เหลียวซ้ายแลขวา บทเรียนจาก 6 ตุลาคม 2519 : จิตสำนึกสังคมนิยมแห่งยุคสมัย-พวกเขาคือนักสังคมนิยม

6 ตุลาคม 2563

“ผู้ใดไม่เคลื่อนไหวต่อต้านย่อมไม่ตระหนักถึงโซ่ตรวนที่มัดตรึงพวกเขาไว้”
Rosa Luxemburg -นักสังคมนิยม

เมื่อปี 2538 ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ เขียนบทความ “ทำไม 6 ตุลาถึงจำยาก” เพื่อถกเถียงความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ว่าควรถูกจัดวางอย่างไรในความทรงจำสาธารณะ ซึ่งอาจารย์เกษียรได้ยกมุมมองที่แตกต่างกันของผู้อยู่ในเหตุการณ์ทั้งสองท่านคือ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล และ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล

อ.ธงชัย พยายามชี้ให้เห็นถึงภาพอุดมคติที่หลากหลายในช่วงเวลานั้นทั้งของนักศึกษา ของประชาชนทั่วไป หรือกระทั่งของฝ่ายขวา การจดจำที่สำคัญการหาจุดร่วมที่สำคัญคือการพิจารณาว่าเรื่องเล่าของผู้คนในสังคมช่วงเวลานั้นพูดถึงเหตุการณ์ไว้ว่าอย่างไร ความทรงจำสาธารณะอาจไม่ใช่สิ่งที่ตรงกับความทรงจำบุคคลทั้งหมด แต่อย่างน้อยที่สุด เราก็สามารถใส่เหตุการณ์การสังหารโหดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไว้ในพื้นที่สาธารณะได้ แม้จะถูกให้ความหมายที่แตกต่างกันจากหลายกลุ่ม

ขณะที่ อ.สมศักดิ์ ชี้ให้เห็นว่าการจดจำที่ดีที่สุด และพึงเป็นในทางประวัติศาสตร์ คือการระบุไปเลยว่า ผู้ที่ถูกกระทำอย่างโหดร้ายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ “นักสังคมนิยม” และเสียชีวิตเพื่อ “อุดมคติแห่งสังคมนิยม”

แม้ข้อสรุปของ อ.เกษียร คือ การมองแบบ อ.ธงชัย กว้างเกิน และ อ.สมศักดิ์ ก็อาจะแคบเกินไป แต่ ณ ปี พ.ศ.ปัจจุบัน เมื่อกระแสสังคมนิยมกลับมา เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจยุคสมัยที่กระแสสังคมนิยมพุ่งสูงที่สุดยุคหนึ่ง และเปรียบเทียบกับยุคสมัยปัจจุบันว่าขบวนการสังคมนิยมไทยสามารถเรียนรู้อะไรได้จากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

1.ฝ่ายขวาที่เปลี่ยนไป

ฝ่ายขวาในช่วง 6 ตุลาคม 2519 เกิดการจัดตั้งความคิดอย่างเป็นระบบ หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ความชอบธรรมของกองทัพลดลง ทำให้ฝั่งอนุรักษ์นิยมนำโดยสถาบันกษัตริย์เอง ต้องมีกระบวนการจัดตั้งทางความคิด และการระดมทรัพยากรขนานใหญ่เพื่อรับประกันสถานะความมั่นคงของฝั่งอนุรักษ์นิยมในช่วงเปลี่ยนผ่าน

งานของ Andrew Turton “การครอบงำและหวาดหลัวในสังคมไทย” ระบุถึงกองกำลังจัดตั้งของฝ่ายขวาในไทยช่วงปี 2516-2519 ผ่าน สงครามจิตวิทยา รวมถึงการได้รับทรัพยากรเพื่อการจัดตั้งมวลชน ค่าเดินทาง วิทยากร การเข้าค่าย รวมถึงเบี้ยเลี้ยงเล็กน้อย จนประมาณปี 2518 อุดมการณ์ฝ่ายขวาขยายในหมู่ประชาชนทั่วไป กลุ่มฝ่ายขวาที่ผ่านการจัดตั้งมีจำนวนหลายหมื่นคน รวมถึงสายสัมพันธ์กับสื่อมวลชนในช่วงเวลานั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มีกระบวนการติดตั้งทั้ง ซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ของการฆ่าอย่างเป็นระบบ

ปรากฏการณ์นี้แตกต่างไปในปี 2563 เพราะยังไม่มีกระบวนการจัดตั้งฝ่ายขวาที่เป็นระบบ แม้จะมีสื่อฝ่ายขวา หรือขบวนการปฏิบัติการทางอุดมการณ์ แต่ก็เป็นระบบน้อยกว่าฝ่ายขวาในช่วง 6 ตุลาเยอะมาก


ดังนั้น ฝ่ายขวาในปัจจุบัน จึงอาศัยฐานที่มั่นที่มั่นคงในกลไกการปราบปรามได้แก่ คุก ศาล ทหาร ตำรวจ และกองทัพ ที่พวกเขามั่นใจในประสิทธิภาพที่ฝ่ากความหวังและสร้างความกลัวได้ดีกว่ากว่ากองกำลังฝ่ายขวา เช่นเดียวกันกับพันธมิตรร่วมชนชั้นนายทุนที่ยังทำงานได้เป็นระบบ

2.องค์ประกอบของฝ่ายซ้าย และแนวทางสังคมนิยม

“หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เราก็ไม่มีพรรคสังคมนิยมหรือพรรคฝ่ายซ้ายในรัฐสภาอีกเลย” รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ กล่าวในการบรรยายพิเศษ “6 ตุลา ความทรงจำสาธารณะ” แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเดือนกันยายน 2563 

เมื่อย้อนไประหว่างปี 2516-2519 “สังคมนิยม” เป็นกระแสหลักของขบวนการต่อสู้ เป็นกระแสหลักของการศึกษาแนววิพากษ์ กลุ่มก้อนทางการเมือง ที่สำคัญคือ พรรคแนวสังคมนิยมในรัฐสภาซึ่งมีที่นั่งในรัฐสภาอย่างมีนัยสำคัญ ขบวนการแรงงาน ขบวนการชาวนา ที่มีบทบาทในการสร้างกระแสการปฏิรูปในชีวิตประจำวันและกลไกทางกฎหมาย ขบวนการนักศึกษามีส่วนสำคัญในการผลักดันกระแสสังคมนิยมสู่การถกเถียงในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่เป็นกลจักรสำคัญในการยกระดับและท้าทายเพดานในการสร้างข้อเรียกร้องในสังคม 

สำหรับประเทศไทยในปี 2563 เงื่อนไขของฝั่งสังคมนิยมมีมากน้อยเพียงใด ประการแรกการขาดพรรคสังคมนิยมในรัฐสภา ในเวลาขวบปีที่ผ่านมาคือการต่อสู้ที่ไม่แหลมคมระหว่าง กลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเสรีนิยม ขณะที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจทำให้พลังการผลิตในระบบสายพานลดลง ดังนั้น กลุ่มแรงงานในระบบที่ยังสามารถรักษางานไว้ได้ส่วนมากคือผู้นำแรงงานที่มีอายุและใช้เวลากับการประนีประนอมมากกว่าการนัดหยุดงานเพื่อแสดงพลัง ในช่วงหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ดังนั้น พลังของขบวนการเคลื่อนไหว จึงไปอยู่ที่กลุ่มแรงงานรุ่นใหม่ แรงงานนอกระบบ แรงงานสร้างสรรค์ที่แบกรับความเสี่ยงเพิ่มเติมมากขึ้น และมีความเชื่อมโยงกับผู้คนที่หลากหลายมากขึ้น และเผชิญเงื่อนไขการกดขี่ที่มากกว่ากลุ่มแรงงานในระบบ และกลุ่มขบวนการนักศึกษาที่มีการกระจายออกจากส่วนกลางมากขึ้น มีความแตกต่างที่การต่อสู้ไม่ได้ผูกติดกับทฤษฎี หรือเป้าอุดมการณ์ที่กลวงเปล่าแบบเสรีนิยม สิ่งที่ปรากฏคือการที่คนรุ่นใหม่จำนวนมากพูดถึงเรื่องอุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตย ด้วยข้อโต้แย้งหลายข้อ ที่ฝั่งอนุรักษ์นิยมผลิตมานับร้อยปีสามารถถูกโต้แย้งด้วยภาษาง่ายๆของขบวนการคนรุ่นใหม่เช่น

– รัฐสวัสดิการไม่คุ้มค่า เรียนฟรีทำไม่ได้เอาเงินจากไหน ?-เคยมีพรรคไหนหาเสียงให้ซื้อเรือดำน้ำมีความคุ้มค่าตรงใด

– คนรุ่นใหม่ควรตั้งใจเรียนอย่าพูดเรื่องซับซ้อนอย่างคมนาคมหรือสาธารณสุข ควรให้ผู้เชี่ยวชาญพูด?  คนธรรมดาก็สามารถพูดเรื่องธรรมดาในชีวิตตัวเองได้

– ทรัพยากรมีจำกัด ดังนั้น ให้รัฐช่วยคนจนก่อน ให้มีกลไกการพิสูจน์ว่าจนจริงๆแล้วควรจะได้? การพิสูจน์ความจนคือการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เราต้องได้ในฐานะสิทธิ์ไม่ใช่ได้เพราะบุญคุณ

ฯลฯ

ความไม่พอใจของขบวนการคนรุ่นใหม่ขมวดสู่อุดมการณ์สังคมนิยม และข้อเรียกร้องเรื่องรัฐสวัสดิการกลายเป็นเรื่องทั่วไป อย่างไรก็ตามขบวนการสังคมนิยมในหมู่นักศึกษาที่มีกระบวนการศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดยังมีอยู่จำกัด และด้วยเงื่อนไขทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ทำให้ขบวนการคนรุ่นใหม่จำนวนมากก็ถูกขังด้วยสภาวะความเปราะบางจนทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าร่วมหรือปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวนักศึกษาจำเป็นต้องต่อสู้ในประเด็นความเสมอภาคทางเศรษฐกิจพร้อมกับประชาธิปไตยทางการเมืองไปพร้อมกันโดยไม่จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญ

3.จังหวะปฏิวัติ-การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเมื่อไร

แม้ไม่สามารถทำนายได้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่สัญญาณที่ชัดเจนคือข้อเรียกร้องของขบวนการต่างๆ มีโอกาสที่ก้าวหน้ามากขึ้น และแผ่ขยายไปในวงกว้างมากขึ้น ดังนั้น การรับข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ หรือการปฏิรูปการเมืองอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ การรับข้อเสนอการสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าของขบวนการภาคประชาชนและนักศึกษาจึงนับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะสามารถลดความขัดแย้งในสภาวะปัจจุบันได้ ขณะเดียวกันองค์กรรวมศูนย์ของขบวนการสังคมนิยมก็มีความจำเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้ เพื่อป้องกันกระแสปฏิกริยาของกลุ่มชนชั้นนายทุนในการที่จะสร้างโวหารปฏิกริยาผ่านองคาพยพของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองในรัฐสภา ข้าราชการ สื่อมวลชน วัด โรงเรียน ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความเท่าเทียมและรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า

“กรรมาชีพจงสามัคคีกันเราไม่มีอะไรต้องเสียนอกจากโซ่ตรวนแต่มีโลกทั้งใบให้เราพิชิต” Karl Marx

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

6 ตุลาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เหลียวซ้ายแลขวา บทเรียนจาก 6 ตุลาคม 2519 : จิตสำนึกสังคมนิยมแห่งยุคสมัย-พวกเขาคือนักสังคมนิยม

24 มิถุนายน 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (2)

22 พฤษภาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

เผด็จการกับการทำลายรัฐสวัสดิการ : ประวัติศาสตร์โดยย่อของการปฏิเสธรัฐสวัสดิการโดยฝั่งอำนาจนิยม (1)

1 พฤษภาคม 2563    โลกใหม่ที่เป็นไปได้

ปลายฝน – ต้นฤดูฝนที่โรคระบาดเริ่มจางหายแต่ชีวิตคนยังปลิดปลิว : รัฐสวัสดิการถ้วนหน้ากับการสร้างความหมายของชีวิต

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า