Photo Essay : มี (ไม่มี) อะไรกลับบ้าน : ท่ามวิกฤตโควิด -19 นี่อาจเป็นการโยกย้ายกลับถิ่นฐานภูมิลำเนาอย่างถาวร !

12 เมษายน 2564

อย่างที่เรารับรู้และเห็นปัญหากันดีว่า แนวทางการพัฒนาและอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยที่ถูกรวมศูนย์เอาไว้ส่วนกลางนั้น ทำให้ทุกๆ อย่างกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพและจังหวัดปริมณฑล

แม้จะมีความพยายามคืนอำนาจกลับไปสู่ท้องถิ่น หรือที่เรียกกันติดปากว่า “กระจายอำนาจ” แต่ทว่าก็ยังทำได้ไม่เต็มที่ ไม่ใช่การกระจายอำนาจที่แท้จริง และยิ่งแนวทางการพัฒนาที่ยังคงเน้นภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ก็ยังคงดึงดูดผู้คนให้เดินทางเข้าสู่เมืองเช่นเดิม

คนส่วนใหญ่จากภาคเกษตรกรรม ทิ้งเรือกสวนไร่นาที่ไม่ทำเงินมาก ออกมาแสวงหาโชคชะตาในเมืองใหญ่ที่มีความเข้มข้นของทุนและการไหลบ่าของเงินทองที่มากกว่า การอพยพย้ายถิ่นฐานภายในประเทศ จึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซ้ำๆ ผู้คนต้องจากบ้านเกิดภูมิลำเนาออกมาทำงานต่างถิ่นต่างที่ เรื่องเล่านี้เป็นทั้งภาพจำคลาสสิกในความทรงจำของผู้คน ทั้งยังเป็นเรื่องเล่าที่ตกยุคในทีเช่นเดียวกัน

แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้ประเทศและโลกใบใหญ่จะมีความเปลี่ยนแปลงมากมาย การมาถึงของเศรษฐกิจดิจิทัล ความซับซ้อนของระบบทุนที่ทำให้รูปแบบการจ้างงาน การเป็นแรงงานหรือรูปแบบการใช้ชีวิตแปลกและเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ยังเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนคือ การพัฒนาในท้องถิ่นยังอยู่ในระดับต่ำ ไม่ก่อให้เกิดการจ้างงานที่หลากหลาย ไม่มีการพัฒนาและยกระดับจังหวัดต่างๆ ให้สามารถสร้างตำแหน่งงานและรักษาให้คนเก่งๆ ในท้องที่สามารถทำงานทักษะสูงให้อยู่ในจังหวัด โดยไม่ต้องย้ายออกนอกพื้นที่ด้วยเหตุผลที่ว่า “ที่บ้านเกิดไม่มีงาน”

กรุงเทพ ยังคงเป็นเมืองโตเดี่ยว เป็นตลาดแรงงานขนาดใหญ่ที่มีงานทุกรูปแบบให้ทำ และยังเป็นเมืองที่มีโอกาสมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทยเช่นเดิม

ภาพการหอบหิ้วข้าวของสัมภาระเพื่อเดินทาง “กลับบ้าน” ในช่วงเทศกาล ก็ยังคงเป็นภาพซ้ำๆ เดิมๆ หากต่างก็แต่ในปี 2564 นี้ เป็นช่วงที่ประเทศไทยและทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และยิ่งท้าทายเพิ่มขึ้นอีกคือ เราต้องอยู่ภายใต้ความไร้ประสิทธิภาพและขาดแผนการป้องกันที่ชัดเจนของรัฐบาลชุดนี้

ในทุกๆ ปี พี่น้องประชาชนจะรอคอยโอกาสหยุดยาวช่วงสงกรานต์ กลับไปอยู่กับครอบครัวที่ตัวเองรัก นำเอาทรัพย์สินที่หามาได้กลับไปฝากคนที่บ้าน พร้อมกับพักผ่อนขอกำลังใจให้กลับมาต่อสู้ใหม่อีกครั้ง

แต่คราวนี้ เรื่องเล่าอาจเปลี่ยนไป เพราะพวกเขาบางคนนั้นถูกเลิกจ้าง ตกงาน ค้าขายไม่ได้ หรือหารายได้ไม่พอค่าอยู่ ค่ากิน ฯลฯ นี่จึงอาจเป็นการโยกย้ายกลับถิ่นฐานภูมิลำเนาอย่างถาวร ทั้งๆ ที่ก็ไม่รู้ว่าจะมีงานอะไรให้ทำได้ที่นั่น แต่อย่างน้อยก็ยังได้ชื่อว่า “บ้าน”

คณะก้าวหน้า ประมวลภาพบรรยากาศการเดินทางระหว่างเทศกาลหยุดยาวกับ Photo Essay หรือภาพชุดที่เราให้ชื่อว่า “มี (ไม่มี) อะไรกลับบ้าน” พร้อมขออวยพรให้ทุกคนเดินทางปลอดภัย และสมหวังในสิ่งทีคิด ผ่านวิกฤตโควิดครั้งนี้ไปด้วยกัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเด่น

บทความ

   ดูทั้งหมด
15 ธันวาคม 2565    Common School

สถาบันครอบครัวแบบขงจื๊อและรัฐสวัสดิการของเกาหลีใต้

8 ธันวาคม 2565    Common School

FIFA World Cup กับด้านมืดของ (เหล่า) เจ้าภาพที่กำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

22 พฤศจิกายน 2565    Common School

Brave New World

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

สายใยครอบครัวถักทอรัฐสวัสดิการ

19 พฤศจิกายน 2565    Common School

หรือที่ความรู้ไร้ประโยชน์เพราะมันคัดง้างระบอบอำนาจ? : อ่านไขว้ “ประโยชน์ของความรู้ที่ไม่มีประโยชน์” x “แม่ง โคตรโฟนี่เลย”

14 พฤศจิกายน 2565    Common School

“เรื่องง่ายๆ” นวนิยายที่บอกว่าระบบราชการไม่เรียกร้องทักษะการใช้เหตุผล

13 พฤศจิกายน 2565    การเมืองท้องถิ่น บทความ

จดหมายเปิดผนึก ถึงประชาชนที่เคารพ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2565    Common School

เครือข่ายทหารสายวัง 2 แผ่นดิน กรณี “ทหารเสือราชินี” และ “ทหารคอแดง”

7 พฤศจิกายน 2565    Common School

เรื่องเกิดจากนามสกุลใหม่: ทลายสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยรักแท้ฝ่าข้อจำกัด (?)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า