วิถีในวิกฤต “โควิด-19”

20 เมษายน 2563

หลังเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ เปลี่ยนปฏิทินใหม่ได้เพียงไม่กี่วัน คนไทยก็เริ่มได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดชนิดใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน โดยโรคนี้พบผู้ป่วยติดเชื้อที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ซึ่งเริ่มระบาดในเมืองดังกล่าวแล้วตั้งแต่ช่วงก่อนสิ้นปี จึงทำให้มีการพาดหัวข่าวเรียกว่า “ไวรัสอู่ฮั่น” บ้าง หรือเรียกตามรูปร่างของเชื้อร้ายที่เหมือนมงกุฎว่า “ไวรัสโคโรนา” บ้าง

ในตอนนั้นยังไม่มีใครรู้สาเหตุที่แน่นอนของการเกิดไวรัสนี้ แต่ที่แน่ๆ เริ่มมีการตรวจคัดกรองผู้โดยสารเที่ยวบินจากเมืองอู่ฮั่นเข้าไทย และเริ่มมีการเตรียมรับมือ โดย 4 มกราคม 2563 มีการเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน หรือศูนย์อีโอซี ขณะที่ทางฝั่งจีน 23 มกราคม 2563 สั่งปิดเมืองอู่ฮั่นซึ่งเป็นเมืองกำเนิดของไวรัสนี้ และองค์กรอนามัยโรคหรือ WHO ประกาศให้เป็นการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉิน

กุมภาพันธ์ 2563 ในขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ในวิกฤตของเรื่องฝุ่น PM 2.5 ทางการไทยได้ส่งเครื่องบินไปรับนักศึกษาจำนวน 138 คนในเมืองอู่ฮั่นและ WHO ได้ประกาศชื่ออย่างเป็นทางการว่า “COVID-19” นับจากนั้นเป็นต้นมาประเทศไทยและคนไทยรู้จักกับไวรัสชนิดใหม่นี้ดียิ่งขึ้น พร้อมกับออกมาตราการในการป้องกันการติดเชื้อและการเผยแพร่เชื้อ เพราะโรคชนิดใหม่นี้ไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพเพียงอย่างเดียวแต่ยังส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งเศรษฐกิจ วิถีชีวิต หากไม่พูดจนเกินเลยนี่อาจเป็นยุคของการ Disrupt ของแท้

หน้ากากอนามัยถือเป็นหนึ่งในมาตราการสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อ ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ประชาชนเกิดความต้องการหน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมาก ทำให้หน้ากากหาซื้อยากและขาดแคลน เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการหน้ากากของภาครัฐและกระทรวงพาณิชย์

Social distancing หรือ การเว้นระยะห่าง เป็นอีก 1 มาตราการที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางกายภาพ โดยวิธีนี้ถูกนำมาใช้ในร้านค้า ร้านอาหาร รวมไปถึงระบบขนส่งมวลชน ไม่ว่าจะเป็นบนรถเมล์ รถไฟฟ้าและทางเรือโดยสาร

เมื่อมีคำสั่ง “ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว” อาทิ ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 มีนาคม ถึง 30 เมษายน ของกรุงเทพมหานคร บวกกับการรณรงค์ให้การทำงานจากที่บ้านหรือ Work From Home ทำให้กรุงเทพมหานครเงียบลงไปอย่างเห็นได้ชัด

บรรยายกาศเงียบเหงาของร้านอาหารและร้านค้าภายในบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเพียง 1 วันหลังจากมีการประกาศปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว และแรงงานเริ่มทยอยเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ร้านค้าทยอยปิด ร้านอาหารไม่สามารถนั่งสั่งทานที่ร้านได้

การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อไวรัสยังคงเป็นข้อถกเถียงว่าควรมีการฉีดพ่นหรือไม่ สำหรับในพื้นที่ส่วนบุคคลจึงมีการติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาฉีดให้ “สำหรับในหมู่บ้านจัดสรร เราจะเข้าไปฉีดให้เฉพาะบ้านหลังที่เจ้าของบ้านเขาอนุญาติ” ทีมงานของอาสาสมัครช่วยเหลือคนหนึ่ง กล่าว

จุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 โดย กทม.ได้ร่วมกับตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัคร ตั้งจุดตรวจคัดกรองการแพร่เชื้อไวรัส บริเวณเส้นทางเข้า-ออก พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจวัดไข้สำหรับผู้ที่สัญจรผ่านไปมาและแจกเจลแอลกฮอร์ล้างมือ

เจ้าหน้าที่ของสำนักเขตจตุจักร ใช้น้ำยาซักผ้าขาว (ไฮเตอร์) ผสมน้ำเช็ดทำความสะอาดบริเวณป้ายรถเมล์เพื่อฆ่าเชื้อ ทุกๆ 3 ชั่วโมง

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 กระทรวงการคลังเปิดให้ลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน” เพื่อรับเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 เป็นเวลา 3 เดือน สำหรับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงทะเบียน จะต้องมีสัญชาติไทย และอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 โดยยอดผู้ลงทะเบียนอยู่ที่ 27.5 ล้านคน ทำให้มีผู้ตกหล่นจากการรับสิทธิเป็นจำนวนมาก โดยในวันที่ 20 เมษายน ทางกระทรวงการคลังจะเปิดให้ทบทวนสิทธิ์ในกลุ่มที่ไม่ได้รับเงิน

ว่าด้วยการทำ Social distancing ภายในบ้าน จากแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบายถึงโอกาสของการติดเชื้อโควิดภายในบ้านว่า “ถ้าท่านมีสมาชิกมากกว่าหนึ่งคนในบ้านถือว่ามีความเสี่ยงทั้งคู่ ให้คิดไปเลยว่าคนอีกคนหนึ่งมีโอกาสติดกับเรา…..ยังคงใช้หลักการเหมือนเดิมคือ กิน ร้อน ช้อนกลาง ส่วนตัว ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัย ถึงแม้อยู่บ้านก็ใส่หน้ากากอนามัยไว้เลย….. อยู่ด้วยกันได้แต่คุยห่างกันสองเมตร นั่งดูทีวีด้วยกันได้แต่อยู่กันคนละโซฟา อยู่ด้วยกันได้คนละห้อง” จากประโยคนี้ เมื่อลองดูสภาพความเป็นจริง น่าจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากของผู้ที่ต้องเช่าหอพักในการเว้นระยะห่างของผู้อาศัยเนื่องจากขนาดของห้องที่เล็ก จากการสำรวจราคาหอพักย่านลาดพร้าวขนาด 26.0 ตร.ม. มีค่าเช่าต่อเดือน 4,000-6,000 บาท

ภายใต้การประกาศเคอร์ฟิววันแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน เวลาประมาณ 21.15 น. เจ้าของร้านอาหารปิ้งย่างกำลังเก็บรถเข็นเพื่อเตรียมกลับบ้าน และร้านอาหารอีสานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เคยเปิดขายแบบให้สั่งกลับบ้านต้องปิดร้านตั้งแต่สามทุ่ม จึงนับเป็นผลกระทบอย่างหนึ่งภายใต้สถานการณ์นี้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า