10 ปี สลายชุมนุม พฤษภาคม 2553 : ถึงเวลาหรือยังให้สัตยาบัน ICC ?

17 พฤษภาคม 2563

ครบรอบการเสียชีวิตของประชาชนในเดือนพฤษภาคม 2553 ก็มีความเคลื่อนไหว #ตามหาความจริง ทวงถามจากผู้เกี่ยวข้องในการสลายชุมนุมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายในเหตุการณ์รนั้น ซึ่งเวลาผ่านมาแล้ว 10 ปี เป็นที่แจ่มชัดว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยน่าจะคืนความยุติธรรมให้ผู้เสียหายได้ไม่ดีนัก ภาคประชาชนต่างๆ จึงเริ่มไม่พอใจ

ในหลายประเทศที่อำนาจเผด็จการโจ่งแจ้งหรือซ่อนรูปยังอยู่ ความยุติธรรมจะเกิดยาก “ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court หรือ ICC )” จึงมีหน้าที่มาอุดช่องว่างนี้ โดยมีกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา ยูโกสลาเวียและกัมพูชา เป็นสาเหตุของการจัดตั้งองค์กรขึ้นมา

มีรัฐลงนามประสงค์เข้าร่วมเป็นภาคีทั้งหมด 139 รัฐ รวมถึงไทย และในปัจจุบันนี้เป็นรัฐภาคีเนื่องจากให้สัตยาบันแล้ว 122 รัฐ เกินกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกองค์กรสหประชาชาติ โดยมีผลบังคับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2545 รัฐไหนเป็นภาคีแล้วต้องใช้เวลา 60 วันจึงจะมีผลใช้บังคับ

เมื่อเป็นภาคีแล้ว แต่ละรัฐก็จะออกกฎหมายให้สอดคล้องหรืออนุวัตรตามแนวทางของ “ธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute)”

สถานะของไทย คือ ลงนามแล้ว แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน จะใช้บริการของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หรือไม่ เพื่อแสวงหาความยุติธรรมให้กับผู้ที่บาดเจ็บล้มตายจากเหตุเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

เงื่อนไขการรับคดี มี 4 องค์ประกอบดังนี้

1.มีการกระทำความผิดในเขตอำนาจศาล 3 อำนาจดังนี้

  • อำนาจตามหลักดินแดน (รวมอากาศยานและเรือ) ได้แก่เป็นรัฐภาคีและผ่าน 60 วันแล้วจึงเกิดเหตุความผิดขึ้นประการหนึ่ง และ ไม่ได้เป็นรัฐภาคีอะไรเลย แต่รัฐบาลแถลงยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นเฉพาะกรณี ๆ ไป โดยมีเงื่อนไขไม่ย้อนเกินอำนาจตามหลักเวลาเป็นประการที่สอง
  • อำนาจตามหลักเวลา ได้แก่ เหตุการกระทำความผิดต้องไม่เกิดก่อนวันที่ 1 กรกาคม 2545 ที่ธรรมนูญมีผลบังคับใช้
  • อำนาจตามหลักบุคคล ได้แก่ ผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องได้ ต้องเป็นผู้เสียหายหรือเหยื่อเท่านั้น ผู้ที่กระทำความผิดเป็นบุคคลไม่ใช่รัฐและต้องเป็นบุคคลในรัฐภาคีเท่านั้นโดยสัญชาติ หรือเลขาธิการสหประชาชาติโดยสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเห็นชอบ ยื่นเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณา

2.เป็นความผิดร้ายแรง 4 ประเภทได้แก่

  • ความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ได้แก่การสังหารอย่างเป็นระบบต่อผู้มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ศาสนาหรือความเชื่อทางการเมือง
  • ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ได้แก่การสังหารอย่างเป็นระบบต่อพลเมืองทั่วไป (หมายถึงไม่มีความเชื่อแตกต่างกันอย่างชัดเจน)
  • ความผิดฐานอาชญากรสงคราม ได้แก่การกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายสงคราม เช่น ผู้ที่ยอมแพ้ยกธงขาวแล้วยังสังหาร หรือยิงเข้าไปในศาสนสถาน โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่พยาบาล เป็นต้น
  • ความผิดอาญาฐานรุกราน เป็นเรื่องการสั่งบุกเข้าไปในประเทศอื่น (กรณีนี้ ไทยสงวนไว้)

3.ศาลในประเทศไม่ดำเนินการสอบสวนจนได้ผู้กระทำผิด หรือไม่เต็มใจทำคดี หรือมีเหตุอื่นให้ทำไม่ได้ เช่นกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นต้น

4.คดีเป็นประโยชน์ต่อความยุติธรรมหรือไม่ กล่าวคือ ดำเนินคดีแล้วผู้มีอำนาจทั้งหลายจะกลัว ไม่กล้าทำผิดต่อพลเมืองของตัวหรือไม่ เป็นต้น

ก่อนจะไปถึงเราจะมีวิธีหาความจริงได้อย่างไร ก็มาดูอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรมนี้ได้ ซึ่งมีกรณีสำคัญที่ฝ่ายทหารมักอ้างถึงอยู่เสมอคือ ธรรมนูญกรุงโรมนี้ไม่ได้ยกเว้นความผิดประมุขของรัฐหากทำผิด

คำถามคือ กฎหมายนี้หมายถึงใคร ซึ่งต้องเข้าใจว่าประมุขของรัฐที่มีอำนาจฝ่ายบริหารด้วยจึงจะสั่งการทำผิดได้นั้น ในปัจจุบันมีแค่ระบอบกษัตริย์และระบอบประธานาธิบดีที่เป็นผู้บริหารเช่นในสหรัฐอเมริกา หรืออเมริกาใต้

ประมุขของรัฐในระบอบรัฐสภาเช่นของไทย หรืออย่างกรณีของประเทศในยุโรป อังกฤษ หรืออินเดียนั้น ผู้รับผิดชอบในการบริหารเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีหลักการว่า พระมหากษัตริย์จะไม่เป็นผู้กระทำผิด ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์กระทำการใดๆ ก็ไม่ผิด แต่หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในฝ่ายบริหารกระทำการภายใต้พระปรมาภิไธย ที่เรารู้จักกันว่า “ผู้รับสนอง…” นั่นเอง

ดังนั้น ประมุขในระบอบการปกครองที่เป็นระบบรัฐสภา จะไม่มีโอกาสทำผิดได้เลย เป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองทั้งนั้น หากจะมีความผิดเกิดขึ้น ก็ต้องรับโทษไปตามควร เช่น โดนอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือโดยคดีความไป

มาดูตัวอย่างในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 5 เขียนไว้คล้ายรัฐธรรมนูญของไทยว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะตำหนิหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ ความรับผิดชอบของพระมหากษัตริย์ขึ้นอยู่กับคณะรัฐมนตรี” ส่วนของไทยเรามีงานที่รัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองฯ ได้ ของนอร์เวย์ไปทั้งคณะฯ

เงื่อนไขฝ่ายทหารที่ขวางการให้สัตยาบันโดยการอ้างพระมหากษัตริย์ของทหารนั้น ไม่มีอะไรมากนอกจากจะต้องการรักษา “การรัฐประหาร” ไว้เท่านั้น

ในส่วนการแสวงหาความจริงเรื่องการกระชับพื้นที่จนเกิดการสูญเสียขึ้น แนวทางที่ง่ายที่สุดคือ สนับสนุนให้ฝ่ายประชาธิปไตยได้อำนาจรัฐ และคอยฟังว่าพรรคการเมืองไหน สนับสนุนการให้สัตยาบันกับ ICC และจะให้มีการสอบสวนเหตุการณ์ปี 2552 หรือ 2553 แล้วแต่กรณีก่อนให้สัตยาบัน พรรคไหนหาเสียงเช่นนี้ ก็ให้การสนับสนุน

อีกแนวทางหนึ่งคือเหยื่อหรือผู้เสียหายฟ้องร้องเอง กรณีนี้ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ทนายอัมสเตอร์ดัม เลิกราไปเพราะอะไร ในเรื่องสัญชาติของผู้กระทำความผิดเป็นใครก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับกรณีและถือสัญชาติรัฐที่เป็นภาคี หากมีหลักฐานสามารถดำเนินการได้ทันที

ประเด็นสำคัญหากจะดำเนินการข้างต้นคือ เรื่องเขตอำนาจศาลต้องชัดเจนทั้ง 2 วิธี และ การฟ้องต้องมีตัวตนชัดเจน ไม่ใช่ข่าวลือ ไม่ใช่เรื่องความขัดแย้งทางการเมืองปกติ แต่ต้องทำอย่างเป็นระบบ กว้างขวางและผิดตามองค์ประกอบความผิดข้างต้นเสมอ

การกลับมาทบทวนเรื่องนี้ อีกครั้งไม่สายเกินไป การชุมนุมประท้วงของชาวเกาหลีใต้ที่เมืองกวางจู เมื่อ 18 พฤษภาคม 1980 ถูกปราบปราม พลเมืองบาดเจ็บ ล้มตาย จำนวนมาก สุดท้ายผู้เกี่ยวข้องก็ขึ้นศาลและมีความผิดในปี ค.ศ. 1996 ใช้เวลา 16 ปี

หลังจากหมดยุคการสืบทอดอำนาจจากเผด็จการ เกาหลีใต้ที่เคยยากจน ก็กลับเป็นเกาหลีใต้เช่นปัจจุบันดังที่เห็นกัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า