ทำไมในสภาวะวิกฤต รัฐสวัสดิการ “ถ้วนหน้า” จึงส่งผลต่อผู้เดือดร้อนได้ดีกว่าระบบ “สงเคราะห์”

20 เมษายน 2563

ในสภาพวิกฤติปัจจุบัน การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เผยให้เห็นความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก ไวรัสที่เหมือนจะเป็นกลางทางชนชั้น ทำให้มนุษย์เสมอภาคกันต่อหน้าความตาย เมื่อมาอยู่ภายใต้ทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ กลับวางเงื่อนไขแบบตรงกันข้าม เมื่อการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และการปิดพื้นที่และกิจกรรมทางทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของคนจำนวนมหาศาล

ผู้ที่ได้รับผลกระทบกลุ่มแรก คือ ประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่มีรายได้ประจำ กลุ่มผู้ประกอบการเหนือแรงงานตัวเองเช่น ร้านบะหมี่รถเข็น ร้านค้าขนาดเล็ก ฯลฯ ตามมาด้วยพนักงานรายวันที่ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการไม่แน่นอน คนกลุ่มนี้มีเกือบ 20 ล้านคน เป็นประชากรส่วนใหญ่ของวัยทำงานในประเทศไทย และเมื่อคน 20 ล้านได้รับผลกระทบย่อมหมายถึงกลุ่มธุรกิจต่างๆ พนักงานรายเดือนก็ได้รับผลกระทบด้วย

ผลกระทบในลักษณะลูกโซ่นี้ งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกายืนยันว่า “การกักตัว” กลายเป็นเรื่องหรูหราสำหรับชนชั้นกลางระดับบน แต่คนส่วนมากที่ยากจน หาเช้ากินค่ำ ไม่สามารถกักตัวให้ปลอดจากการระบาดของโรคได้ และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยิ่งแสดงออกมาให้ชัดเจน จนนำมาสู่คำถามคือ รัฐบาลสามารถมีตัวเลือกที่ดีกว่านี้ได้หรือไม่ ?

การตอบสนองที่แตกต่างกันสะท้อนมุมมองต่อมนุษย์ที่ต่างกัน

การตอบสนองของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกมีแตกต่างกัน แต่โดยหลักแล้ว คือ การคำนึงถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ “รักษาโรค รักษาเศรษฐกิจ และเยียวยาความเป็นมนุษย์” หากแต่หลักคิดพื้นฐานของรัฐที่แตกต่างกันก็นำสู่จุดเน้นที่แตกต่างกันไป บางรัฐเน้นรักษาโรคโดยไม่สนใจมนุษย์ บางรัฐเน้นการพยุงทางเศรษฐกิจแต่ปล่อยให้ผู้คนอดตายก็ปรากฏเช่นกัน

ในกรณีรัฐไทยนั้น มีมาตรการเยียวยาออกมาเป็นระยะๆ  แต่มาตรการต่างๆ ของไทยนั้น ยังคงฐานความคิดแบบเดิมคือ “สวัสดิการไม่ใช่สิทธิ เป็นเรื่องของความน่าสงสารและสงเคราะห์” และ “เจ้าสัวและกลุ่มทุนอยู่รอด ประเทศนี้ก็จะอยู่รอดด้วย”

ผลที่ออกมาคือ มาตรการพยุงกลุ่มทุนผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยกว่า 4 แสนล้านบาท ขณะที่การช่วยเหลือโดยตรงต่อกลุ่มคนทั่วไปต้องผ่านการพิสูจน์สิทธิที่ซับซ้อน มีการขู่ฟ้องเอาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หากใครกรอกข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือหากใครไม่พอใจการตัดสินรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ของทางการสามารถยื่นคำร้องได้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยเข้าตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

มาตรการนี้ รัฐบาลตั้งเป้าเยียวยาไว้สูงสุด 9-10 ล้านคน หรือประมาณ 25 % ของประชากรในวัยแรงงาน ซึ่งในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดข้อถกเถียงถึงประสิทธิภาพของระบบคัดกรอง ความเป็นธรรม และความลำบากของผู้คน จนมีข้อเสนอต่างๆ มากมายเพื่อสะท้อนความล้มเหลวของมาตรการของรัฐ แต่ก็ยังคงติดอยู่กับเงื่อนไขที่ว่าไม่สามารถจัดสวัสดิการให้ทุกคน เช่นการเสนอว่า “ให้รวมก่อนแล้วคัดออกทีหลัง” หรือ “ให้ทุกคน แต่ไม่ชดเชยให้แก่ผู้มีเงินเดือนประจำ หรือข้าราชการ หรือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ” แม้แต่เครือข่ายภาคประชาชนก็ยังมีคำถามว่าเหตุใด “ต้องให้ชนชั้นกลาง หรือข้าราชการที่ร่ำรวยอยู่แล้ว”

คำถามและข้อเสนอเหล่านี้ สวนกระแสกับประเด็นที่กำลังถูกพูดถึงทั่วโลก และมองว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อการสร้างความเป็นธรรมในระดับโลก นั่นคือเรื่อง “เงินเดือนพื้นฐานถ้วนหน้า (Universal Basic Income)”  หรือหากแปลง่ายๆ คือ การที่รัฐบาลจัดเงินเดือนพื้นฐานให้กับประชาชนทุกคนแบบถ้วนหน้า ไม่เลือกฐานะอาชีพ ไม่ว่ารวยหรือจน เป็นคนชนชั้นไหนก็ได้ทั้งหมด

ระบบถ้วนหน้าดีกว่าอย่างไร?

‘ถ้าเงินหรือทรัพยากรของประเทศ เหมือนขนมเค้กชิ้นใหญ่ ถ้าคิดตามแนวทางนโยบายการคลัง หรือการคิดต้นทุนทางบัญชีแบบง่ายๆ ก็คือควรตัดแบ่งให้คนจนมากๆ ที่สุด ก็จะได้ทรัพยากรมากที่สุด ชนชั้นกลางหรือคนรวยเอาน้อยหรือไม่ต้องเอาก็ได้’

ข้างต้นนี้ เป็นวิธีคิดของการจัดสวัสดิการในสังคมไทยหรือที่เราเรียกกันว่าระบบ “สงเคราะห์”  ดังนั้น หลายสิ่งหลายอย่างที่ออกมาจึงอยู่ในลักษณะ เช่นว่า โรงเรียนรัฐบาลก็สำหรับคนจน สิทธิการรักษาพยาบาลฟรีก็ไว้สำหรับคนจน เบี้ยผู้สูงอายุก็มีไว้กันตาย เป็นต้น

ผลที่ออกมาคือระบบแบบนี้ล้มเหลว เพราะนอกจากเป็นการยืนยันว่าสวัสดิการจากรัฐนั้นไม่มีประสิทธิภาพ เอาไว้แค่กันตาย เพราะหากเยอะมากก็จะมีหลักคิดว่าคนจะงอมืองอเท้า สุดท้าย สวัสดิการเลยเป็นแบบกระมิดกระเมี้ยน จะให้ได้รับต้องผ่านการพิสูจน์ ประจานความจน ประจานศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แถมเมื่อได้รับแล้วก็ไม่เพียงพอต่อการต่อลมหายใจ และยังต้องปะทะกับสังคมอีกว่า ทำไมคนนี้ควรได้หรือคนนี้ไม่ควรได้

งานวิจัยของ Therese Saltkjel นักสังคมศาสตร์จากนอร์เวย์ ในปี 2017 ได้ระบุว่า ระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้านั้นดีกว่าสำหรับกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยง เช่น กลุ่มที่การศึกษาไม่สูง กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มคนที่หางานลำบาก

จากการสำรวจประชากรกว่า 300,000 คน กลุ่มที่เสี่ยงที่สุดกลับได้ประโยชน์มากที่สุดเมื่อสวัสดิการกลายเป็นสิทธิพื้นฐาน แต่เมื่อสวัสดิการเป็นแบบการพิสูจน์ให้ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่มากขึ้น กลุ่มที่ยากจน  คนป่วยเรื้อรัง หรือมีภาระมากที่สุดกลับเข้าไม่ถึง

นอกจากนี้ ในปี 2018   Detlef Jan ระบุว่า การที่ชนชั้นกลางก็ได้ประโยชน์จากระบบสวัสดิการถ้วนหน้านี้ จะไม่สร้างภาวะ “แพะรับบาป” หรือการมองว่าในวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคมนี้มีคนที่เป็นภาระ สังคมแนวโน้มที่จะขยายสวัสดิการเพิ่มมากขึ้นเพื่อโอบรับผู้คนได้มากขึ้นเมื่อสังคมเผชิญกับวิกฤติการณ์ต่างๆ

ประเทศไทยเองก็เคยพิสูจน์แล้วว่า นโยบายสวัสดิการที่ประสบความสำเร็จในสังคมครั้งใหญ่ๆ คือ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ดึงกลุ่มคนมหาศาลให้อยู่ในระบบเดียวกัน นำไปสู่การพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เบี้ยผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้าเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ก็เป็นนโยบายที่สามารถช่วยกลุ่มคนแก่ที่ยากจนได้ตรงจุดที่สุด ในขณะที่ระบบสงเคราะห์เคาะประตูตามบ้าน หรือการสร้างงานสร้างอาชีพกับกลุ่มผู้สูงอายุกลายเป็นโครงการที่ล้มเหลวซ้ำซาก ตำนำพริกละลายแม่น้ำ เทียบไม่ได้กับระบบเงินคนแก่ถ้วนหน้าระบบเดียวที่ได้ดำเนินการมา

ในบทความชิ้นต่อไป ผมจะชวนพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงประเทศที่ใช้ระบบสวัสดิการถ้วนหน้า และขยายความแนวคิดเรื่องเงินเดือนพื้นฐานถ้วนหน้าที่เคยทดลองใช้ในแต่ละพื้นที่ว่ามีผลอย่างไร และจะช่วยให้เราพ้นจาก วิกฤติโควิด -19 ได้อย่างไร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

6 ตุลาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เหลียวซ้ายแลขวา บทเรียนจาก 6 ตุลาคม 2519 : จิตสำนึกสังคมนิยมแห่งยุคสมัย-พวกเขาคือนักสังคมนิยม

24 มิถุนายน 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (2)

22 พฤษภาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (1)

1 พฤษภาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

ปลายฝน – ต้นฤดูฝนที่โรคระบาดเริ่มจางหายแต่ชีวิตคนยังปลิดปลิว : รัฐสวัสดิการถ้วนหน้ากับการสร้างความหมายของชีวิต

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า