และแล้วอำนาจ ส.ว. ขี่คอ ส.ส. ก็ปรากฏ ! นี่ไม่ใช่ข้อเรียกร้อง “แก้รัฐธรรมนูญ” ของประชาชนแน่ๆ

9 กันยายน 2564

ในที่สุดก็เดินทางมาถึง วาระ 3 สำหรับเรื่องราวของการ “แก้รัฐธรรมนูญ”

ซึ่งในที่นี้คือการลงมติเห็นชอบ ร่างรัฐธรรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ….. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91)

สรุปง่ายๆ คือ เป็นการแก้เรื่อง “ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.”

มาตรา 83 จำนวนสมาชิก จากปัจจุบันที่มี ส.ส. 500 คน แบ่งเป็นแบบเขต 350 คน และบัญชีรายชื่อ 150 คน ก็แก้ไขเป็นแบบแบ่งเขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน

มาตรา 91 การคำนวนจำนวน ส.ส.ของพรรคการเมือง จากปัจจุบันใช้บัตรใบเดียวคำนวนแบบจัดสรรปันส่วนผสม ก็แก้ไขกลับไปเป็นแบบรัฐธรรมนูญปี 2540 คือ บัตรสองใบ

ข้อโต้แย้งของแต่ละฝ่าย เหตุผลของแต่ละฝั่ง คิดว่าคงได้ยินได้ฟังกันมาบ้างแล้วในการอภิปรายวาระ 1 และ วาระ 2

รวมถึงที่ออกมาปะ ฉะ ดะ กันเป็นสีสันตามหน้าสื่อก็มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ แบบไหนมีน้ำหนัก แบบไหนน่าสนับสนุนกว่า ไม่ใช่ประเด็นพูดกันตรงนี้

เพราะที่อยากชี้ให้เห็น อยากชวนให้คิดถึงคือเรื่อง “อำนาจ ส.ว.” และข้อเรียกร้องเรื่อง “แก้รัฐธรรมนูญ” ของประชาชน ซึ่งพวกเขาอาจจะหัวเราะอย่างขมขื่นและสมเพชอยู่ในทีว่า ที่ชุมนุมและบอกว่าให้แก้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช่แบบนี้

ไม่ใช่แค่เรื่อง “ระบบเลือกตั้ง” แน่ๆ

เรื่องแรก “อำนาจ ส.ว.” ที่เคยร้อง เคยเตือนอยู่เรื่อยๆ ว่ากติกาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นอยู่นี้ มันให้อำนาจ ส.ว.ที่ไม่ได้มีส่วนยึดโยงอะไรเลยกับประชาชนอย่างมาก

มากเสียจนกล่าวได้ว่า ทำให้พวกเขา 250 คน เป็นผู้กุมชะตากรรมกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นผู้ที่ “ออกใบอนุญาต” ว่าจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่

ซึ่งในการผ่านวาระ 3 นี้…

ข้อที่ว่าเสียงเห็นชอบของสมาชิกรัฐสภามากกว่ากึ่งหนึ่งนั้นไม่น่าจะยากเย็น, ข้อที่ว่ามีเสียง ส.ส.ฝ่ายค้านเห็นชอบด้วยไม่ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ก็ไม่น่าจะยากเย็น แต่ข้อที่ว่า ต้องมีเสียง ส.ว.เห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ตรงนี้แหละอาจมีปัญหา

อย่างสถานการณ์ตอนนี้ ก็น่าจะพูดได้ว่า “และแล้วอำนาจ ส.ว.ขี่คอ ส.ส. ก็ปรากฏ”

แล้วไม่ได้ “ขี่คอ” เล่นๆ หรืออยู่เฉยๆ ด้วย แต่ยัง “เบิ๊ดกะโหลก” ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เล่นแง่ ต่อรอง อย่างไม่ละอาย ไม่สำเหนียกเลยว่าอำนาจที่ตัวเองได้มานั้นมันชอบหรือไม่ อย่างไร

และนี่แหละที่โยงไปถึงข้อเรียกร้องของระชาชน ผู้ชุมนุมกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่มีการพูดถึงเรื่อง “แก้รัฐธรรมนูญ” หรือแม้แต่ “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่” ซึ่งประเด็นสำคัญคือ เอา “ส.ว.ลากตั้ง” ออกไป ใช้ระบบ “สภาเดียว”

ประเด็นสำคัญที่ควรต้องแก้ไขสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีอะไรอีก ?

เรื่องแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศอยู่ฝ่ายเดียว ที่ควรต้องยกเลิก จะมามัดรัดตรึงให้ต้องทำตามโดยไม่ดูสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปไม่ได้

เรื่องศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระต่างๆ ที่มาของคนเหล่านี้ประชาชนไม่ได้มีส่วน ไม่ได้ยึดโยงประชาชนเลยแม้แต่น้อย แต่ขณะเดียวกัน “อำนาจ” ขององค์กรอิสระกลับล้นฟ้าจนน่าตกใจ

หรือแม้แต่ มรดกตกค้างของ คสช. ที่ยังคงอยู่กับเรา พวกบรรดาประกาศหรือคำสั่งต่างๆ ก็ต้องจัดการ

แต่ก็อย่างที่บอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้ ประชาชนอย่างเราอาจทำได้แค่เพียง “หัวเราะอย่างขมขื่นและสมเพชอยู่ในที” เนื่องจากสุดท้ายแล้ว ผู้มีอำนาจในรัฐสภากลับเลือกที่จะแก้ไขกันแต่เพียงเรื่อง “ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.” เท่านั้น

ซึ่งนี่ไม่ใช่ข้อเรียกร้องให้มีการ “แก้รัฐธรรมนูญ” ของประชาชนแน่ๆ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า