เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (2)

24 มิถุนายน 2563

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้พาทุกท่านพิจารณาให้เห็นว่า การต่อสู้เพื่อรัฐสวัสดิการถ้วนหน้านับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดย “คณะราษฎร” หากแต่ทว่าก็มีการกระทำเพื่อปฏิเสธข้อเสนอ “รัฐสวัสดิการ” อย่างน้อย 2 ครั้งที่มีผลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง และทำให้ประเทศไทยมีสภาพอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้


ครั้งแรก คือ การที่รัชกาลที่ 7 ทรงปฏิเสธเค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์ และมีการปลุกกระแสกลุ่มอนุรักษ์นิยมในคณะราษฎรเพื่อต่อต้านแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตยของปรีดี

เวลาผ่านไปราว 15 ปี ได้มีความพยายามอีกครั้ง และคราวนี้ก็นับว่าเป็นการถอนรากฝั่งประชาธิปไตย นั่นคือ การที่ ควง อภัยวงศ์ แพ้การลงคะแนนต่อกลุ่ม ส.ส.อีสาน ที่สนับสนุนปรีดี โดยนายควงผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ยุคบุกเบิกก็ได้มีส่วนสำคัญในการตั้งข้อกล่าวหาเท็จว่าปรีดี เกี่ยวพันกับการสวรรณคตของรัชกาลที่ 8 พร้อมทั้งสนับสนุนรัฐประหาร อันเป็นจุดเริ่มต้นของการถอยห่างออกจากข้อเสนอด้านรัฐสวัสดิการต่างๆ ก่อนที่การรัฐประหารในปี 2500 ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะฝังกลบเจตนารมณ์ ด้านประชาธิปไตยและความเสมอภาคของคณะราษฎรจนหมดสิ้น

สฤษดิ์ เป็นเผด็จการทหารที่รับนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวทางทุนนิยมสหรัฐอเมริกา แม้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต แต่ความเหลื่อมล้ำกลับขยายออก เขาอาศัยสถาบันกษัตริย์ในการสร้างความชอบธรรมและปิดบังการคอรัปชันอันใหญ่โตของตนและพวกพ้อง แนวทางสวัสดิการในประเทศไทยที่เคยวางรากฐานมาจากยุคของคณะราษฎรในการมองสวัสดิการในฐานะสิทธิพื้นฐานของประชาชน ได้ถูกสฤษดิ์ทำลายลง และสร้างชนชั้นข้าราชการขึ้นมาเพื่อเป็นกลจักรสำคัญในการสอดส่องการต่อต้าน และกำราบกำจัดความโกรธแค้นของผู้คนที่แผ่ขยายออกมาในรูปแบบการการต่อต้านอำนาจรัฐในยุคสงครามเย็น

งบประมาณของรัฐบาลไหลลงไปที่กลุ่ม “ข้าราชการ” ที่ได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ และอำนาจเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางการทหารหรือเจ้าหน้าที่ปกครอง หน้าที่หลักของพวกเขาถูกเบี่ยงเบนว่าข้าราชการเหล่านี้มีหน้าที่บริการประชาชน แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ช่วงระหว่างปี 2500-2510 บทบาทของข้าราชการปรากฏชัดในการเป็น “เครื่องมือปราบปรามประชาชน” ทั้งทางกายภาพ (คุก ศาล ทหาร ตำรวจ) และทางอุดมการณ์ (โรงเรียน ศาสนา วัฒนธรรม) กระทั่งนำสู่สงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพไทย และกองกำลังปลดแอกประชาชนภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

กล่าวโดยสรุป คือ ระบบสวัสดิการราชการไทยภายใต้ทุนนิยมสหรัฐอเมริกาเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ระบอบเผด็จการ

ขณะที่สวัสดิการด้านโครงสร้างพื้นฐานในยุคสฤษดิ์ กลับถูกพัฒนาอย่างบิดเบี้ยว แนวคิดการเชื่อมต่อทางรถไฟสายต่างๆ ถูกพับเก็บไว้ และนำสู่การพัฒนาถนนซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการคอรัปชันของกลุ่มทุนก่อสร้างที่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาล และ “ถนน” ก็ยังนำสู่การขยายตัวของทุนนิยมนายหน้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนที่ผูกขาดด้านการขนส่งหรือกลุ่มทุนท้องถิ่นที่มีที่ดินขนาดใหญ่ ขณะที่ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะกลับไม่ได้รับการพัฒนา

ผู้คนถูกผลักให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยตนเอง การสร้างเขื่อนตามพื้นที่ต่างๆ กลายเป็นอนุสาวรีย์ความเหลื่อมล้ำ เมื่อทำให้เกษตรกรรมแบบยังชีพล่มสลาย เกิดคลื่นอพยพของภาคเกษตรที่เข้าสู่การเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

แรงงานที่มีโอกาสก็เข้ามาสู่การถูกกดขี่ในภาคอุตสาหกรรม ขณะที่แรงงานที่ยากจนไร้ทางเลือกก็เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งภายใต้รัฐบาลภายสฤษดิ์ไล่มาจนถึงรัฐบาลถนอม กิตติขจร ก็ใช้เวลาการปกครองที่ยาวนานกว่า 16 ปี ในการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ในการปราบปรามประชาชนที่อดอยากและโกรธแค้น งบประมาณมหาศาลถูกใส่ลงไปในกองทัพและ กอ.รมน.มากกว่าสวัสดิการของประชาชนที่ยากจนเหลื่อมล้ำจากการพัฒนาของระบบทุนนิยม

“ทองปาน” ภาพยนตร์สารคดีที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำและผลจากการพัฒนาในยุคเผด็จการทหาร

ในด้านการศึกษา ขณะที่คณะราษฎรมุ่งสร้างมหาวิทยาลัยในรูปแบบตลาดวิชา เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงงสวัสดิการในฐานะสิทธิพื้นฐาน รัฐบาลเผด็จการทหารปรับมหาวิทยาลัยสู่การเป็นโรงงานผลิตว่าที่กลุ่มชนชั้นนำดังระบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยขยายตัวมากขึ้นในสาขาวิชาและภูมิภาคต่างๆ แต่ความเหลื่อมล้ำกลับมากขึ้น

จากงานเขียนของ เบเนดิก แอนเดอร์สัน ชี้ให้เห็นว่า แม้ชนชั้นกลางนอกระบบราชการจะขยายเพิ่มขึ้นในช่วงการปกครองเผด็จการทหาร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กันก็คือกลุ่มคนจนเมือง ขณะเดียวกันคนจนในชนบทพบกับชีวิตที่ยากลำบากมากขึ้น และอาชีพข้าราชการกลายเป็นต้นตอของการสะสมทุนในพื้นที่ต่างจังหวัด อันก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์ที่ประชาชนมีความสามารถในการต่อรองอำนาจต่ำมาก

การรัฐประหารในปี 2500 นอกจากเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายประชาธิปไตยแล้ว ยังเป็นปฐมบทของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่ผ่านมามากกว่าหกทศวรรษ เพราะได้ทำลายจินตนาการสำคัญของการสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า และกลับตาลปัตรระบบสวัสดิการของประเทศไทยไปสู่ระบบสงเคราะห์อุปถัมภ์ และแบ่งชนชั้นสวัสดิการอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เราลองจินตนาการว่าหากคณะราษฎรไม่ถูกฝั่งอนุรักษ์นิยมทำลายล้าง ระบบสวัสดิการของไทยจะก้าวหน้าเพียงใด เรื่องเหล่านี้ไม่มีคำตอบ แต่เป็นวาระของคนรุ่นปัจจุบันที่ต้องทวงคืนจินตนาการแห่งความเสมอภาคนี้กลับคืนมาให้ได้

___
หมายเหตุ : อ่าน “เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (1)” ได้ที่ https://progressivemovement.in.th/article/new-world/702/

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

6 ตุลาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เหลียวซ้ายแลขวา บทเรียนจาก 6 ตุลาคม 2519 : จิตสำนึกสังคมนิยมแห่งยุคสมัย-พวกเขาคือนักสังคมนิยม

24 มิถุนายน 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (2)

22 พฤษภาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (1)

1 พฤษภาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

ปลายฝน – ต้นฤดูฝนที่โรคระบาดเริ่มจางหายแต่ชีวิตคนยังปลิดปลิว : รัฐสวัสดิการถ้วนหน้ากับการสร้างความหมายของชีวิต

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า