จาก 19 พฤษภาคม 2538 รัฐบาลชิงยุบสภา ถึง 19 พฤษภาคม 2553 รัฐบาลสลายชุมนุม มองเปรียบเทียบบทบาทรัฐบาลปัจจุบัน

19 พฤษภาคม 2564

ปฏิทินประวัติศาสตร์การเมืองไทย
บันทึกไว้เหตุการณ์สำคัญซึ่งเกิดในวันที่ 19 พฤษภาคม
หากแต่ว่าเป็นคนละปี หนึ่งคือ เหตุการณ์รัฐบาล ชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภา
และอีกหนึ่งคือรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สลายชุมนุมในการชุมนุมของคนเสื้อแดง
ที่ตลอดเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยและบาดเจ็บกว่า 2,000 คน

มีความเหมือน และความต่างอยู่ใน 2 เหตการณ์ ของ 2 วันนี้ ในอดีตที่น่าคิดรวมถึงเทียบกับปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันก็มีตัวละครการเมืองร้อยรัดโยงใย สลับขั้วกันไปกันมา จนทำให้น่าตั้งคำถามว่า ที่สุดแล้วเขาตั้งใจมาทำเพื่อประชาชน หรือปกป้องผลประโยชน์ของตนเองกันแน่ ?

วันนี้เมื่อ 26 ปีที่แล้ว ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ ชิงยุบสภาก่อนที่จะมีการ “ลงมติ” ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม. ทั้งคณะ ภายหลังจากที่โดนขุดอย่างหนักและต่อเนื่องในกรณีของนโยบายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “ส.ป.ก.4-01”

วันนี้เมื่อ 11 ปีที่แล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันที่จะไม่ยุบสภา ทั้งๆ ที่ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมในตอนนั้นคือง่ายแสนง่าย คือให้รัฐบาลยุบสภา คืนอำนาจให้กับประชาชน หลังมีการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ส.ส.กลุ่มหนึ่ง ย้ายขั้วไปหนุนอภิสิทธิ์เป็นนายก ซึ่งไม่ใช่มติของประชาชนในการเลือกตั้งที่ผ่านมา

ในกรณี “ส.ป.ก.4-01” ตัวละครสำคัญนั้น ก็ได้แก่ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ดำเนินนโยบาย ดังกล่าว โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีรัฐมตรีว่าการคือ นิพนธ์ พร้อมพันธ์ุ และรัฐมนตรีช่วยว่าการคือ สุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นผู้ดูแลนโยบายนี้เป็นหลัก

พรรคฝ่ายค้าน โดยเฉพาะ “กลุ่ม 16” ที่นำโดย เนวิน ชิดชอบ เริ่มตรวจสอบ ขุดคุ้ยความไม่ชอบมาพากลของนโยบายนี้ พบว่ามีการแจกที่ดินให้กับนายทุน เศรษฐี ไม่ใช่คนยากจน โดยเฉพาะที่ฮือฮาสุดเป็นกรณีที่ดินใน จ.ภูเก็ต ซึ่ง ทศพร เทพบุตร สามีของ อัญชลี วานิช เทพบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จ.ภูเก็ต และผู้ช่วยเลขานุการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับแจกด้วย

กระทั่ง นำมาสู่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งแรกช่วงปลายปี 2537 อภิปรายรัฐมนตรีรายบุคคล คือ นิพนธ์ และสุเทพ จนต้องลาออกจากตำแหน่ง และอีกครั้งคือ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ ระหว่าง 17 -19 พฤษภาคม 2538 รัฐบาลไม่สามารถตอบคำถามและให้ความชัดเจนได้ ทำให้ก่อนมีการลงมติไม่ไว้วางใจ พรรคพลังธรรมซึ่งเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลเรียกประชุมด่วน และมีมติพรรคว่าจะ “งดออกเสียง” และเตรียมให้รัฐมนตรีในสังกัดของพรรคลาออก ทำให้ในท้ายที่สุด 19 พฤษภาคม 2538 นายกรัฐมนตรีตัดสินใจประกาศยุบสภา

บทบาทของรัฐบาล บทบาทของพรรคร่วมรัฐบาลในยุคนั้น แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับบทบาทของรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาลเวลานี้ ที่แม้จะถูกเปิดเผยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะ กรณีคุณสมบัติรัฐมนตรีติดคุกเพราะค้ายาเสพติด, กรณีขบวนการจัดซื้อที่ดินในเขตอุตสาหกรรมพิเศษจะนะ, กรณีบ้านพักหลวงของนายก ฯลฯ แต่ก็เหมือนว่ารัฐบาลจะดื้อดึงไม่ไปสู่จุดที่เรียกว่ายุบสภา รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังจะดึงดัน ลงมติ “ไว้วางใจ” และอยู่ร่วมกันต่อไปอย่างไม่ละอายใจ

ขณะที่ในกรณี “สลายชุมนุม” ตัวละครสำคัญ ก็ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากที่พรรคพลังประชาชนที่ชนะเลือกตั้งถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบ โดย สุเทพ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ผู้ที่เคยถูกเนวินอภิปรายเรื่อง “ส.ป.ก.4-01” จนกระเด็นจากตำแหน่ง เป็นผู้ที่ไปจัดการ ทาบทามให้ ส.ส.กลุ่ม “เพื่อนเนวิน” ย้ายขั้วมาสนับสนุนอภิสิทธิ์

เป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมของประชาชน ในเดือนเมษายน 2552 ที่ผู้ชุมนุมต้องพ่ายแพ้ไป และกลับมาใหม่ในเดือนเมษายน 2553 รัฐบาลจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยมีสุเทพเป็นผู้อำนวยการ สุดท้ายก็นำมาสู่การสลายชุมนุมโดยทหาร กระสุนจริง และรถถัง ต่อเนื่องตั้งแต่ 10 เมษายน 2553 สิ้นสุด 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นวันที่แกนนำประกาศยุติการชุมนุม

จากข้อเรียกร้องเพียงแค่ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ลงเอยด้วยการสลายชุมนุม ผลลัพธ์คือมีคนตายกลางเมืองนับร้อย และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน แต่กระนั้น รัฐบาลหลังเหตุการณ์นี้ก็ยังคงอยู่ต่อไป พร้อมกับตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการปรองดองที่ไม่มีผลงานจับต้องได้ และจนถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถเอาตัวผู้กระทำผิด ผู้ส่วนในการเข่นฆ่าประชาชนมาลงโทษได้

การพยายามรักษาอำนาจของรัฐบาลครั้งนั้น ไม่ต่างจากรัฐบาลในวันนี้ แม้จะมีผู้ออกมาชุมนุมขับไล่มากเพียงใด รัฐบาลก็ไม่ได้สนใจต่อข้อเรียกร้อง ในปี 2553 นั้นใช้ทหาร ใช้ความรุนแรงเข้าปราบปราม ขณะที่ในปัจจุบัน “กระบวนการนิติสงคราม” หรือการใช้กฎหมายจัดการผู้เห็นต่าง จนผู้ชุมนุมมีคดีติดตัวมากมาย เข้าออกคุกตะรางเป็นว่าเล่น

จาก 19 พฤษภาคม 2538 รัฐบาล ชวน หลีกภัย ชิงยุบสภา ถึง 19 พฤษภาคม 2553 รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ สลายชุมนุม และสืบเนื่องมาจนวันนี้ 19 พฤษภาคม 2564 ในรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใจกลางของปัญหาหลักเลยก็ คือ…

“อำนาจยังไม่ได้เป็นของราษฎรทั้งหลายอย่างแท้จริง”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า