รดน้ำ สงกรานต์ และปีใหม่ไทย ?

13 เมษายน 2564

น่าจะเป็นอีกหนึ่งเทศกาล “สงกรานต์” ที่เหงาหงอยไม่ต่างจากปีที่แล้ว

กำลังจะดีๆ อยู่แท้ๆ การค้าการขายกำลังฟื้น, การเดินทางกำลังกลับมา, อีเว้นท์ต่างๆ กำลังผุด แต่จู่ๆ ก็เกิดคลัสเตอร์ “เล้าจ์” ทองหล่อ พร้อมกับเสียงลือกันให้แซดว่า กรณีรัฐมนตรีบางคนติดเชื้อโควิดนั้น ก็เพราะรับเชื้อมาจากสถานที่แห่งนี้ (จริงเท็จประการใดรอติดตามข่าว)

แต่อย่างไรก็ตาม หลายพื้นที่ทั่วประเทศตอนนี้ญาติพี่น้องคงอยู่กันพร้อมหน้า มีความสุขอยู่กับเทศกาลอันอบอุ่น แม้จะต้องเฝ้าระวังเรื่องการติดเชื้ออยู่บ้างก็ตามที ไม่ตระหนก แต่มีสติ, รดน้ำให้ช่ำชุ่ม ขอขมาบุคคลที่เราเคยล่วงเกิน ขอพรบุคคลที่เราเคารพนับถือ แล้วมาสู้กันใหม่

ในช่วงเทศกาลนี้ มีข้อเขียนเกี่ยวกับสงกรานต์มาฝากให้ชวนคิดวิเคราะห์

รดน้ำ ขอขมา

รดน้ำ ขอขมา เป็นประเพณีพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว เพราะเชื่อว่าน้ำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นแหล่งก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิต

ขณะที่ “สงกรานต์” เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ เกี่ยวกับเรื่องการย้ายจักรราศีของดวงอาทิตย์ ซึ่งก็เกิดขึ้นทุกเดือน และก็เรียกว่าสงกรานต์ทุกเดือนนั่นแหละ เพียงแต่จาก “ราศรีมีน” สู่ “ราศรีเมษ” นั้น พระอาทิตย์จะมีกำลังร้อนแรงที่สุด

“สงกรานต์” ที่รับมาจากพรามหมณ์และใช้ในราชสำนักนี้ ไม่มีเรื่องสาดน้ำ และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เรื่องขอขมา แต่เป็นไปเพื่อเสริมอำนาจให้ผู้ปกครองเท่านั้น (อารมณ์ประมาณรับพลังสุริยะ) ต่อเมื่อแพร่หลายสู่ราษฎร จึงเกิดผสมผสานกับประเพณีพื้นเมืองดั้งเดิมอย่างการรดน้ำ ขอขมา สืบเนื่องมาจนวันนี้

การรดน้ำ ขอขมา เรามักเห็นคนอายุน้อยถือขันน้ำไปรดน้ำขอขมา (และขอพร) จากผู้มีอายุกว่า แต่เมื่อช่วงสงกรานต์ปี 2558 (สงกรานต์แรกหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557) ก็ได้มีผู้ใหญ่ อาทิ นิธิ เอียวศรีวงศ์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, พนัศ ทัศนียานนท์ ฯลฯ ใช้โอกาสนี้ รดน้ำขอขมาเยาวชน ขอโหสิกรรมแก่คนรุ่นใหม่ที่ต้องรับมรดกอันมืดมนทางประชาธิปไตย ซึ่งเป็นข่าวที่ใหญ่โตเกรียวกราวไม่น้อย

ปีใหม่ไทย จริงมั้ย ?

ทุกชาติพันธุ์ในภูมิภาคนี้ต่างมีปีใหม่เป็นของตัวเองมาแต่ดั้งเดิม อาทิ ปีใหม่กะเหรี่ยง, ปีใหม่ม้ง, ปีใหม่ลาว, ปีใหม่เขมร ซึ่งล้วงผูกพันกับฤดูกาลเก็บเกี่ยว การเลี้ยงผีบรรพชน และปีใหม่ไทยเองก็เช่นกัน ซึ่งเดิมนั้นไม่ใช่ช่วงเมษายนอย่างที่ทางการประดิษฐ์เช่นทุกวันนี้

วันขึ้นปีใหม่ เดิมจะตรงกันช่วง “ลอยกระทง” ซึ่งเพ็ญเดือน 12 นั้นเป็นวันสิ้นปีเก่า การลอยกระทงก็เพื่อขอขมา จากนั้นก็เข้าสู่เดือนที่เป็น เดือนหนึ่ง ที่เราเรียก “เดือนอ้าย” ต่อด้วย “เดือนยี่” “เดือนสาม” เดือนสี่” ตามลำดับนั่นเอง

“เดือนหนึ่ง” ที่เรียกว่า “เดือนอ้าย” จึงเป็นหลักฐานของ “ปีใหม่ไทย” ยุคแรกสุด

ก่อนที่จะมาเป็นช่วงเดือนเมษายน ก็ด้วยเหตุผลการเข้ามาของพิธีกรรมพรามหมณ์ในราชสำนักสมัยอยุธยาดังกล่าวมาแล้ว หากแต่ที่สุดราษฎรทั่วไปก็ยังคงให้ความสำคัญกับ “ลอยกระทง” เพราะวันปีใหม่ของพวกเขาก็ยังคงเป็น “เดือนอ้าย”

กระทั่งเข้าสู่ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ สมัย ร.5 ที่กำหนดให้ขึ้นปีใหม่ตรงกับ 1 เมษายน สืบต่อมาจนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น 1 มกราคม ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ปีใหม่เดิมที่จะนิยามว่า “ปีใหม่ไทย” จึงย้อนไปสู่ช่วงปีใหม่เดิมที่เมษายน แล้วผนวกเข้ากับเทศกาลสงกรานต์ที่มีรดน้ำ ขอขมา บรรยากาศอบอุ่นๆ ที่มีอยู่แล้ว

และเป็นทางการประโคมขาย “การท่องเที่ยว” ให้สงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” เสียเลย

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับบางพื้นที่ “ปีใหม่” ก็ยังคงเป็นช่วงลอยกระทง คือจาก “เดือนสิบสอง” สู่ “เดือนอ้าย” ดังจะเห็นได้จากงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ และพิธีกรรมที่จะอีกเรื่อยๆ หลังจากนี้


อ่านเพิ่มเติม

  • วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
  • สาดน้ำ สงกรานต์ วัฒนธรรมร่วมรากเอเชีย หนังสือรวมบทความประกอบงานเสวนา จัดโดย สพฐ.กระทรวงศึกษาธิการ, คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล และคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า