จัดฉากพ่อมึงสิ! คำสั่ง “คุมเข้มสื่อ” แท้จริงแล้วคือ “ควบคุมประชาชน”

30 กรกฎาคม 2564

ในที่สุดประเทศไทยก็เดินมาถึงจุดที่ประชาชนต้องระมัดระวังคำพูด ระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียช่องทางส่วนตัว

โดยเฉพาะข้อความที่ “ไม่เป็นคุณ” กับรัฐบาล

นิยายต้านเผด็จการอันโด่งดังเรื่อง “1984” ของ จอร์จ ออลเวลล์ มี “พี่เบิ้ม” หรือ “บิ๊ก บราเธอร์” คอยสอดส่องจับผิดประชาชน

สถานการณ์หลังจากราชกิจจาฯ ฉบับ 29 ประกาศคุมเข้มสื่อออกมา ก็แทบไม่ต่างกัน

ผมคิดไปถึงเรื่องสั้นของตัวเองชิ้นหนึ่งชื่อ “คำสารภาพของนักพูด” กับพล็อตอย่างเด็กเกิดใหม่ทุกคนจะถูกฝังไมโครชิพไว้กับตัว เพื่อง่ายต่อการที่รัฐจะติดตาม สอดส่อง ควบคุม

ก็หวังว่าจะเป็นเพียงแค่จินตนาการ สถานการณ์บ้านเมืองของเราคงไม่ไปถึงจุดนั้น

ถามว่าผมมีปัญหาอะไรกับประกาศฉบับนี้?

แน่นอนว่าในฐานะคนทำสื่อ ถ้าไม่รู้สึกรู้สากับเรื่องนี้ ก็ไม่รู้จะเรียกตัวเองว่า “สื่อมวลชน” ได้อย่างไร หรือแม้แต่นักวิชาการ นักเขียน ปัญญาชน ควรต้องออกมาประกาศจุดยืน ไม่ยอมรับกับคำสั่งนี้

คำสั่งตามราชกิจจาฯ ฉบับนี้ เป็นสิ่งที่ยิ่งย้ำให้ชัดยิ่งขึ้นอีกว่า รัฐบาลภายใต้การนำของประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีประสิทธิภาพ ล้มเหลวในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19

“ประเทศไทยต้องชนะ” กลายเป็น “ประเทศไทยเละตุ้มเป๊ะ”

กฎหมายพิเศษอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินประกาศใช้มาตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 ยืดอายุแล้วยืดอายุอีกมานับถึงวันนี้ก็ 1 ปี 4 เดือนกว่าแล้ว รัฐบาลมีอำนาจพิเศษทำโน่นทำนี่มากมาย แต่กลายเป็นว่าเหมือนไม่มีผลงานความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์

ตรงกันข้าม มาตรการภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ล้วนแต่เป็นคำสั่งห้ามโน่นห้ามนี่ อย่างที่ละเมิดเสรีภาพหนักสุดในช่วงนี้ก็คือ “เคอร์ฟิว” ซึ่งสร้างผลระทบในทางลบกับประชาชนมหาศาล

มีคนตกงาน มีคนอดตาย มีคนฆ่าตัวตาย ฯลฯ

นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อย่างที่มีคนปากพล่อย รวมถึงไอโอ (IO) ออกมาด้อยค่า บอกว่าเป็นการ “จัดฉาก”

คนตกงาน คนอดตาย คนฆ่าตัวตาย ฯลฯ ความไม่ปกติเหล่านี้ สื่อมวลชน หรือแม้แต่ประชาชนต้องออกมาพูด ออกมาช่วยกันส่งเสียง ต้องไม่ปล่อยให้เกิดขึ้นเรื่อยๆ ไป ต้องไม่ปล่อยให้อยู่ๆ ไป เหมือนอย่างที่วันนี้เราเองก็อาจเคยชินและยอมรับไปแล้วกับการดำรงอยู่ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

อย่างที่เราประจักษ์ชัดกันแล้วว่ารัฐบาลนี้ขับเคลื่อนด้วยการด่า แต่กลายเป็นว่า วันนี้พวกเขาไม่อยากให้ใครด่า

ใช่หรือไม่ว่าคำสั่งตามราชกิจจาฯ ล่าสุดนี้ เพื่อปกปิดผลงานที่ไม่ค่อยมีของรัฐบาล? เพื่อไม่ให้ใครรู้ว่ารัฐบาล(ไม่ได้)ทำอะไร? เพื่อปกปิดความล้มเหลวทั้งสิ้นทั้งปวง?

จึงเกิดคำสั่ง “คุมเข้มสื่อ”

นอกจากผิดหลักการณ์ที่ว่า “เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน” แล้ว เมื่อไปดูในรายละเอียด กลับพบด้วยว่า การ “คุมเข้ม” นี้อาจไม่ได้ใช้แต่กับสื่อมวลชนเท่านั้น หากยังรวมถึงประชาชนทุกคนด้วย

เพราะในข้อความที่ว่า “สื่ออื่นใด” นี่คือใครๆ ก็ได้ใช่หรือไม่? คนที่มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียเกิน 10 คน นับเป็น influencer ด้วยหรือไม่?

ข้อความที่ว่า “ทำให้เกิดความกลัว” เป็นอย่างไร? การนำเสนอข่าวการแพร่ระบาดของโควิด-19 รายงานจำนวนยอดผู้ติดเชื้อ จำนวนยอดผู้เสียชีวิต นิยามได้มั้ยว่าทำให้เกิดความกลัว?

หรือแม้แต่ “บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร” นี่ก็เหมือนยิ่งปิดกั้นไม่ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์จากใครใดๆ ทั้งสิ้น

มันเหมือนสัญญาณเตือนว่า ดาราคนใดจะออกมา Call out ต่อจากนี้ก็โปรดคิดให้จงหนัก ประชาชนโพสต์จะพิมพ์อะไรก็คิดให้จงดี ใช่หรือไม่?

นาทีนี้ รัฐบาลในนามของ กสทช.ถือกระบองยักษ์ คอยจ้องทุบหัวคนคิดต่าง คนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล

ดังนั้น จึงไม่ใช่แค่สื่อมวลชน นักข่าว นักเขียน นักวิชาการ ที่ควรจะต้องเดือดร้อนกับคำสั่งดังกล่าว แต่เป็นประชาชนทุกคนด้วย!

ผมถามตัวเองเป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วไม่รู้ “เราจะอยู่กันแบบนี้จริงๆเหรอ?”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า