ความเป็นส่วนตัว และ การยับยั้งโรคระบาด

8 มิถุนายน 2563

เมื่อ ศบค. เริ่มผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง หลังพบผู้ติดเชื้อรายวันน้อยลงต่อเนื่อง จนถึงวันนี้ก็ไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศมาแล้วหลายวัน ห้างสรรพสินค้าสามารถกลับมาเปิดกิจการได้อีกครั้ง โดยมีมาตรการคุมเข้มทั้งกับร้านค้าและผู้ใช้บริการ  

หนึ่งในมาตรการซึ่งคิดว่าทุกคนย่อมรู้จัก นั่นคือ การต้องใช้งานระบบบันทึกการเข้าใช้บริการร้านค้าที่ชื่อว่า “ไทยชนะ” 

ไทยชนะ ไม่ใช่แอพพลิเคชัน ไม่ต้องติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ ใช้วิธีการแสกนคิวอาร์โค๊ดของร้านค้า ซึ่งร้านค้าต้องลงทะเบียนในเว็บไทยชนะก่อน เมื่อผู้ที่จะเข้าใช้บริการร้านค้าแสกนคิวอาร์โค๊ด มือถือจะเปิดเว็บไทยชนะและให้ผู้ใช้บริการใส่เบอร์โทรศัพท์มือถือ จากนั้นทำการเช็คอิน ก็จบขั้นตอนของการบันทึกการเข้าใช้บริการร้านค้า และ เมื่อออกจากร้านก็แสกนคิวอาร์โค๊ดอีกครั้ง เพื่อทำแบบประเมินสั้น ๆ เกี่ยวกับมาตรการของร้านค้า เป็นการเช็คเอ้าท์  

ระบบนี้ไม่ซับซ้อน แนวคิดของการใช้งานระบบ ไทยชนะ คือ การที่หน่วยงานสาธารณสุขตั้งการเก็บข้อมูลบุคคลที่เข้าไปใช้สถานที่สาธารณะ หากเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่ หรือ ร้านค้านั้น ๆ ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ในการติดตามคนที่เข้าใช้บริการในสถานที่ และ ช่วงเวลาเดียวกันนั้น มาตรวจหาเชื้อ 

แน่นอนว่าผู้ใช้บริการ ที่มาใช้บริการร้านค้าต่าง ๆ ต้องยินยอมแลกความเป็นส่วนตัว โดยให้ข้อมูลกิจกรรมการเข้า-ออกร้านค้าต่าง ๆ ให้แก่รัฐ ซึ่งหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนี้ไว้ ซึ่งเท่ากับว่ารัฐมีสมุดบันทึกว่าคุณไปห้างเวลาไหน ไปร้านค้าใดเวลาไหน และ ออกจากร้านค้าไปเวลาไหน ซึ่งจะเก็บข้อมูลเฉพาะจุดที่ผู้ใช้แสกนคิวอาร์โค้ตเท่านั้น  

ปัญหาที่กังวลกันคือ เราไว้ใจการจัดการเทคโนโลยีและข้อมูลส่วนบุคคลของรัฐบาลนี้ได้แค่ไหน  

ที่ผ่านมารัฐบาลประยุทธ์ได้เปิดตัวแอพพลิเคชัน “หมอชนะ” (เคยเขียนเรื่องแอพหมอชนะไว้ที่ https://progressivemovement.in.th/article/ประชาธิปไตยดิจิทัล/523/ ) 

ซึ่งจะนำมาใช้ติดตามและแจ้งความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 แต่ก็ไม่ได้มีการใช้จริงแต่อย่างใด และ ยังมีระบบคล้ายกับ ไทยชนะ อีกทั้งระบบของกระทรวงสาธารณสุข และระบบที่พัฒนาโดยภาคเอกชน ทั้งหมดนี้ต้องการเก็บข้อมูลกิจกรรมในสถานที่สาธารณะของผู้ใช้เพื่อเป็นข้อมูลเมื่อในกรณีมีผู้ติดเชื้อ ดังที่กล่าวมาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้ใช้ต้องลงทะเบียนผ่านระบบต่าง ๆ และวิธีการให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป และ ไม่ชัดเจนว่าข้อมูลเชื่อมโยงกันหรือไม่ 

ในส่วนการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลทุกระบบต่างบอกว่า จะเก็บข้อมูลไว้ระยะเวลาหนึ่งตั้งแต่เพื่อครอบคลุมระยะเชื้อฝักตัว จากนั้นจะลบข้อมูล แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าใครเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ และผู้ใช้จะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้อย่างไร  

ที่สำคัญรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกา เลื่อนการใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ออกไปอีก 1 ปี ทำให้ไม่มีกลไกคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งที่น่ากังวลคือ รัฐบาลนี้จะจัดการข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับ และ ไม่นำไปใช้ในกรณีอื่นนอกจากในสถานการณ์โควิด-19 ตามที่รับปากหรือไม่  

ในกรณีของการให้วิธีการสอดส่องกิจกรรมใช้ชีวิตนอกบ้านของประชาชนเช่นนี้ ควรต้องมีกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจ ที่เข้าไปรุกล้ำสิทธิความเป็นส่วนตัว หลายฝ่ายเสนอแนวทางคณะกรรมการอิสระจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีสถานการณ์โควิด 19 และโดยข้อเท็จจริงแล้ว มีอีกหลายประเทศที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อยับยั้งโรคระบาดและประสบความสำเร็จ โดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวเกินไป เช่น เลือกใช้ระบบที่เก็บข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือเท่านั้น หรือ ให้เป็นการลงทะเบียนในระบบโดยสมัครใจ  

New Normal หรือการใช้ชีวิตวิถีใหม่ ไม่ควรจะเป็นวิถีที่ลดคุณค่าของสิทธิ และ เสรีภาพ หรือ อยู่ใต้การควบคุมสอดส่องตลอดเวลา ซึ่งอาจกลายเป็นความคุ้นชิน และ กลายเป็นระบบให้คะแนนจิตพิสัยโดยรัฐ หรือ บางประเทศที่เริ่มใช้ระบบโซเชียลเครคิตกับประชาชน เช่น ประพฤติตัวไม่ดี ไม่ทำตามที่รัฐกำหนด จะโดยจำกัดสิทธิ์ไม่ให้เดินทางข้ามจังหวัด เป็นต้น  

ก็ได้แต่หวังว่าสังคมไทยจะไม่พ่ายแพ้ต่อ การละเมิด สิทธิ และ เสรีภาพ ภายใต้วาทกรรม “ไทยชนะ” 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า