เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (1)

22 พฤษภาคม 2563

เมื่อ (อดีต) พรรคอนาคตใหม่ประกาศสืบทอดเจตนารมณ์ของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 หลายท่านอาจนึกถึง ชื่อถนน อนุสาวรีย์ แบบเรียน หรืออุดมการณ์ประชาธิปไตย แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเจตนารมณ์สำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครองคือ จินตนาการเรื่อง รัฐสวัสดิการ 

ปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในแกนนำคณะราษฎร เคยเสนอพระราชบัญญัติประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเค้าโครงเศรษฐกิจลือชื่อที่นำสู่การรัฐประหารครั้งแรกภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังมีข้อเขียนวิพากษ์จากฝั่งอนุรักษ์นิยม ว่าข้อเสนอรัฐสวัสดิการของปรีดี พนมยงค์เป็นข้อเสนอที่ไม่เหมาะสมกับสังคมไทยและไม่มีจำเป็นต่อประเทศไทย 

เวลาผ่านจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เกือบ 90 ปีมาแล้ว ยิ่งประเทศไทยห่างไกลจากประชาธิปไตยเท่าไร ฝั่งเผด็จการอำนาจนิยมยิ่งผลิตซ้ำความคิด ‘สวัสดิการแนวสังคมสงเคราะห์’ ได้อย่างเหนียวแน่นมั่นคง ผ่านการจัดลำดับชั้นประชาชน ผ่านการจำแนกคนภายใต้คำว่าประสิทธิภาพและความจำเป็นที่อ้างว่าสวัสดิการไม่เพียงพอต่อประชาชนจนกระทั่งปัจจุบัน

วันนี้ผมชวนเรารำลึกว่าการปกครองภายใต้ฐานความคิดอนุรักษ์นิยม ได้ทำลายโอกาสการพัฒนารัฐสวัสดิการไปมากน้อยเพียงใด และปัจจุบันเครือข่ายอนุรักษ์นิยมที่ปฏิเสธรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าก็แผ่ขยายไปอย่างมากในทุกภาคส่วนของสังคมในการปฏิเสธแนวคิดรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า

1.หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปรีดี พนมยงค์ พยายามเสนอ ‘พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร’ ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายเค้าโครงเศรษฐกิจที่อธิบายถึงความจำเป็นที่ประชาชนต้องมีรัฐสวัสดิการในฐานะหลังพิง ซึ่งเขาได้เสนอแนวคิดที่ถือว่าล้ำหน้าในสมัยนั้นและเป็นที่พูดถึงกันมากในปัจจุบันในกลุ่มประเทศที่มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคือ หลักคิดว่าด้วย ‘เงินเดือนพื้นฐานถ้วนหน้า’

ในข้อเสนอนี้พูดถึงการจ่ายเงินเดือนให้แก่ประชาชนเริ่มต้นเดือนละ 20 บาท หากเทียบแล้วคือ เดือนละประมาณ 4,000 บาทในปัจจุบัน การทักท้วงที่สำคัญของราชกาลที่ 7 เป็นจุดสำคัญต่อความขัดแย้งระหว่างฝั่งประชาธิปไตยและอนุรักษ์นิยม ซึ่งมีพระราชดำรัสว่า “ข้าพเจ้าขอกล่าวว่าราษฎรของเรา ตลอดจนชนชั้นคนขอทานยังมิได้ปรากฏเลยว่าอดตาย คนที่อดตายจะมีก็แต่คนที่กลืนไม่ลงเพราะความเจ็บไข้เท่านั้น แม้แต่สุนัขตามวัดก็ปรากฏยังไม่มีอดตาย “ ในความขัดแย้งนั้น ปรีดีจำต้องลดลทบาทลง รวมถึงข้อเสนอเรื่องรัฐสวัสดิการก็ถูกพูดถึงน้อยลง

เค้าร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เคยประกาศใช้หรือเข้าพิจารณาในสภาฯ

2.หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการแย่งชิงพื้นที่ทางการเมืองระหว่างฝั่งสังคมนิยม กองทัพและอนุรักษ์นิยม ซึ่งฝั่งสังคมนิยมนำโดย ส.ส.ของกลุ่ม ปรีดี พนมยงค์ มีการเปิดโอกาสให้นักการเมืองจากพื้นที่นอกเมืองหลวงมีโอกาสดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นักการเมืองจากจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นนักการเมืองคนสำคัญในการคัดค้านการเพิ่มงบประมาณกองทัพของ จอมพลป.พิบูลสงคราม โดยชี้ให้เห็นว่า การศึกษาและสาธารณสุขของประชาชนที่อยู่ห่างไกลเป็นสิ่งสำคัญกว่ากองทัพ ดังคำอภิปรายในสภาที่ระบุว่า 

“เราจะเริ่มสร้างบ้านด้วยการสร้างรั้ว หรือว่าเราจะเริ่มสร้างบ้านด้วยการสร้างเสาเสียก่อน” ทองอินทร์ มีบทบาทสำคัญที่ทำให้ ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยการนำเสนอ ‘ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน’ ซึ่งมีสาระสำคัญในการควบคุมการค้ากำไรในสวัสดิการพื้นฐานของประชาชน ซึ่งทำให้นายควง ต้องลาออกจากการแพ้โหวต และกล่าวในเชิงเหยียดหยามว่าเขาต้องลาออกเพราะ ‘พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว’ อันสะท้อนถึงพื้นเพความเป็นคนอีสานของทองอินทร์

ภายหลัง ควง อภัยวงศ์ ได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ โดยมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งกลายเป็นพรรคการเมืองที่ต่อต้านแนวคิดรัฐสวัสดิการและกระจายอำนาจรวมถึงเปิดทางให้ฝั่งอนุรักษ์นิยมและกองทัพมีอำนาจมากขึ้น จากเอกสารของรัฐสภา ได้มีการหารือ พ.ร.บ.ฉบับนี้อีกครั้ง ในเดือนพฤษภาคม 2489 ในสมัยปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกคัดค้านอย่างรุนแรงโดย คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่า พ.ร.บ.นี้มีลักษณะออกไปทางคอมมิวนิสต์ รัฐบาลปรีดีลาออกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญวันที่ 7 มิถุนายน 2489 ก่อนกลับเข้าสู่ตำแหน่งอีกครั้งจากการเสนอของสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะลาออกอีกครั้งในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน จากการที่ถูกใส่ร้ายว่าเกี่ยวข้องกับคดีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 (เลียง ไชยกาล ส.ส.ประชาธิปัตย์รับสารภาพภายหลังว่าจ้างคนไปตะโกนในโรงหนัง)  ส่วนทองอินทร์ ถูกลอบสังหารในคดีที่โหดเหี้ยมที่สุดคดีหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในปี 2492 ร่วมกับนักการเมืองฝั่งประชาธิปไตยอีกสามท่าน ไม่ปรากฎว่า พ.ร.บ.ฉบับที่เป็นต้นกำเนิดของพรรคประชาธิปัตย์นี้ถูกนำไปใช้หรือไม่ แต่ผลที่สำคัญคือกลุ่มทางการเมืองฝั่งซ้ายถูกปราบอย่างโหดเหี้ยม และนายทุน ขุนศึก ฝั่งอนุรักษ์นิยมก็มีอำนาจเพิ่มขึ้นจากการรัฐประหารปี 2490 และเป็นจุดเริ่มของความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวต่อเนื่องในประเทศไทยจนติดลำดับโลกในปัจจุบัน

คำโต้แย้งของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชต่อร่างพระราชบัญญัติ
การตอบโต้ของ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ในการอภิปราย 2 พฤษภาคม 2489

3.ช่วงปีท้ายๆของ จอมพลป.พิบูลสงคราม ได้พยายามหันเข้าหาฝั่งประชาธิปไตยและขบวนการภาคประชาชน เพื่อลดแรงเสียดทานกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกองทัพ ที่นำโดยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ.2497 ได้มีการนำเสนอ ‘ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม’ เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ผู้ใช้แรงงานทั่วไป ซึ่งมีการประกาศใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2497 แต่ด้วยการรัฐประหารในปี 2500 โดยสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ทำให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มีการบังคับใช้ โดยสฤษดิ์หันไปพัฒนาสวัสดิการให้กลุ่มข้าราชการเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์แทน และต้องรอมากกว่าสามสิบปีถึงจะสามารถสร้างหลักประกันให้แก่คนทำงานได้ ซึ่งหมายความว่ามีแรงงานที่เสียประโยชน์จากการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ล่าช้ากว่าครึ่งชั่วอายุคน หรือชั่วชีวิตการทำงาน และมีผู้เจ็บป่วย ล้มตายจากการทำงานทั้งโดยตรงโดยอ้อมอีกมหาศาล

พระราชบัญญัติประกันสังคม 2497 ใช้เวลาถึงสามสิบหกปีถึงมีการบังคับใช้

สามเหตุการณ์ข้างต้นคือปฐมบทสำคัญของการต่อต้านการพัฒนารัฐสวัสดิการโดยกลุ่มอนุรักษ์นิยมร่วมกับ นายทุนและขุนศึก ในบทความหน้าเราจะดูภาคต่อจนกระทั่งถึงปัจจุบันว่า การต่อต้านของฝั่งอนุรักษ์นิยมส่งผลต่อการทำลายความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร

เอกสารเพิ่มเติม

เอกสารบันทึกอภิปรายสืบค้นจาก คลังสารสนเทศสถาบันนิติบัญญัติ  http://dl.parliament.go.th/

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

6 ตุลาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เหลียวซ้ายแลขวา บทเรียนจาก 6 ตุลาคม 2519 : จิตสำนึกสังคมนิยมแห่งยุคสมัย-พวกเขาคือนักสังคมนิยม

24 มิถุนายน 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (2)

22 พฤษภาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (1)

1 พฤษภาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

ปลายฝน – ต้นฤดูฝนที่โรคระบาดเริ่มจางหายแต่ชีวิตคนยังปลิดปลิว : รัฐสวัสดิการถ้วนหน้ากับการสร้างความหมายของชีวิต

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า