมเพื่อดึงดูดการลงทุน ฯลฯ

หัวหน้าฝ่ายบริหารของจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด (Governor) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี สามารถแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติงานได้ โดยต้องให้สภาจังหวัดให้การรับรองก่อนเข้ารับตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด มีในเรื่องที่เกี่ยวกับการเสนอร่างกฎหมายต่างๆ เพื่อให้สภาจังหวัดพิจารณา / การเสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้สภาจังหวัดอนุมัติและบริหารงบประมาณตามที่ได้รับการอนุมัติ / จัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าปรับต่างๆ แล้วส่งส่วนกลางประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์เก็บไว้บริหารจังหวัด (อัตราส่วนของแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน แล้วแต่ TOR ที่ทำกับรัฐบาล)

ตรงกันข้ามกับของไทยที่กรมสรรพากรเป็นผู้เก็บแล้วส่งกลับมาตามแต่ใครจะมีฝีมือในการล็อบบี้ โดยเหลือภาษีเล็กๆ น้อยๆ ให้ท้องถิ่นไว้แทะกระดูก เช่น ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือน (ปัจจุบันยกเลิกแล้วแต่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ยังบังคับใช้แก่ท้องถิ่นไม่ได้) ภาษีป้าย ฯลฯ แม้ว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 จะเคยบัญญัติให้ตั้งงบประมาณแผ่นดินให้ท้องถิ่นร้อยละ 35 แต่ รัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560 ก็แกล้งลืมไปเสีย ปัจจุบันงบประมาณ ปี 2563 ที่ให้ท้องถิ่นของไทยเราที่รวมแล้วรวมอีกยังอยู่ที่ประมาณ 29.47 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น น่าอายจีนที่ถึงแม้นว่าจะเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ยังคืนให้ท้องถิ่นถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลางเอาไปเพียง 40 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดของญี่ปุ่นยังมีอำนาจในการอนุมัติสัญญา จัดตั้ง บริหารกิจการสาธารณะและยุบเลิกกิจการสาธารณะ / แต่งตั้งและปลดรองผู้ว่าราชการจังหวัด (ซึ่งไทยเราทำไม่ได้ อย่าว่าแต่แต่งตั้งหรือปลดรองผู้ว่าฯ เลย ย้ายยังทำไม่ได้เลย ที่เชียงใหม่สมัย 20 กว่าปีมาแล้ว ผู้ว่าฯ กับรองไม่ถูกกัน ต่างคนต่างเส้นใหญ่ทั้งคู่ ย้ายก็ไม่ได้ ผู้ว่าฯ เลยไม่มอบงานให้ทำเสียอย่างนั้น รองก็เลยกินเงินเดือนฟรีโดยไม่มีงานทำ ) / แต่งตั้งและบริหารเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น / อำนาจในการยุบสภาจังหวัด ซึ่งบ้านเราเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ที่สำคัญที่ข้าราชการภูมิภาคทั้งหลายในปัจจุบันที่กังวลว่าเมื่อมีการรณรงค์ให้ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคก็คือจะเอาข้าราชการส่วนภูมิภาคไปไว้ไหน ซึ่งในเรื่องนี้ อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดของญี่ปุ่นจะดูแลข้าราชการที่สังกัดส่วนกลาง (ซึ่งน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหน่วยงานด้านวิชาการ) ที่ทำงานอยู่ในจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเป็นตัวแทนรัฐบาลกลาง เพื่อดำเนินกิจการแทนให้สำเร็จลุล่วงตามกฎระเบียบและแนวทางที่รัฐบาลกลางวางไว้เพราะจังหวัดมิใช่รัฐอิสระแต่อย่างใด ส่วนข้าราชการที่เหลือทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นข้าราชการที่สังกัดจังหวัดขึ้นการบังคับบัญชากับผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะถูกกลั่นแกล้งโยกย้ายข้ามประเทศเหมือนบ้านเรา

จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นเป็นรัฐเดี่ยวเหมือนกับเรา มีสถาบันกษัตริย์เช่นเดียวกับเรา ใช้ระบบรัฐสภาเช่นเดียวกับเรา แต่ที่แตกต่างจากของเรา คือ ไม่มีการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ สามารถแก้ไขได้อย่างฉับไว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับของไทยเราไม่ว่าจะเป็นปัญหาฝุ่นควันพิษที่ภาคเหนือ หรือปัญหาภัยภิบัติทั่วไป ตัวอย่างเช่น ประธานคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) คือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งรวบอำนาจการช่วยเหลือและงบประมาณอยู่ที่ส่วนกลาง ซึ่งต้องพึ่งพาการรายงานข้อมูลของข้าราชการ เช่น  มีผู้เข้าเกณฑ์ได้รับการช่วยเหลือกี่ครัวเรือนในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ ที่แย่กว่านั้นผู้ประสบภัยปีก่อนหน้าบางทียังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเลย 

นี่แสดงให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของการรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งแตกต่างจากญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิงที่ให้ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้ในระดับที่เป็นที่น่าพอใจ มิใช่รอการสั่งการส่วนกลางโดยผ่านราชการส่วนภูมิภาค

ตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งล่าสุด คือ กรณีของผู้ว่าราชการจังหวัดฮอกไกโด ในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ที่คนไทยชื่นชอบจนส่งข้อข้อความหรือโปสการ์ดไปแสดงความยินดีกันมากมาย แต่ก็น่าย้อนแย้งเป็นอย่างยิ่งเพราะเมื่อผมถามว่างั้นเราเลือกตั้งผู้ว่าฯ สำหรับประเทศไทยกันไหม กลับมีเสียงบอกว่ายังไม่พร้อมๆ

ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยเราจะต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้าแทนที่จะรวมศูนย์อำนาจอยู่แต่ในส่วนกลาง เพราะการรวมศูนย์อำนาจก็คือการรวมปัญหาเข้ามา หากเราแก้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจนี้ได้ ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งก็คือการป้องกันการรัฐประหารได้อย่างชะงัด เพราะประเทศไทยที่ผ่านมา หากสามารถเคลื่อนรถถังเก่าๆไม่กี่คันยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก็สามารถยึดอำนาจได้แล้ว เพราะอำนาจมันรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง 

แต่หากเราให้อำนาจไปอยู่ที่ท้องถิ่นทั่วประเทศ รถถังก็ยึดได้แค่อาคารสถานที่ แต่จะยึดอำนาจการบริหารไปทั้งหมดเหมือนที่ผ่านมาย่อมทำไม่ได้ 

ดังตัวอย่างของญี่ปุ่นที่ผมได้ยกตัวอย่างมานี้ ข้อเท็จจริงคือว่าตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายให้อำนาจแก่ท้องถิ่น ญี่ปุ่นไม่เคยมีการยึดอำนาจเลย เพราะอำนาจไม่ได้รวมศูนย์อยู่ที่เมืองหลวงที่เดียวเหมือนของไทย

“ยุติระบบราชการรวมศูนย์ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น” ผมพร้อมแล้ว คุณล่ะพร้อมหรือยัง

The post มองญี่ปุ่น มองไทย (2020) “ท้องถิ่นที่เข้มแข็ง” สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศ appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/642/feed/ 0
ร่าง พ.ร.บ.จังหวัดจัดการตนเอง ฯ ช้าหรือเร็วต้องเกิดขึ้น https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/442/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%25a3%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2587-%25e0%25b8%259e-%25e0%25b8%25a3-%25e0%25b8%259a-%25e0%25b8%2588%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%25ab%25e0%25b8%25a7%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2594%25e0%25b8%2588%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2594%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%2595 https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/442/#comments Wed, 22 Apr 2020 09:38:52 +0000 https://progressivemovement.in.th/?p=442 จากการที่ จ.บุรีรัมย์และอุทัยธานี ตามด้วยกรุงเทพมหานคร […]

The post ร่าง พ.ร.บ.จังหวัดจัดการตนเอง ฯ ช้าหรือเร็วต้องเกิดขึ้น appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
จากการที่ จ.บุรีรัมย์และอุทัยธานี ตามด้วยกรุงเทพมหานคร และตามมาอีกหลายๆ จังหวัด  มีมาตรการปิดเมืองเพื่อสู้โควิด-19 ได้จุดกระแสของการจัดการตนเองของจังหวัดต่างๆ ให้คึกคักดังขึ้นอีกครั้งหนึ่ง 

อันที่จริงแล้วกระแสการขับเคลื่อนของการจัดการตนเองหรือการกระจายอำนาจของไทยนั้นมีมาโดยตลอดตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน  โดย 30-40 กว่าปีแล้วที่ ไกรสร ตันติพงศ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จ.เชียงใหม่ ได้เสนอแนวความคิดที่จะให้เชียงใหม่มีกฎหมายเป็นของตนเอง แต่ไม่ได้มีการยกร่างหรือเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด ตามมาด้วย ถวิล ไพรสณฑ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และธเนศวร์ เจริญเมือง ก็ออกมารณรงค์ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างรุนแรง

ที่เกือบจะเป็นมรรคผลก็ตอนพรรคพลังธรรมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ แต่ก็ถูกต่อรองจนต้องเติมในประโยคท้ายว่า ในจังหวัดที่มีความพร้อม

และในที่สุดก็ยังไม่บังเกิดผลอันใดเลยจวบจนกระทั่งปัจจุบันเพราะฝ่ายที่ยังหวงอำนาจต่างก็อ้างว่ายังไม่พร้อมๆเว้นแต่กรุงเทพมหานครซึ่งดำเนินการไปก่อนแล้วโดยไม่เกี่ยวกับข้อเสนอที่ว่านี้

ในส่วนของภาคประชาสังคม เริ่มมีการเคลื่อนไหวในรูปแบบของ “ชุมชนพึ่งตนเอง” ตั้งแต่ปี 2551 โดยมีการจัดเวทีเล็กๆ พร้อมกับการลงมือปฏิบัติจริงนำโดย สวิง ตันอุด, ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ และคณะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรากฐานหนึ่งของพัฒนาการแนวความคิดจากชุมชนสู่ “ตำบลจัดการตนเอง” “อำเภอจัดการตนเอง” จนมาเป็น “จังหวัดจัดการตนอง” ในปัจจุบัน

จาก...ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครถึง...บริหารจังหวัดปกครองตนเอง

จุดเปลี่ยนสำคัญคือปี 2552 ที่เกิดวิกฤตทางการเมืองว่าด้วยเรื่องสีเสื้อ จนเกิดการรวมตัวของคนเสื้อเหลืองและแดงบางส่วนเพื่อแก้ไขวิกฤตของเชียงใหม่ หลังเกิดการปะทะกันจนทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดแทบพังพินาศ โดยร่วมกันวิเคราะห์ถึงเหตุของปัญหา ว่าเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจการเมืองการปกครองและการตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลาง ทำให้ท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการตัดสินในแก้ไขปัญหาของตนเอง ทั้งนี้ มีพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามเวทีต่างๆ อยู่เสมอ 

จวบจนเดือนมกราคม 2554 จึงได้มีมอบหมายให้ผมเป็นแกนนำในการยกร่าง ...ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯ บนพื้นฐานของ สิทธิในการจัดการตนเอง (Self Determination Rights )และประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) ขึ้นมา และได้รวบรวมรายชื่อประชาชนกว่า 1 หมื่นคนเสนอต่อประธานรัฐสภา ซึ่งร่าง พ.ร.บ. นี้มีหลักการสำคัญ ได้แก่

1. ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

เหลือเพียงราชการส่วนกลาง และราชการส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ โดยราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการกำหนดแนวนโยบาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ การจัดงบประมาณ การคลัง การจัดการบริหารบุคลากร ได้ครอบคลุมทุกเรื่องยกเว้น 4 เรื่องหลัก คือ การทหาร ระบบเงินตรา การศาลและการต่างประเทศ โดยแบ่งการปกครองเป็น 2 ระดับ (two tiers) แบบญี่ปุ่น คือ ระดับบน (เชียงใหม่มหานคร) และระดับล่าง (เทศบาล) ทำให้สามารถดูแลครอบคลุมเต็มพื้นที่โดยทั้ง 2 ระดับมีการบริหารที่อิสระต่อกันเป็นลักษณะการแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน

2. ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส

มีคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ระบบการตรวจสอบ มีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างดุลยภาพ 3 ส่วน คือ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร  สภาเชียงใหม่มหานคร และสภาพลเมือง (civil juries หรือ citizen juries) รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจโดยตรงในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ตรวจสอบการทำงานหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่าง ๆ เช่น สภาพลเมือง การไต่สวนสาธารณะ ฯลฯ

3. ปรับโครงสร้างด้านภาษี

โดยภาษีทุกชนิดที่เก็บได้ในพื้นที่ จะส่งคืนรัฐบาลส่วนกลาง  ร้อยละ 30 และคงไว้ที่จังหวัดร้อยละ 70 

ประจวบเหมาะกับการที่ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) ที่มี อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานได้สรุปมติเมื่อ 18 เมษายน 2554 ว่า หากจะปฏิรูปประเทศไทยให้สำเร็จต้องยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคและปฏิรูปการจัดการเกี่ยวกับที่ดิน 

กระแสการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคจึงได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง แต่น่าเสียดายที่กระแสการปฏิรูปที่ดินกลับไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร

หลังจากนั้น จังหวัดต่างๆ ซึ่งนับได้ 58 จังหวัด ได้มีการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาทิ ปัตตานีมหานคร ระยองมหานคร ภูเก็ตมหานคร ฯลฯ และในที่สุดคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)ได้มีแนวความคิดที่จะเสนอ ร่าง...บริหารจังหวัดปกครองตนเองฯ เพื่อที่จะใช้เป็นกฎหมายกลางสำหรับทุกๆ จังหวัด โดยจะได้ไม่ต้องไประดมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายแบบที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการมา โดยตั้งใจกันไว้ว่าจะมีการรณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 24 มิถุนายน 2557 

แต่…. น่าเสียดาย ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯ ซึ่งถึงมือประธานรัฐสภาแล้วนั้นไม่ได้ถูกพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.บริหารจังหวัดปกครองตนเองฯ ซึ่งจะมีการณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 24 มิถถุนายน 2557 ไม่อาจเกิดขึ้น เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจะไม่มีโอกาสพิจารณาในรัฐสภา หรือรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 จะไม่ได้เปิดโอกาสให้มีการเสนอกฎหมายในลักษณะนี้ได้อีก เพราะไม่เข้ากับหมวดสิทธิเสรีภาพหรือหมวดหน้าที่ของรัฐ จะเสนอได้แต่เพียงช่องทางผ่านคณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 20 คนขึ้นไปก็ตาม หากแต่การขับเคลื่อนก็ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดประชุมสภาพลเมืองเชียงใหม่ หรือเชียงราย, การจัดเวทีแลกเปลี่ยนหรือสรุปบทเรียนต่างๆ  ฯลฯ 

นวัตกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อน

การขับเคลื่อนของจังหวัดจัดการตนเองที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จสูงและได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็วนั้นสามารถพิจารณาได้ ดังนี้

1. การขับเคลื่อนใช้รูปแบบการนำหมู่ ไปด้วยกัน ไม่มีแกนนำเดี่ยวหรือพระเอกที่จะขาดคนใดคนหนึ่งไปไม่ได้ มีลักษณะที่สามารถทดแทนและสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน

2. การขับเคลื่อนใช้วิธีการรวมประเด็นย่อยทั้งหมดมาอยู่ในประเด็นใหญ่ คือ การจัดการตนเอง เพราะในองคาพยพของเครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง ต่างมีเครือข่ายเชิงประเด็นเป็นแขนขา หากแต่ละเครือข่ายมุ่งเพียงประเด็นของตนเอง ย่อมยากที่จะผลักดันทั้งประเด็นรวมและประเด็นย่อยของตนเองได้ 

3. เป็นการรวมของผู้ที่มีความคิดทางการเมืองต่างขั้วแต่มีประเด็นร่วมกัน คือเรื่องของการกระจายอำนาจ ฉะนั้น ในการขับเคลื่อนจึงมีการหลีกเลี่ยงหรือมีการถนอมน้ำใจกันและกันในเรื่องของความเห็นทางการเมือง เพราะในเรื่องของโครงสร้างอำนาจในระดับบนนั้น ข้อถกเถียงไม่เป็นที่ยุติ ยากที่จะเห็นพ้องร่วมกันได้ง่าย แต่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจนั้น ทุกสี ทุกฝ่าย ต่างเห็นพ้องต้องกันเพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการจัดการเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง (Self Determination Right) ที่ทั่วโลกและสหประชาชาติให้การรับรอง และการกระจายอำนาจจะเป็นคำตอบของการปรองดองและสมานฉันท์ เพราะทุกฝ่ายทุกสีมีผลประโยชน์ร่วมกัน 

การริเริ่มของกระบวนขับเคลื่อนเชียงใหม่มหานครหรือเชียงใหม่จัดการตนเองนั้นได้เป็นตัวอย่างที่สถาบันการศึกษาสถาบันที่ทำงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งฯลฯนำไปศึกษากันอย่างกว้างขวางและมีผู้ศึกษาวิจัยได้ลงพื้นที่มาสัมภาษณ์สอบถามกันอยู่อย่างต่อเนื่อง

4.มีการยกร่าง พ.ร.บ.ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังมีการกำหนดกรอบระยะเวลา (time frame) อย่างชัดเจน ทำให้การขับเคลื่อนมีพลังอย่างยิ่ง

5. มีการใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ ฯลฯ ควบคู่ไปกับการใช้รูปแบบดั้งเดิมอย่างการจัดเวทีเสวนา บรรยาย อภิปราย ระดมความเห็น ฯลฯ

6. ได้รับการสนับสนุนจากสื่อมวลชนเป็นอย่างดี ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีอิทธิพลและแพร่หลายมากก็คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการตนเองมาก รวมถึงสถานีโทรทัศน์วอยส์ทีวี ที่เชิญแกนนำไปออกรายการในเรื่องนี้อยู่เสมอ

แนวร่วมมุมกลับ

อาจจะเนื่องเพราะความหวาดกลัวจนเกินกว่าเหตุของกลุ่มอนุรักษ์นิยมดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ที่เกรงว่าจะกระทบกับสถานภาพของตนเอง จึงได้พยายามออกมาต่อต้าน ซึ่งกลับกลายเป็นโอกาสที่เครือข่ายของการขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเองจะได้มีโอกาสอธิบาย และชี้แจงได้แพร่หลายในข้อสงสัยต่างๆ เป็นต้นว่า 

เป็นการแบ่งแยกรัฐ / กระทบต่อความมั่นคง / รายได้ท้องถิ่นยังไม่เพียงพอ / อบจ., อบต., เทศบาลจะมีอยู่หรือไม่ / จะเอาข้าราชส่วนภูมิภาคไปไว้ไหน,นายอำเภอยังมีอยู่หรือไม่ /เขตพื้นที่อำเภอตำบลหมู่บ้านจะหายไป / กำนันผู้ใหญ่บ้านยังคงมีอยู่หรือไม่  หากยังคงมีอยู่จะมีบทบาทอะไร / ประชาชนยังไม่พร้อมยังไม่มีการศึกษาที่ดีพอ / นักเลงครองเมือง / ซื้อสิทธิขายเสียง / ทุจริตคอรัปชัน, เปลี่ยนโอนอำนาจจากอำมาตย์ใหญ่ไปสู่อำมาตย์เล็ก / ผิดกฎหมายฯลฯ 

เหล่านี้นั้น เพียงแต่พิมพ์คำว่า “เชียงใหม่มหานคร” หรือ “จังหวัดจัดการตนเอง” หรือ “ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค”  เข้าไปในกูเกิล (Google) ก็จะพบคำอธิบาย จึงยิ่งทำให้เพิ่มแนวร่วมมากขึ้นไปอีก (ดูคำอธิบายเรื่องมายาคติและข้อสงสัยต่างๆได้ที่ https://prachatai.com/journal/2012/07/41425)

สถานะของการขับเคลื่อนล่าสุด

ผมได้มีโอกาสเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าจะเป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆ เพราะต้องหมดสมาชิกภาพจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคซึ่งผมเป็นหนึ่งในนั้น เมื่อ21 กุมภาพันธ์ 2563

แต่อย่างไรก็ตาม ในก่อนหน้านั้น ผมได้มีโอกาสยกร่าง ...ระเบียบบริหารราชการจังหวัดจัดการตนเอง.…. แล้วนำเสนอให้ คณะอนุกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่นและการกระจาย ซึ่งมีผมเป็นประธานฯ พิจารณาเป็นรายมาตรา ทั้งนี้ ได้มีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ มาให้ความเห็น เช่น สภาความมั่นคงแห่งชาติ, กอ.รมน., สมาคมนักปกครองฯ, สมาคม อบจ. ฯลฯ โดยคาดว่า จะนำเข้าเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรผ่านทางคณะกรรมาธิการฯ ในสมัยประชุมหน้า 

น่าเสียดายที่ต้องพ้นจากหน้าที่ไปเสียก่อน แต่อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมาธิการฯ ชุดใหม่ ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้เป็นการเฉพาะอยู่อีกต่อไป เพราะมีการสับเปลี่ยนตัวอนุกรรมาธิการหลายตำแหน่ง

สรุป

แม้ว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2560 จะไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก แต่ก็ได้มีการพูดถึงเรื่องของการปกครองตนเองไว้ในมาตรา 249 ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนต่อได้ และการที่ร่างกฎหมายที่เสนอไป ก็ได้มีโอกาสเข้าไปพิจารณาในชั้นอนุกรรมาธิการฯ ซึ่งถือได้ว่าประเด็นนี้ได้ถูกจุดติดเป็นรูปธรรมแล้ว 

ช้าหรือเร็วมากหรือน้อยร่าง...จังหวัดจัดการตนเองก็ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

The post ร่าง พ.ร.บ.จังหวัดจัดการตนเอง ฯ ช้าหรือเร็วต้องเกิดขึ้น appeared first on คณะก้าวหน้า.

]]>
https://progressivemovement.in.th/article/progressive/chamnan/442/feed/ 1