ปัดความรับผิดชอบ ไร้ความรับผิดชอบสไตล์กระทรวงศึกษาไทย

1 มิถุนายน 2564

อยากสอบถามไปยังคุณตรีนุช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการว่า ทำงานแบบปัดความรับผิดชอบแบบนี้แล้วยังสบายใจอยู่ในตำแหน่งจริงๆ ใช่หรือไม่

ที่ต้องถามเพราะการบริหารสถานการณ์ภายใต้สภาวะวิกฤตเช่นนี้ ต้องการรัฐที่มีประสิทธิภาพและรับผิดชอบชีวิตของประชาชนในทุกมิติ ถึงขณะนี้ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่ประชาชนแบกรับมหาศาลถึงขนาดที่ว่า ชุดนักเรียนลูกก็ต้องผ่อนจ่ายกัน แน่นอนคุณรัฐมนตรีเล็งเห็นสถานการณ์และสั่งว่าต้องลดค่าเทอม ค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ผู้ปกครอง แต่คุณคะ คุณสั่งอย่างเดียวไม่ได้ค่ะ คุณต้องช่วยดูว่าต้นทุนที่จะลดได้มาจากไหน โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง เขามีต้นทุนส่วนใดที่คุณจะแบ่งเบาได้ จะสักแต่เขียนคำสั่งสวยๆ ไม่ได้นะคะ ทำความเข้าใจใหม่ค่ะ

โรงเรียนทุกโรง จะรัฐ จะเอกชน ก็มีค่าใช้จ่ายที่เป็น fixed cost วิ่งทุกเดือน เงินเดือนครู แม่บ้าน รปภ ธุรการ ที่ต้องจ่าย ส่วนภาครัฐที่เป็นข้าราชการไม่เท่าไหร่ แต่คนที่เป็นสัญญาจ้างต่างๆ ถ้าลดต้นทุนตรงนี้ไปก็ตกงาน ก็มาขอผ้าป่ากันอีก ส่วนเอกชนไม่ต้องพูดถึง ทุกอย่างเป็นค่าใช้จ่ายหมด เงินเดือนบุคลากร ค่าบำรุงรักษาสถานที่ ค่าบริหารจัดการ ส่วนนี้ไม่ได้ลดลง ถ้าโรงเรียนไหนกู้เงินมาลงทุนทำห้องเรียนใหม่ ปรับปรุงพื้นที่ ดอกเบี้ยก็จะวิ่งไป รัฐไม่ได้ช่วยเรื่องการพักเงินต้นและดอกเบี้ยอย่างเป็นรูปธรรมเลย ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่คิดเป็นส่วนลดให้ผู้ปกครองได้ตามความเป็นจริงจึงไม่เยอะมากนัก

แต่คุณก็ย้ำไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ออกกฎมาห้ามโรงเรียนเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ เกินเพดาน โดยที่คุณไม่ช่วยเหลือใครเลย ไม่มีมาตรการเยียวยา ไม่มีการโอบอุ้มใดๆ เพื่อช่วยลดต้นทุน ที่ผ่านมามีแต่คำสั่ง ที่หน้าตาเหมือนคำเสี้ยมให้ผู้ปกครองและโรงเรียนทะเลาะกันมากยิ่งขึ้น ส่วนคุณก็ลอยตัวเหนือปัญหา

พอมาถึงต้นทุนการสอนออนไลน์ ครู ต้องหาอุปกรณ์เพิ่ม ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้ปกครอง ปรับกิจกรรมใหม่หมดเพื่อให้เหมาะกับการสอนออนไลน์ บางครั้งแบ่งครึ่งห้องสอนสองรอบก็ต้องทำ เพราะการสอนออนไลน์กับเด็กจำนวนมากๆ ไม่เป็นประโยชน์ และจะเสียเวลาทั้งสองฝ่าย ทุกคนดิ้นนรนกันอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได้ พอถึงเวลาต้องขอลดเงินเดือนบุคลากรกัน ครูก็เข้าใจ บางครั้งก็ต้องจำใจ ยอมถูกให้ลดเงินเดือน แต่งานยังทำอยู่ แถมมากกว่าเดิม แต่ทุกคนก็พยายามช่วยแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกันไป เพื่อให้การลดค่าเทอมเป็นไปได้จริง

สรุปคือเราตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก โรงเรียนต้องมาทะเลาะกับผู้ปกครอง ทั้งที่จริงๆ ควรจับมือทำงานด้วยกันเพื่อพัฒนาเด็กๆ โดยเฉพาะในสภาวะที่ยากลำบากขนาดนี้ ครูต้องอดทนเอาเงินเดือนมาใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์การทำงานให้สอนออนไลน์ได้ ส่วนรัฐมนตรีออกคำสั่งสวยๆ มา จบ งานเสร็จ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกับคำสั่งที่ตัวเองออกมา

ถ้าคุณจะปรับลดค่าเทอม ออกโครงการชดเชย และสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนค่ะ ค่าใช้จ่ายที่ยังไม่จำเป็นต่อการเรียน เช่น ค่าชุดนักเรียน เปลี่ยนมาเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ซิมอินเตอร์เนทฟรี แจกใส่โทรศัพท์นักเรียนเลย พื้นที่ห่างไกลไม่สะดวกเรียน ทั้งแบบ DLTV DLIT ใดๆ ให้เรียนผ่านมือถือง่ายๆ ใช้แต่เสียงก็ได้ ปรับรูปแบบกันตามหน้างาน ให้เด็กๆ ทำภารกิจ ครูก็มาพูดคุยแลกเปลี่ยนหลังทำภารกิจเสร็จ หรือรูปแบบใดๆ ตามสะดวกทุกฝ่าย (แต่คุณต้องสนับสนุนทรัพยากรให้เขาไง) ไม่ต้องให้พ่อแม่ต้องเฝ้าจนทำงานไม่ได้ ขาดรายได้ วนมาจนถึงต้องพาลูกออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะไม่มีเงิน

ส่วนเรื่อง dropout เด็กออกกลางคันเพราะพิษโควิด คุณก็ยังไม่ทำอะไร เพราะงบประมาณดูแลเด็กยากจนที่เสี่ยงหลุดออกนอกระบบเกือบสองล้านคนก็ถูกตัดไปในงบปี 2565

ส่วนสภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ที่ประเทศอย่างฟินแลนด์ก็เตรียมงบไว้แล้ว 68 ล้านยูโร ประมาณ 2,600 ล้านบาท เพื่อดูแลเด็ก แน่นนอกว่าเราไม่มี เช่นเดียวกับแผนการเตรียมพร้อมเยียมยาการเรียนรู้ของเด็กๆ สรุปว่าใช้แผน 20 ปีไป โลกจะหมุนไปที่ไหน เราจะหมุนอยู่ที่เดิม โดยมีรัฐที่ไร้ความรับผิดชอบเหมือนเดิม เหมือนเดิมมา 7 ปีแล้ว

จึง “เรียน” มาเพื่อทราบ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า