เรียนออนไลน์ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล

23 เมษายน 2563

สถานการณ์โควิด-19 อาละวาด ทำให้นักการศึกษาทั้งหลายต้องหามาตรการมาจัดการปัญหาชนิดที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่ทีเดียว เมื่อนักเรียนปิดเทอมยาว อยู่บ้านนาน ก็อาจเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือ learning regression 

ถ้าพูดให้เห็นภาพ ก็เป็นดังงานวิจัยของ “สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” หรือ กสศ. ตอนหนึ่งที่ระบุว่า

“จากงานวิจัยพบว่าการที่เด็กต้องออกจากโรงเรียนประมาณ 6 สัปดาห์อาจจะทำให้ความรู้ของเขาหายไปถึงครึ่งปีการศึกษาโดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสหรือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่างๆ” 

แต่อย่างไรก็ตาม จะให้พาเด็กไปรวมตัวกันเพื่อเรียนหนังสือเป็นปกติก็ทำไม่ได้เช่นกัน 

เรียนออนไลน์ จึงเป็นคำที่ใช้เรียกการเรียนรู้ในช่วงนี้ 

และดูเหมือนว่าหลายภาคส่วนพยายามพุ่งเป้าไปที่การใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหานี้ ซึ่งอาจเป็นเพียงจิ๊กซอว์ชิ้นเดียว และยังเป็นชิ้นที่ไม่ใหญ่นักในภาพรวมของปัญหาทั้งหมด ดังที่เราได้เห็นข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการจัดซื้อแทปเล็ต ซึ่งล้มเลิกไปแล้วเพราะเสียงคัดค้าน 

ประเด็นที่ต้องคิดคำนึงถึงคือ การจัดการศึกษาที่เหมาะกับสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว จากรายงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบว่านักเรียนไทยเข้าถึงอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์สมาร์ตโฟน และโทรทัศน์มากที่สุด 

ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนน่าจะต้องพึ่งพาอุปกรณ์เหล่านี้ในบางพื้นที่อยู่บ้าง แต่ก็ใช่ว่าบทบาทของครูจะลดลงไป จออาจจะเข้ามามีบทบาทแทน กลับกันครูจะต้องเพิ่มบทบาทฐานะผู้จัดการและสนับสนุนการเรียนรู้ ช่วยออกแบบบทเรียน แบบฝึกหัด ที่นักเรียนจะสามารถฝึกฝนกับอุปกรณ์เหล่านี้ รวมถึงหนังสือ ใบงาน และการทำกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ 

นี่จึงเป็นโจทย์อันท้าทายยิ่งสำหรับกระทรวงศึกษาธิการ ว่าจะสามารถช่วยให้บุคลากรมีทักษะเหล่านี้ ภายใต้ระยะเวลาอันจำกัดได้หรือไม่ ผู้บริหารมีความพร้อมเท่าใด การสนับสนุนเวลาและทรัพยากรได้รับการจัดสรรอย่างเสมอภาคและมีประสิทธิภาพหรือไม่

การเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์จอต่างๆ นั้น เหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องการใช้จอซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการระยะยาว หากแต่สถานการณ์นี้ก็อาจทำให้ต้องใช้จอกับเด็กเล็กบ้าง 

ประเทศอย่างสิงคโปร์ซึ่งใช้การเรียนรู้แบบ Home-based Learning หรือ HBL ที่บ้านเป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน เป็นต้นมา 

หลักการ HBL ไม่ซับซ้อนอะไรมากใช้ระบบออนไลน์ได้แต่ไม่ทั้งหมดต้องดูเรื่องพัฒนาการตามช่วงวัยเป็นสำคัญเน้นย้ำว่าสุขภาวะทั้งกายและใจของเด็กต้องมาก่อนอาหารถึงจัดการความเครียดด้วยความเข้าอกเข้าใจมีการให้การบ้านบ้างเรียนรู้เองผ่านช่องทางออนไลน์บ้างผสมผสานกับกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆตามแต่คุณครูจะออกแบบ 

เริ่มทดลองทำจากหนึ่งวันต่อสัปดาห์ก่อน หากครอบครัวไหนขาดแคลน รัฐจะสนับสนุนการเข้าถึงอุปกรณ์ เช่น การแจกซิมการ์ด อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแทปเล็ต รวมถึงเงินสนับสนุนให้กับครัวเรือนที่มีเด็กเล็กเพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองที่ไม่พร้อม 

เบื้องต้นกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ได้ให้ยืมคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปหรือแท็ปเล็ตไปแล้ว 12,500 เครื่อง และอุปกรณ์ช่วยเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอีก 1,200 เครื่อง เพื่อให้นักเรียนเข้าถึง Student Learning Space (SLS) หรือ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่มีการบ้านและใบงานต่างๆ 

นั่นเป็นเพราะรัฐอยากให้ผู้ปกครองได้ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ด้วยฝึกฝนการกำหนดตารางกิจวัตรประจำวัน การตั้งเป้าหมายระยะสั้น สร้างข้อตกลงการใช้หน้าจอร่วมกัน ช่วยกระตุ้นเชิงบวก ให้เด็กๆ เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มาอย่างฉับพลันซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียดได้

ข้อกังวลของสิงคโปร์ คือ เด็กๆ ในบ้านที่ต้องอยู่รวมกัน เช่น ในแฟลตที่แคบ ซึ่งเด็กๆ อาจไม่สามารถเรียนรู้ได้เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ในกลุ่มนี้และกลุ่มที่ขาดแคลน ผู้ปกครองจะได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนเรียน หากเด็กบ้านไหนจำเป็นต้องมาใช้พื้นที่โรงเรียน ก็เปิดให้มาใช้พื้นที่และอุปกรณ์ของโรงเรียน โดยรักษามาตรการรักษาระยะห่างอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเครียดของผู้ปกครองที่อยู่ดีๆ ก็ต้องลุกขึ้นมาช่วยจัดการเรียนรู้ของลูกๆ ทั้งที่ยังไม่พร้อม

อธิบายโดยง่ายคือ สิงคโปร์แก้สถานการณ์การเรียนรู้ในช่วงโควิด-19 ระบาด ด้วยการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้บ้านเป็นฐาน อุดช่องว่างของผู้ปกครองให้ได้มากที่สุด ใครขาดอะไร ตรงไหน อย่างไร รัฐเข้าไปช่วยอุ้มชู ตามบริบทความจำเป็น 

สรุปว่า ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน เพียงรัฐมุ่งมั่น ตั้งใจ ทำให้เด็กๆ ทุกคนได้เรียนรู้ในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไม่ว่าเขาจะมาจากพื้นฐานครอบครัวแบบใด บนพื้นฐานความเข้าใจว่า ออนไลน์ ไม่ได้ตอบทุกโจทย์ และโจทย์ที่ต้องถามกว้างขวางกว่าเทคโนโลยีมากมายนัก เพราะถ้าตั้งโจทย์แคบ การแก้ปัญหาก็จะจำกัดอยู่ในวงแคบตามไปด้วย 

ความตั้งใจจริงมาก่อนทุกสิ่งที่เขียนไปในบทความนี้

_____

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า