เทคโนโลยีเพื่อ #ตามหาความจริง

17 พฤษภาคม 2563

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีกระแสข่าวการเมืองใดฮือฮาเท่าภาพการฉายแสงเลเซอร์ #ตามหาความจริง ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สังหารกลางเมือง เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2535 และพฤษภาคม 2553 ซึ่งวันนี้ ความจริงอีกหลายส่วนยังไม่ถูกทำให้กระจ่าง

พูดถึงกระบวนการ #ตามหาความจริง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Fact Finding ในการทำงานด้านข้อมูลแล้ว ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วย การค้นหาข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดชุดข้อมูลที่เชื่อถือได้ ที่เราถือว่าเป็น Fact หรือความจริง ที่สามารถแยกแยะ เรื่องจริง กับ เรื่องเท็จ ออกจากกัน

ย้อนกลับไปในปี 2553 ต้องถือว่าช่วงเวลานั้นประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคโซเชียล ดังนั้น การตามหาภาพถ่าย คลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สังหารโหดกลางเมือง จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก รวมทั้งขณะนั้น นักข่าวภาคสนามก็เริ่มรายงานข่าวด้วยสื่อโซเชียลของตัวเอง แต่ขณะเดียกวัน การเน้นเรื่องความเร็วในการรายงานเหตุการณ์ ก็อาจทำให้ข้อมูลที่รายงานนั้นมีทั้งแหล่งข่าวที่ได้รับการยืนยัน และไม่ได้ยืนยัน

อย่างไรก็ตาม เราอาจจจะเรียกช่วงเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมาของประเทศไทย ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางการเมืองว่า “ทศวรรษที่สูญหาย” แต่ขณะที่ในโลกเทคโนโลยี กลับมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยี ด้านข้อมูล พัฒนามาเป็นเรื่อง big data และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีการเปิดเผยข้อมูลเป็น open data และเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยให้เกิดการร่วมกันทำงานแบบ crowdsourcing และ สำนักข่าวได้พัฒนาตัวเองตามเทคโนโลยีโดยมีกระบวนการที่เรียกว่า วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล หรือ data journalism ขณะเดียวกันพื้นที่การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็ได้เปลี่ยนพื้นที่จากท้องถนน ไปอยู่บนโลกออนไลน์ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อพูดถึงการ #ตามหาความจริง ในปัจจุบัน หากเกิดเหตุการณ์เคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นบนท้องถนน และ บนโลกออนไลน์ ก็จะมีวิธีการหาความจริงที่ทำได้หลากหลายมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี AI สามารถนำภาพถ่าย วีดีโอ จากสถานที่เดียวกันในหลายๆ มุม จากกล้องหลายๆ ตัว มารวมกันเป็นคลิปวีดีโอของเหตุการณ์ได้ การสื่อสารบนโลกโซเชียลสามารถนำมาประมวลผ่านระบบวิเคราะห์ที่เรียกว่า social listening เพื่อดูกระแส หรือหัวข้อที่กำลังพูดถึงอยู่ หรือการนำรูปภาพเหตุการณ์มาช่วยกันวิเคราะห์ในรูปแบบ crowdsourcing แม้รูปนั้นจะแสดงรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แฃะผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการ #ตามหาความจริง นั่นก็คือสื่อมวลชน

หากมองสื่อมวลชนสำนักข่าวหลักๆ ในต่างประเทศ ได้พัฒนาศักยภาพ ในการใช้เทคโนโลยีในการสืบความจริงไปไกลมาก ทั้งการประมวลข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีการเปรียบเทียบภาพถ่ายต่างๆ และร่วมกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เพื่อพัฒนาศักยภาพของสื่อมวลชน หากแต่พัฒนาการของสื่อมวลชนในประเทศไทยดูจะหยุดนิ่ง ถึงแม้บางสื่อมวลชนจะลงทุนพัฒนาด้านเทคโนโลยีกราฟฟิค แต่เมื่อลงลึกด้านเนื้อหาข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ถือว่ายังมีอยู่น้อย

อย่างไรก็ตาม ยังมีสื่อมวลชนในไทย ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทำงานใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี พยายามใช้เทคโนโลยีแสดงความจริงให้ปรากฏ เช่น ช่วงเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2562 มีทีมงานอย่าง Elect.in.th ได้เสนอข้อมูลการเลือกตั้งในมุมมองต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มในการใช้เทคโนโลยีมานำเสนอความจริง

แต่บนโลกออนไลน์ และ โลกข้อมูลข่าวสาร  ใช่ว่าทุกอย่างจะเป็นความจริง ข่าวปลอม ข่าวลวง (fake news, disinformation)  และ ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (information operation) เป็นความท้าทายต่อการ #ตามหาความจริง ในโลกปัจจุบัน

การทำงานเพื่อให้ความจริงปรากฏ จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง พลเมืองเน็ต หน่วยงานวิชาการ ภาคประชาสังคม องค์กรที่เป็นอิสระ ที่ไม่จำกัดว่าจะเป็นหน่วยงานในประเทศ หรือหน่วยงานสากล มาช่วยกันเรียบเรียง แยกแยะ

เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ยอมรับความจริง ชุดเดียว ที่จะเป็นบรรทัดฐานร่วมกันต่อไป

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า