การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล “New Normal” หลังโควิด19 ?

1 พฤษภาคม 2563

ตั้งแต่เริ่มมีสถานการณ์ “โควิด-19” เราก็ได้เห็นมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐดำเนินการเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสที่ยังไม่มีวัคซีนและยารักษา ดังนั้น มาตรการที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ใช้ก็คือการปิดเมือง (Lockdown) และการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distantcing) ซึ่งในรายละเอียดของมาตรการมีแนวทางปฏิบัติที่ต่างกันไป ทั้งแนวการใช้อำนาจรัฐแบบเผด็จการบังคับประชาชน และแนวที่เสนอมาตรการโดยฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับประชาชน และรัฐสภา โดยมีประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศเป็นทัพหน้าที่สำคัญ ต่อสู้กับภาวะโรคระบาด

ที่ต้องจับตามอง คือ มาตรการต่าง ๆ มาพร้อมกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือคนในช่วงที่ต้องปิดเมือง และเว้นระยะห่างทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยเหลือบุคคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะที่กำลังเป็นที่พูดถึงในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีที่เรียกว่า Contact Tracing หรือเทคโนโลยีที่ใช้บันทึกสุขภาพของผู้ที่เราพบปะ และช่วยเตือนว่าเรามีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่

Contact Tracing เป็นวิธีการที่นำเสนอโดยทีม Gov Tech ของสิงคโปร์ โดยใช้เทคโนโลยีบลูธูทในสมาร์ทโฟน รับและส่งข้อมูลระหว่างสมาร์ทโฟนของเรา และสมาร์ทโฟนของผู้อื่นที่อยู่ระยะสัญญาณบลูธูท โดยข้อมูลจะไม่สามารถระบุว่าใครเป็นใคร แต่จะเก็บข้อมูลรหัสแทนบุคคลที่เข้าใกล้เราไว้ในเครื่องเป็นเวลา 14 วัน  

หากระบบได้ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ติดเชื้อว่า คนที่เคยเข้าใกล้เราในช่วง 14 วัน ติดเชื้อโควิด-19 ระบบก็จะเตือนเราว่ามีความเสี่ยง ซึ่งโดยหลักการแล้ว ระบบจะรักษาข้อมูลเก็บไว้ในเครื่องสมาร์ทโฟนของเรา และไม่ให้สามารถระบุตัวตนได้ว่าผู้ใช้เป็นใคร พบปะกับใคร ที่ไหน หรือใครเป็นผู้ติดเชื้อ แลเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีข่าวสำคัญของ 2 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยีนั่นคือ Apple และ Google ประกาศว่าจะเปิด API บนระบบปฏิบัติการของตนเองทั้ง iOS และ Android เพื่อรองรับเทคโนโลยี Contact Tracing

ขณะที่หลายประเทศมีแผนที่จะพัฒนาแอพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยี Contact Tracing และให้ประชาชนได้ติดตั้งเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศไทยที่เปิดตัวแอพลิเคชัน หมอชนะ” โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี Contact Tracing มีข้อถกเถียงอย่างมากถึงประเด็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เพราะแอพลิเคชันที่พัฒนาใช้ในบางประเทศนั้น ไม่ได้ทำตามหลักการที่ต้องการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลไว้สูงสุด เช่น มีการเก็บข้อมูลการพบปะกันไว้บนเครื่องแม่ข่าย หรือมีการใช้ GPS ระบุตำแหน่งการใช้แอพลิเคชัน รวมทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด

เรื่องที่จะต้องทำควบคู่กับการ Tracing คือการ Testing หรือต้องขยายการตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ไปพร้อมกันด้วย เพราะต้องมีข้อมูลผู้ติดเชื้อที่อัปเดตตลอดเวลา หากฐานข้อมูลผู้ติดเชื้อไม่อัปเดตว่า มีผู้ติดเชื้อเพิ่มหรือลด หรือคนที่เคยติดเชื้อตอนนี้ปลอดเชื้อ แต่ยังมีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลผู้ติดเชื้อ การใช้ระบบ Contact Tracing ก็จะไม่มีประสิทธิภาพ

แอพลิเคชัน “หมอชนะ” ที่เปิดตัวโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จากบทความการให้สัมภาษณ์ของทีมผู้พัฒนา* ก็อธิบายถึงการทำงานว่า แอพลิเคชันอัปโหลดข้อมูลการพบปะ และตำแหน่ง GPS ของผู้ใช้ไว้บนเครื่องแม่ข่าย ถึงแม้ข้อมูลจะเป็นรหัสที่ไม่สามารถระบุตัวตนผู้ใช้ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่ามีกระบวนการสืบข้อมูลย้อนกลับที่จะสามารถระบุเครื่องสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ได้ อีกทั้งกระบวนการดูแลข้อมูลของผู้ใช้แอพลิเคชันก็ยังไม่ชัดเจน และะหน่วยงานที่จะเข้ามาทำหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังไม่มีความพร้อม

ที่สำคัญคือ มีแนวคิดที่จะใช้แอพลิเคชัน “หมอชนะ” เสริมในช่วงการคลายมาตรการLockdown โดยให้ผู้ใช้ติดตั้งแอพลิเคชัน และทำแบบประเมินสุขภาพ เพื่อให้ได้ QR Code ยืนยันก่อนเข้าใช้บริการร้านค้า ร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้า ซึ่งอาจจะนำพาไปสู่แนวคิดแบบ Social Credit ที่มีเฉพาะบางกลุ่มได้สิทธิพิเศษ และมีคนอีกกลุ่มโดนจำกัดสิทธิ์กระทบต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่ถนัดการใช้เทคโนโลยี หรือกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี

บทเรียนจากการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท โดยให้ใช้ช่องทางเดียวผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน” ถึงแม้เป็นแนวคิดว่า เทคโนโลยีจะทำให้การคัดกรองผู้มีคุณสมบัติทำได้รวดเร็ว แต่ก็ทิ้งคนกลุ่มใหญ่ที่สมควรได้รับการเยียวยาไว้ข้างหลัง

สร้างความเจ็บช้ำให้ประชาชน จนต้องมาเรียกร้องแบบเอาชีวิตเข้าแลก ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหน้ากระทรวงการคลัง ซึ่งสะท้อนถึงการคิดไม่รอบด้าน และความไม่ใส่ใจในสภาพความจริงที่คนในสังคมยังมีกลุ่มที่เดือนร้อนสาหัส และเทคโนโลยีอาจเป็นสิ่งซ้ำเดิมพวกเขา หากมีวิธีปฏิบัติที่ไม่ใส่หัวใจความเป็นมนุษย์เข้าไป

_____

อ้างอิง : *สัมภาษณ์ทีมพัฒนาแอป “หมอชนะ” บันทึกการเดินทาง วิเคราะห์ความเสี่ยง COVID-19 ให้โดยอัตโนมัติ https://nuuneoi.com/blog/blog.php?read_id=983

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า