ลดภาษีท้องถิ่น เครื่องมือหาซีนของรัฐบาล (คืนอำนาจท้องถิ่น ตอนที่ 2)

23 พฤษภาคม 2565


ตอนที่ 2 ของ “ซีรีส์คืนอำนาจท้องถิ่น” กับ อาจารย์วีระศักดิ์ เครือเทพ นักวิชาการด้านการคลังท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พูดคุยเรื่องปัญหาเงินๆ ทองๆ ของท้องถิ่น ที่ส่งผลต่อการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ท้องถิ่นในจังหวัดอื่นๆ เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แม้แต่ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอย่างกรุงเทพมหานครก็ได้รับผลกระทบด้วย ตอบคำถามว่าทำไมท้องถิ่นมีเงินไม่พอ อุปสรรคหรือข้อจำกัดในการหารายได้ของท้องถิ่นมีสาเหตุจากอะไร ท้องถิ่นไม่มีอิสรภาพทางการเงิน ใครเป็นคนทำ และเรื่องนี้มีทางออกไหม?

(อ่านตอนที่ 1 : https://progressivemovement.in.th/article/7362/)

วีระศักดิ์เริ่มต้นอธิบายว่า ปัญหารายได้ของท้องถิ่นนั้น แย่มาตลอด แต่ถูกซ้ำเติมให้รุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงโควิด-19

ส่วนสำคัญเป็นเพราะการออกแบบกฎหมายกระจายอำนาจ (พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542) ที่อาจจะผิดพลาดเพราะเรารีบทำ จึงใช้หลักการให้ท้องถิ่นยังต้องพึ่งพารายได้ของรัฐ ไม่ได้ออกแบบให้ท้องถิ่นมีอำนาจออกกฎหมายเก็บภาษีของตัวเองได้ ทั้งที่เราต้องการให้ท้องถิ่นมีเงินเยอะ แต่กลับให้เป็นรายได้ที่รัฐบาลเก็บภาษีแล้วแบ่งให้ เรียกว่า “ภาษีแบ่ง” บวกเติมเงินอุดหนุนไปอีกก้อน

ในขณะที่หลายประเทศ ออกแบบโครงสร้างรายได้ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีอิสระเต็มที่ คิดเองเก็บเอง มันจะได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ประเทศไทย ภาษีต่างๆ ที่ท้องถิ่นเก็บเองทุกวันนี้ ยังคงอยู่ในอาณัติรัฐบาล หมายความว่า รัฐต้องเขียนกฎหมายให้ ท้องถิ่นถึงมีอำนาจเก็บ ดังนั้น ไม่ว่ารัฐจะเปลี่ยน-เพิ่ม-ลด- ยกเลิก ท้องถิ่นไม่มีสิทธิมีเสียงพูดเลย ได้แค่ปฏิบัติตาม

โครงสร้างหรือฐานคิดแบบนี้จึงโยงมาถึงการจัดเก็บรายได้หลายๆ ตัวของท้องถิ่น เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ควรให้อิสระแก่ท้องถิ่นในการคิด ออกแบบ และจัดเก็บ เพราะถ้าท้องถิ่นใช้ดี มันจะสร้างความรับผิดรับชอบให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ท้องถิ่นต้องอธิบายประชาชนว่าต้องเก็บภาษีที่ดินแล้วก็จะได้อธิบายต่อว่าจะเก็บไปทำอะไร อัตราเท่าไรจึงเหมาะสม เมืองที่เจริญอาจเก็บแพงก็ได้ หลายประเทศเป็นแบบนี้ทั้งนั้น เป็นแหล่งรายได้หลักของท้องถิ่น เอาไปใช้ในการจัดบริการ

แต่ปรากฏว่ารัฐก็ไม่ยอม กลับเขียนกฎหมายกลางขึ้นมา กำหนดให้ต้องใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ วันดีคืนดีรัฐบาลบอกว่าเกิดวิกฤติโควิด เช่นปี 2563-2564 อยากลดภาษีให้ประชาชน แต่รัฐบาลกลับไม่ลดภาษีของตัวเอง ไปลดภาษีที่ดินฯ ที่เป็นรายได้ของท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นรายได้ที่สูงมากของท้องถิ่น จากปกติร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ใครซื้อบ้านโอนบ้าน จากต้องเสียล้านละสองหมื่นบาท เหลือล้านละร้อยบาท เงินรายได้ที่จะใช้พัฒนาท้องถิ่นเลยเหลือน้อยลง

เครื่องมือนี้ไม่ใช่เพิ่งใช้โดย คสช. แต่รัฐใช้มาตลอด เช่น ปี 2552 ที่เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หรือ ปี 2554 และปี 2563-2564 ทำแล้วรัฐบาลได้เครดิตทางการเมือง บอกว่าดูแลประชาชนดูแลธุรกิจ แต่ทำปุ๊บรายได้ท้องถิ่นลด รัฐเคยชดเชยกลับให้ท้องถิ่นหรือเปล่า แม้ในปี 2563 จะคืนให้บางส่วน แต่ก็ต้องเกิดจากการต่อสู้เรียกร้องถึงจะได้มา แต่ก็เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น

อีกตัวอย่างคือภาษีสิ่งแวดล้อม ในเมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อม คนที่รับผลกระทบและต้องรับผิดชอบโดยตรงคือท้องถิ่น หลายประเทศยกให้ท้องถิ่นจัดการเลย ที่ผ่านมาเราพยายามผลักดันตรงนี้ แต่รัฐบาลไม่เคยเปิดให้ ท้องถิ่นจะไปออกข้อบัญญัติของตัวเอง เก็บภาษีสิ่งแวดล้อมก็ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายแม่บทรองรับ ซึ่งเป็นเรื่องแปลก

ในหลายประเทศ ข้อบัญญัติท้องถิ่นคือกฎหมาย อำนาจเต็มอยู่ตรงนั้น แต่ของเรารัฐกลับอ้างว่าพอไม่มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ข้อบัญญัติท้องถิ่นจึงไม่มีความหมาย อันนี้ไม่เห็นด้วยและไม่ใช่หลักการที่ถูกต้องเพราะกฎหมายที่ควรเป็นหลังพิงของท้องถิ่นคือ พ.ร.บ.จัดตั้งท้องถิ่นแต่ละประเภท การออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม จึงควรทำได้ ถ้าเขาทำอย่างถูกกระบวนการ มีการรับฟังความคิดเห็น ประชาคมมีส่วนร่วม

ดังนั้น หากถามว่าที่ผ่านมา ท้องถิ่นพึ่งพาตนเองทางการคลังไม่ได้ เป็นเพราะอะไร ก็เพราะการออกแบบกฎหมายอย่างที่ว่า ทำให้รายได้ท้องถิ่นที่ควรได้ กลับไม่ได้ ท้องถิ่นมีเงินไม่พอสำหรับจัดบริการ แถมยังสร้างตราบาปว่าท้องถิ่นไม่เห็นเก็บภาษีเองเลย รัฐบาลต้องเลี้ยงดูตลอด คำถามกลับคือ แล้วใครทำให้เป็นแบบนี้ รัฐบาลไม่ใช่หรือ ทำไมไปโทษท้องถิ่นฝ่ายเดียว

นั่นจึงเป็นที่มาว่าการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปลดล็อกท้องถิ่นจึงสำคัญ

(อ่านตอนที่ 3 ต่อ : https://progressivemovement.in.th/article/7435/)



ร่วมลงชื่อปลดล็อกท้องถิ่นที่จุดลงชื่อทั่วประเทศ หรือทางออนไลน์ที่ : https://progressivemovement.in.th/campaign-decentralization

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า