สำรวจโครงสร้างและงบประมาณสถาบันกษัตริย์ญี่ปุ่น ปีงบประมาณ 2565 รวม 5,425.45 ล้านบาท

27 สิงหาคม 2565

ความน่าสนใจของงบประมาณสถาบันกษัตริย์ญี่ปุ่นนั้น ประชาชนจะเป็นผู้กำหนด กล่าวคือ การตัดสินใจเรื่องงบประมาณทั้งหมดเริ่มต้นที่คณะกรรมธิการงบประมาณสถาบันกษัตริย์ Imperial Economic Council (Kōshitsukeizaikaigi) อยู่ภายใต้กฎหมาย Imperial Household Economic Law (Kōshitsu keizai-hō) (1947) 1 มาจากสภา Diet ซึ่งเป็นชื่อเรียกรัฐสภาของประเทศญี่ปุ่น ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตามกฎหมายประกอบไปด้วยกรรมการ 8 คน คือ ประธานสภา, รองประธานสภาฯ, ประธานวุฒิสภา, รองประธานวุฒิสภา, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง, ผู้บัญชาการสำนักพระราชวังหลวง, ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงเงินอุดหนุน การรับรองสมาชิกราชวงศ์ และการอนุมัติเงินก้อนสำหรับการออกจากสมาชิกราชวงศ์ โดยทั้งหมดนั้นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน 6 คน มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีอีก 2 คน (ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนผ่านรัฐสภา) 2

Imperial Economic Council หรือ คณะกรรมธิการงบประมาณสถาบันกษัตริย์ มาจากสภา Diet จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดงบประมาณเงินได้รายวันและรายปีสำหรับราชวงศ์ เรียกรวมๆ ว่างบประมาณพระราชวัง (Kōshitsu-hi) มีสามประเภทด้วยกัน คือ

  • งบประมาณส่วนพระองค์ชั้นใน (Naiteihi) หมายถึงครอบครัวของพระจักรพรรดิ โดยทั่วไปจะเป็นอัตราคงที่ตามที่ระบุในกฎหมายไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเงินเฟ้อ จะไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรของรัฐบาลกลาง แต่จะไปเข้าหน่วยรับงบพระคลังข้างที่ (privy purse)
  • งบประมาณพระบรมวงศ์อื่นๆ (Kōzoku-hi) จะมีการกำหนดชัดเจนว่าตำแหน่งใดจะได้เงินอุดหนุนต่อปีเท่าไหร่ เป็นอัตราคงที่ตามที่ระบุในกฎหมาย ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเงินเฟ้อ จะไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรของรัฐบาลกลาง ซึ่งหากสมาชิกในตำแหน่งใดลาออกไป จะมีการจ่ายเงินให้ตามความเหมาะสม 3 และนำเข้าหน่วยรับงบพระคลังข้างที่ (privy purse)
  • ค่าใช้จ่ายรวมของพระราชวัง ภายใต้รัฐบาล (Kyūteihi) จะเป็นรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระราชวัง โดยจะอุดหนุนเข้าและบริหารงานโดยหน่วยรับงบประมาณสำนักงานภายในพระราชวัง (Imperial Household Agency) ทั้งหมด 4 ค่าใช้จ่ายรวมของพระราชวัง (Kyūteihi) แบ่งเป็นหน่วยย่อยอีก 7 หน่วย ได้แก่
    1. งานพิธี (Giten kankei-hi)
    2. การจัดการพระราชวัง (Kyūden-tō kanri-hi)
    3. ซ่อมแซมพระราชวัง (Kōshitsuyōzaisan shūzen-hi)
    4. การบำรุงรักษาพระราชวัง (Kōkyo-tō shisetsu seibi-hi)
    5. การจัดการทรัพย์สินทางวัฒนธรรม Cultural Property (Bunkazai kanri-hi)
    6. การจัดการรถม้าและม้า (Shaba kanri-hi)
    7. เงินบำรุงรักษาพระราชวังจากภาษีนักท่องเที่ยว (Kokusai kankō ryokaku zei zaigen kōkyo-tō shisetsu seibi-hi) เงินบำรุงจากภาษีนักท่องเที่ยวนั้น หากสังเกตงบประมาณปี 2022 จะน้อยลงมากกว่าหลายพันล้านเยนเนื่องจากสถานการณ์โควิด

 

โครงสร้างการบริหารจัดการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระจักรพรรดิ

ค่าใช้จ่ายรวมของพระราชวังไปอยู่ใน 1 หน่วยงานภายใต้การบริหารของรัฐบาล คือสำนักงานภายในพระราชวัง (Imperial Household Agency) โดยสถาบันจักรพรรดิของญี่ปุ่นนั้นมีการบริหารงานที่เป็นระเบียบอย่างมาก กล่าวคืออำนาจในการจัดการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องสถาบันกษัตริย์หรือสถาบันพระจักรพรรดินั้น รัฐสภา (Diet) นั้นเป็นผู้บริหารทั้งหมดมีเพียงการเซ็นต์แต่งตั้งผู้บริหารประเทศเท่านั้นที่พระจักรพรรดิเป็นผู้ลงนามหลังจากนำเสนอขึ้นโดยสภา โดยมีองค์กรพระราชสำนักของญี่ปุ่นหรือแปลเป็นไทยได้ว่า สำนักงานภายในพระราชวัง Imperial Household Agency (Kunaichō) 5 ถูกย้ายจากการเป็นองค์กรในพระองค์มาเป็นองค์กรภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีหลังจากญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1947 ซึ่งทำให้พนักงานลดลงจาก 6,200 คน เหลือ 1,500 คน (ต่อไปนี้ข้อมูลในบทความนี้จะใช้คำย่อหน่วยงานนี้ว่า IHA)

อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฎิรูปครั้งใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐในปี 2001 องค์กรนี้ได้ย้ายไปอยู่ภายใต้การบริหารของคณะรัฐมนตรีแทนขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี 6 ซึ่งคณะรัฐมนตรีภายใต้การบริหารของนายกเป็นผู้แต่งตั้งผู้นำองค์กรนี้ในตำแหน่ง “ผู้บัญชาการสำนักพระราชวังหลวง” (Director-General) ปัจจุบันคือ Yasuhiko Nishimura อดีตข้าราชการตำรวจและ Deputy Director ของ IHA และ Kenji Ikeda อดีตข้าราชกาลพลเรือน ทั้งคู่จบกฎหมายจาก University of Tokyo 7 โดยตามทางธรรมเนียมปฎิบัติที่ผ่านมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตำแหน่งนี้จะเป็นข้าราชการภายใต้กระทรวงมหาดไทย Home Ministry (Naimu-shō) หรือเป็นผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจโตเกียว The Tokyo Metropolitan Police Department (TMPD) (Keishichō) เท่านั้น โดยองค์กรประกอบด้วยหน่วยงานย่อยดังนี้ 8

  • เลขาธิการมหาดเล็กใหญ่ (Grand Steward’s Secretariat หรือ Kunaichō chōkan kanbō) ก่อตั้งขึ้นปี 701 (สมัยอาณาจักรทวารวดี)ขอบเขตการทำงานให้กำหนดโดยผู้บัญชาการ 9 และจำนวนของเลขาธิการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี 10 ประกอบไปด้วยหลายองค์กรภายใน ได้แก่ กองเลขาธิการ (Hisho-ka) ทำงานเอกสารและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย นำโดยอดีตวุฒิสภา Hiroshi Koga 11 มีหน่วยงานวิจัยและวางแผน นำโดย Yukihiko Kaneko 12 ,กองกิจกรรมทั่วไป (Sōmu-ka) สนับสนุนการเดินทางของสมาชิกราชวงศ์ การช่วยเหลือภัยพิบัติ การสื่อสารองค์กร การทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม นำโดย Chief of the Imperial Palace Shomei Morohashi, กองงานรัชทายาท (Kyūmuka) สนับสนุนกิจกรรมของรัชทายาท นำโดย General Affairs Section Manager Taizo Ishikawa , กองบัญชี , กองดูแลซ่อมแซม , โรงพยาบาลของราชวงศ์ (Kunaichō byōin) เป็นโรงพยาบาลที่อยู่ในพระราชวังซึ่งดำเนินงานเป็นโรงพยาบาลรัฐที่คนภายนอกสามารถใช้บริการได้
  • คณะกรรมการมหาดเล็ก board of chamberlains (Jijūshoku) ก่อตั้งประมาณศตวรรษที่ 8 (สมัยอาณาจักรทวารวดี) สนับสนุนกิจกรรมการทำงานของสมาชิกราชวงศ์ชั้นใน (inner court) นำโดย Hiroro Bessho 13 อดีตเอกอัครราชทูตซึ่งตำแหน่งนี้ในอดีตมักจะเป็นทูตเสมอ
  • มหาดเล็กอดีตกษัตริย์ Emperor Emeritus’ Household (Jōkō-shoku) ก่อตั้งในปี 2019 หลังจากจักรพรรดิ Akihito ลงจากบัลลังก์ 14 มีหน้าที่เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการทำงานของอดีตกษัตริย์
  • มหาดเล็กเจ้าฟ้า Crown Prince’s Household ได้มีการออกกฎหมายก่อตั้งในปี 2017 15 มีหน้าที่เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการทำงานของเจ้าฟ้า
  • กรรมการพิธีการ Board of the Ceremonies (Shikibushoku) ก่อตั้งประมาณศตวรรษที่ 8 สมัย Asuka ในประมวลกฎหมายไทโฮ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นชื่อในปัจจุบันปี 1884 บริหารโดย Grand Master of the Ceremonies (Shikibu-kanchō) Yoshitaka Akimoto 16 อดีตทูต มีหน่วยงานสนับสนุนงานพิธีการ งานดนตรี หน่วยงานคณะกรรมการดนตรีที่ดูแลเรื่องงานแสดงทางศิลปะโบราณและหน่วยงานสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเยือนและต้อนรับแขกต่างประเทศ
  • คณะจดหมายเหตุและสุสานโบราณ Archives and Mausolea Department (Shoryō-bu) บริหารโดยผู้บัญชาการสำนักพระราชวังหลวง ซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็นหลายหน่วยงานคือ กองคลังเอกสาร (Tosho-ka) จะเก็บจดหมายเหตุของราชวงศ์โดยจะทำงานเกี่ยวข้องกับหอสมุดแห่งชาติ , กองแก้ไข (Henshū-ka) ทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เอกสารทางประวัติศาสตร์และเอกสารในปัจจุบัน , กองสุสานโบราณ (Ryōbo-ka) รับผิดชอบการบำรุงรักษา ขุดค้น และศึกษา หลุมศพทางประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ , สำนักงานสาขากองสุสานโบราณ (Ryōbo kanku jimusho) สำนักงานย่อยของกองสุสาน กระจายตามภาคต่างๆ Tama, Momoyama, Tsukinowa, Unebi และ Furuichi
  • แผนกจัดการ (Kan ri-bu) บริหารโดยผู้บัญชาการสำนักพระราชวังหลวงเช่นกัน แบ่งย่อยออกเป็นหลายหน่วยงานคือกองการจัดการ (Kan ri-ka) รับผิดชอบการจัดการทรัพย์สินของประเทศ เช่น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งสำนักงานภายในพระราชวังเป็นเจ้าของ ต้อนรับแขกที่จะเข้ามาเยี่ยมพระราชวัง และดูแลการซ่อมแซมพระราชวัง การทำความสะอาด การรักษาความสะอาด รวมไปถึงการดูแลฟาร์มของวัง , กองการก่อสร้าง (Kōmu-ka) รักษาทรัพย์สินของประเทศที่สำนักงานฯเป็นเจ้าของ โดยการออกแบบ ก่อสร้างหรือซ่อมแซม ท่อประปา ไฟฟ้า แก้ส , กองสวน (Teien-ka) , กองอาหารวัง (Daizen-ka) ทำอาหารสำหรับสมาชิกราชวงศ์ , กองรถม้าและม้า (Shaba-ka) , กองบริหารพระราชวัง (Kyūden kanri-kan) รับผิดชอบ บำรุงรักษาและการก่อสร้างส่วนรักษาความปลอดภัยพระราชวัง , สำนักงานจัดการพระราชวังอื่นๆ (Goyōtei kanri jimusho) รับผิดชอบ บำรุงรักษา Nasu Imperial Villa, Suzaki Imperial Villa, Hayama Imperial Villa , กองจัดการสวนฝั่งตะวันออกของพระราชวัง (Kōkyo azuma gyoen kanri jimusho)
  • สำนักงานทรัพย์สินโชโซอิน (Shōsōinjimusho) รับผิดชอบการเก็บรักษาและบำรุงรักษาทรัพย์สมบัติ รวมไปถึงการสำรวจ การศึกษา การจัดการ การซ่อมแซมในพื้นที่จังหวัดนารา (Nara)
  • ฟาร์มวัง (Goryō bokujō) รับผิดชอบการเลี้ยงสัตว์และทำการเกษตรสำหรับราชวงศ์
  • สำนักงานจัดการเกียวโต (Kyōto jimusho) รับผิดชอบการบำรุงรักษาทรัพย์สินส่วนกษัตริย์ เช่น Kyoto Imperial Palace, Kyoto Omiya Palace, Sento Imperial Palace, Katsura และ Shugakuin Imperial Villas รวมไปถึงพื้นที่รอบๆ Momoyama, Tsukinowa, Unebi และ Furuichi ที่มีสุสานโบราณตั้งอยู่

โดยในปี 2022 ทุกหน่วยงานทั้งหมดนั้นมีพนักงานรวมทั้งหมด 1,079 คน 17 แบ่งเป็นตำแหน่งพิเศษ เช่น ผู้บัญชาการฯ 70 คน และตำแหน่งทั่วไป 1,009 คน


รายละเอียดงบประมาณของสถาบันพระจักรพรรดิ


ประการแรก งบประมาณส่วนพระองค์ชั้นใน (Naiteihi)

ค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ จำนวน 85.9 ล้านบาท

กำหนดเป็นกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร 18 ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมธิการงบประมาณสถาบันกษัตริย์: Imperial Economic Council และหน่วยรับงบประมาณจะเป็น privy purse (พระคลังข้างที่) ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับ IHA 19 โดยสมาชิกในครอบครัวราชวงศ์ชั้นในมีทั้งหมด 5 คน ประกอบด้วย

  1. Emperor Naruhito
  2. Empress Masako
  3. Aiko, Princess Toshi
  4. Emperor Emeritus Akihito
  5. Empress Emerita Michiko

เฉลี่ยแล้วได้งบประมาณใช้จ่ายคนละประมาณ 65 ล้านเยน (17 ล้านบาท) หรือประมาณสองเท่าของพระบรมวงศ์ชั้นเจ้าชาย/เจ้าหญิง


ประการที่สอง งบประมาณพระบรมวงศ์อื่นๆ (Kōzoku-hi)

ค่าใช้จ่ายพระบรมวงศ์อื่นๆ จำนวน 69 ล้านบาท

ถูกกำหนดเป็นกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมธิการงบประมาณสถาบันกษัตริย์: Imperial Economic Council อย่างเคร่งครัด และหน่วยรับงบประมาณจะเป็น privy purse (พระคลังข้างที่) ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับ IHA โดยจะระบุตามตำแหน่งและสถานะของการสืบสายเลือด รวมทั้งหมด 14 คน ดังนี้ 20

  1. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเจ้าชายหรือเจ้าหญิงในตำแหน่ง คนละ 30.5 ล้านเยน ตอนนี้มี 6 คน รวม 183 ล้านเยน
  2. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายของคู่ครอง คนละ 15.25 ล้านเยน ตอนนี้มี 3 คน รวม 45.75 ล้านเยน
  3. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายของเจ้าชายและเจ้าหญิงที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง คนละ 9.15 ล้านเยน ตอนนี้มี 1 คน
  4. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่ไม่มีสิทธิ์สืบราชสมบัติ คนละ 6.405 ล้านเยน ตอนนี้มี 3 คน รวม 19.2 ล้านเยน
  5. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายของเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง คนละ 3.05 ล้านเยน ตอนนี้มี 1 คน

ประการที่สาม ค่าใช้จ่ายรวมของพระราชวัง ภายใต้รัฐบาล (Kyūteihi)

ส่วนบุคลากรของสำนักงานฯ จำนวน 3,198.8 ล้านบาท

ระบบการอุดหนุนงบประมาณส่วนใหญ่กว่า 92% ให้กับสถาบันกษัตริย์ของญี่ปุ่นนั้น จะทำผ่านสำนักงานภายในพระราชวัง (Imperial Household Agency) และจะใช้ทรัพยากรบุคคลจากองค์กรนี้เท่านั้นไปทำงานตามหน้าที่ต่างๆ


โครงการบำรุงรักษาพระราชวัง จำนวน 1,180.51 ล้านบาท

เป็นงบประมาณที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละปี แล้วแต่ความจำเป็นของสถานที่ต่างๆ โดยจัดงบประมาณผูกพัน 3-4 ปี ซึ่งจะแยกแหล่งที่มาของเงินอุดหนุนเป็นเงินทั่วไป และเงินพิเศษที่มาจากรายได้การท่องเที่ยวพระราชวังต่างๆ โดยในปีที่มีนักท่องเที่ยวน้อยลงอย่างปี 2565 งบประมาณส่วนนี้ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยว อีกข้อสังเกตคืองบประมาณแต่ละส่วนแจกแจงมาได้ละเอียด ไม่มีการให้เงินเป็นก้อนแต่มาจากการคำนวณราคาค่าก่อสร้างมาก่อน 21


การบริหารจัดการ จำนวน 378.2 ล้านบาท

นอกจากการแยกงบประมาณทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สินแล้ว มีการแยกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริหาร และการจัดการทรัพย์สินเฉพาะ เช่น ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม และม้าวัง 22


กิจกรรมส่งเสริมฯ จำนวน 247.5 ล้านบาท

เป็นเงินอุดหนุนกิจกรรมต่างๆ เช่น พิธีการทางการ หรืองานเลี้ยงแขกจากต่างประเทศ 23


ประการที่สี่ งบถวายความปลอดภัย

งบถวายความปลอดภัย จำนวน 265.5 ล้านบาท

งบประมาณส่วนนี้ไม่ได้รวมใน IHA แต่แยกไปอยู่ในส่วนของตำรวจวังหลวงที่อยู่บริเวณพระราชวังหลวง จำนวนตัวเลขนี้ใช้การประมาณการจาก เอกสารงบประมาณตำรวจญี่ปุ่น ปีงบประมาณ 2561 24



อ้างอิง

[1] Articles 8 – 11 of the Imperial Household Economic Act

[2] IHA 2022, List of members of the Imperial Economic Council

[3] the Imperial House Economy Law, Article 6 and the Law for the Enforcement of the Imperial House Economy Law, Article 8

[4] the Imperial House Economy Law, Article 5

[5] 宮 = miya พระราชวัง 内 = uchi ภายใน 庁 = chou สำนักงาน

[6] Imperial Household Agency Act 1990

[7] Yasuhiko Nishimura is the director of the Imperial Household Agency, and Kenji Ikeda is the deputy general.

[8] Organization and Functions of the Imperial Household Agency

[9] Imperial Household Agency Act 1990 Article 3

[10] Imperial Household Agency Act 1990 Article 9

[11] List of executives About the Imperial Household Agency

[12] List of executives About the Imperial Household Agency

[13] List of executives About the Imperial Household Agency

[14] Special Law of the Imperial House Act on the Emperor’s abdication, etc. 2019

[15] Special Law of the Imperial House Act on the Emperor’s abdication, etc. 2017

[16] List of executives About the Imperial Household Agency

[17] Imperial Household Agency 2022, Staff

[18] Imperial Economic Law Enforcement Law (Kōshitsukeizaihōshikōhō)

[19] the Imperial House Economy Law, Article 4 and 6

[20] Imperial Household Agency, Breakdown of royal expenses by each miyake (Reiwa 4th year) 皇族費の各宮家別内訳(令和4年度)

[21] Imperial Household Agency, Reiwa 4th Expenditure Budget Request Under the jurisdiction of the Cabinet Office (Imperial Household Agency) 内閣府所管(宮内庁)

[22] Imperial Household Agency, 01 Imperial expenses jurisdiction (Imperial expenses (Imperial expenses)) 01 皇 室 費 所 管 (皇室費(皇室費))

[23] Imperial Household Agency, 01 Imperial expenses jurisdiction (Imperial expenses (Imperial expenses)) 01 皇 室 費 所 管 (皇室費(皇室費))

[24] Cabinet Office, Government of Japan, 2018 administrative business review sheet (平成30年度行政事業レビューシート)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า