ฤาจะเป็นสวรรค์คืนสุดท้าย ? ท่องราตรีผ่านนิทรรศการ “Paradise Go Go Bar” ของศิลปิน “ตะวัน วัตุยา”

25 เมษายน 2563

จนกว่าสถานการณ์จะปกติ ภาพถนนแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีที่เคยเป็นสรรค์ของนักดื่มโล่งเปล่า ความฝันของ ผู้คนแห่งค่ำคืนคงอ้างว้างไปอีกระยะใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของที่ดิน ตึกเช่า นักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ ขาย ล้วนได้รับผลกระทบจากการ Lock Down ประเทศไทย มากบ้าง น้อยบ้าง แตกต่างที่ต้นทุนชีวิต

และคงปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบก่อนใครเพื่อน นั่นคือ ผู้ประกอบการสถาบันเทิงยามค่ำคืน ซึ่ง จากการแพร่ระบาดของโควิด -19 นี้ ก็มีใครกล้ารับประกันว่า หากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การฟื้นตัวของ ผู้ประกอบการจะเป็นเมื่อไหร่ และจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่

ไม่กี่วันก่อนที่จะมีมาตรการ “เว้นระยะห่าง” ศิลปินนาม ตะวัน วัตุยา ได้พาสำรวจแหล่งท่องเที่ยวราตรีย่านพัฒน์พงษ์ ผ่านผลงานสีน้ำของเขา เล่าเรื่องราวของคนตัวเล็กตัวน้อยที่มีอาชีพให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ในนิทรรศการศิลปะที่ชื่อ “Paradise Go Go Bar” ซึ่งจัดแสดงที่“อาคารพิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์” หรือ “พัฒน์พงศ์มิวเซียม (Patpong Museum)”

ตะวัน เป็นจิตรกรร่วมสมัยไทยที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ผลงานสีน้ำที่โดดเด่น และมีเอกลักษณ์ นำเสนอภาพผู้คนทั้งใบหน้าและร่างกาย ผ่านการระบายสีที่ฉับไว ไหลลื่น แต่เปี่ยมไปด้วยทักษะที่แม่นยำ เป็นศิลปินที่สนใจในชีวิตของผู้คน โดยผลงานหลายชุดที่ผ่านมาของเขาเกิดจากการเดินทาง พบปะผู้คนในหลากหลายวัฒนธรรมและสถานที่ 

ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนที่ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในระหว่างพำนักที่ต่างประเทศอย่างญี่ปุ่น จีน ยุโรป ทวีปอเมริกาใต้ 

หลายต่อหลายชุดในผลงานของตะวัน พูดถึงคนชายขอบในสังคมที่เรามักจะหลงลืมไปว่า คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันกับเรา

และด้วยความเป็นนักเดินทาง นักสำรวจ และนักบันทึก เราจะเห็นเรื่องราวเหตุการณ์และผู้คนในแวดวงต่างๆ ผ่านผลงานจิตรกรรมของเขาเป็นจำนวนมาก ทั้งในลักษณะยั่วล้อ ประชดประชันแบบแสบๆ คันๆ ตามไตล์ของเขา ทั้งภาพนักการเมือง รถถัง เครื่องบิน อนุสาวรีย์ ผู้คนในแวดวงศิลปะ แวดวงการเมือง นางแบบนู๊ด กรรมกร คนงานเหมือง ทั้งคนเป็นคนตาย เพื่อนร่วมทาง ราวกับว่าจิตรกรรมของตะวันเป็นบันทึกร่วมสมัยของโลกใบนี้ที่ทำงานอย่างไม่หยุดไม่หย่อน

ผลงานชุด Paradise Go Go Bar ของตะวัน เป็นการร่วมทำโปรเจ็คของศิลปินกับเจ้าของบาร์แห่งหนึ่งในย่านพัตน์พงษ์ ที่อยากให้ศิลปินเข้าไปเขียนรูปของผู้คนในนั้น ตะวันใช้เวลาในช่วงสั้นๆ ทยอยเขียนรูปผู้คนที่ทำงานที่นั่น การนั่งเขียนรูปตัวต่อตัว ทำให้ศิลปินได้เห็นอีกแง่มุมการใช้ชีวิตของผู้คน ผ่านการพูดคุย ผ่านใบหน้า แววตา รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

ผลงานสีน้ำที่เป็นเอกลักษณ์ เขียนด้วยความชุ่มช่ำ ฉับไว เว้นพื้นหลังให้เป็นสีขาวด้วยกระดาษเปล่า เพื่อขับให้ ท่าทาง รูปร่าง ชุดที่สวมใส่ ใบหน้า ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของผู้คนในบาร์แห่งนี้ ให้แจ่มกระจ่าง เร้าอารมณ์ ยั่วยวนให้ชวนหลงไหล

แม้จะเป็นภาพจิตรกรรมคนเปลือยเปล่าไร้อาภรณ์เครื่องนุ่งห่ม เปิดเผยตัวตนอย่างอล่างฉ่าง ในอากัปกริยากระดากปากที่จะพูดถึง แต่งานของตะวันไม่ทำให้เราลุ่มหลงไปกับตัณหาราคะ หากกลับทำให้มองเห็นชีวิต ตัวตน ผู้คนในอีกกลุ่มหนึ่งอาชีพ ที่ต่อให้เราจะทำเป็นลืมหรือมองไม่เห็น แต่ลึกๆ แล้วย่อมต้องรู้สึกว่าพวกเขาก็เป็นกลุ่มคนที่ต้องดิ้นรนในใจกลางเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ไม่ต่างกัน

ผลงานหลายชิ้นในนิทรรศการชุดนี้ เป็นภาพใบหน้าของพนักงานในร้านที่ตะวันได้นั่งเขียนตัวต่อตัว และเขียนชื่อของทุกคนบันทึกไว้ในผลงาน ราวกับว่าศิลปินต้องการย้ำเตือนว่าคนเหล่านี้มีตัวตน มีชีวิต มีอาชีพ มีการทำงาน และภาระที่ต้องแบกรับ

ภายใต้แสงไฟดิสโก้ที่ทำให้เราครื้นเครง เสียงดนตรีที่ปลดเปลื้องอารม์ของเรา ภาพผู้หญิงที่สวมใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้นที่โยกย้ายส่ายสะโพกอยู่ตรงหน้า สิ่งเหล่านี้อาจจะหายไปจากนักเที่ยวเมื่อเขาสร่างเมาในเช้าวันรุ่งขึ้น

แต่สำหรับพนักงานทุกคน ยังคงต้องวนกลับมาใช้ชีวิตของพวกเขา ให้บริการแขกในค่ำคืนถัดไปจนกว่าสังขารจะร่วงโรยความสวยงามของร่างกาย การร่วงโรยของสังขาร อายุที่มากขึ้นทุกวัน กับอาชีพการงานที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักตลอดทั้งคืน อาจจะทำให้พวกเขาอยู่ที่นี่ได้เพียงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะสับเปลี่ยนให้คนรุ่นหนุ่มสาวได้มาทำหน้าที่แทน

ผลงานจิตรกรรมของตะวัน คงไม่ได้บอกแค่ความสวยงามบนกระดาษ ฝีไม้ลายมือที่เก่งกาจ หรือชื่อเสียงของศิลปิน แต่มันกำลังบันทึกผู้คนกลุ่มชีวิตหนึ่ง ที่นั่นอาจจะเป็นอาชีพสุดท้ายของพวกเขา หากวิกฤตไวรัสโควิด -19 ยังไม่หายไปในเร็ววันนี้

ฤาจะเป็นสวรรค์คืนสุดท้าย ? ก่อนที่ทุกคนต้องแยกย้ายกระจายไปตามทางรอด ก็อาจเป็นไปได้ 

นิทรรศการ Paradise Go Go Bar ต้องประกาศหยุดแสดงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงค้างค้าหลงเหลืออยู่ที่ผลงานชุดนี้ทำกับเรา นั่นคือ ความตระหนัก รับรู้ว่ายังมีเพื่อนร่วมสังคม เพื่อนร่วมโลกของเราอีกมากมายที่เราต้องนึกถึง

ไม่ใช่ในฐานะของแรงงานที่ให้ความบันเทิงแก่เราเท่านั้น หากแต่เป็นเพื่อนมนุษย์ ที่มีใบหน้า มีรอยยิ้ม มีชื่อ และมีชีวิต ที่ต้องเผชิญชะตากรรมอยู่บนโลกใบนี้ไม่ต่างกัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า